SCI POWER FOR FUTURE THAILAND  149

คำสำคัญ : อว.แฟร์  SCI_POWER  

งาน อว.แฟร์ :SCI POWER FOR FUTURE THAILAND

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป งาน “อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND”

ตั้งแต่วันที่ 22 – 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

          งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อวน.เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND)หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “อว.แฟร์” งานมหกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีของกระทรวง อว. ที่จะนําทุกท่านไปสัมผัสกับพลังของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคต ผ่านการจัดนิทรรศการแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีของไทยและนานาชาติ กิจกรรมการสร้างความตระหนัก สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นการมีส่วนร่วม การประกวดแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เทคโนโลยีด้านการอุดมศึกษา และด้าน Soft Powerกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาและผลิตกําลังคนคุณภาพที่ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ และเทคโนโลยีส่งเสริมคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย

 

วัน เวลา และสถานที่จัดงาน (สำหรับประชาชนทั่วไป)

·      วันที่ 22 กรกฎาคม 2567 เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่เวลา 16.00 – 20.00 น.

·      วันที่ 23 – 28 กรกฎาคม 2567 เปิดให้ประชาชนเข้าชมงานตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น.

·      ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ภายในงาน แบ่งออกเป็น 6 โซนหลัก ได้แก่

 

ZONE A: INSPIRED BY SCIENCE

วิทยาศาสตร์...เพื่อจุดประกายการเรียนรู้

รับผิดชอบโดย:องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

โซนจุดประกายความคิด สร้างจินตนาการและแรงบันดาลใจให้ทุกคน ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจมากมาย พร้อมเปิดประตูแห่งจินตนาการสู่การเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด พบกับ…

-        WoW Science Exhibition

-        Digital Immersive Experience ที่ผสมผสานวิทยาศาสตร์และศิลปะ อย่างลงตัว

-        Science is Fun Experimental Adventure

-        Art Science Immersive Experience

-        AR / VR Experience เครื่องเล่นแว่น VR

-        AI Coding

-        Science Lab & Toy ของเล่นวิทย์คิดสนุก

-        ร่วมสนุกกับกิจกรรมพร้อมรับของรางวัลสุดล้ำ เช่น แว่น VR รุ่นใหม่ล่าสุด

 

ZONE B: SCIENCE FOR LIFELONG LEARNING

วิทยาศาสตร์...เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต / ทักษะอาชีพในอนาคต

รับผิดชอบโดย:ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

โซนเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมแนะแนวอาชีพแห่งอนาคต เหมาะสำหรับน้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา พบกับ...

-        การเฉลยข้อสอบ TCASและเสวนารายวัน “พิชิต TCAS68”

-        ต้นแบบ Smart Classroom ห้องเรียนในทศวรรษหน้า

-        การแนะแนวอาชีพในอนาคต และแนวทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

-        แหล่งเรียนรู้เพื่อการ Upskill/Reskill

-        การเก็บสะสมหน่วยกิตเข้า Credit Bank

-        กิจกรรม Mini workshop

-        Cosplay Games eSport

-        Universities Robotic Competition League

 

ZONE C: STARTUP LAUNCHPAD

วิทยาศาสตร์...เพื่อ Startup และผู้ประกอบการรุ่นใหม่

รับผิดชอบโดย:สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA

          โซนแสดงศักยภาพในการผลักดัน Startup ไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง เหมาะสำหรับผู้ที่กําลังมองหาอาชีพและโอกาสที่จะเป็นผู้ประกอบการ Startup พบกับ...

-        งาน “SITE 2024” หรือ “STARTUP THAILAND x INNOVATION THAILAND EXPO 2024” หรือ SITE 2024 ภายใต้แนวคิด “Innovation for Growth and Sustainability”

-        พิธีมอบรางวัล PRIME MINISTER AWARDS

-        หัวข้อสัมมนากว่า 30 หัวข้อ และกิจกรรม Business Matching

-        ตลาดสินค้านวัตกรรมจาก Startup กว่า 300 บูธ

-        การแข่งขัน Pitching “Startup Thailand League 2024 : National Pitching” 14 ทีมสุดท้ายในรอบชิงแชมป์ประเทศไทย

 

ZONE D: SCIENCE FOR EXPONENTIAL GROWTH

วิทยาศาสตร์...เพื่อยกระดับ ขับเคลื่อนธุรกิจและอุตสาหกรรมสู่อนาคต

รับผิดชอบโดย:สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

          โซนแสดงศักยภาพของงานวิจัยและนวัตกรรมของคนไทย เหมาะสำหรับอาจารย์ นักวิจัย และผู้ที่ต้องการชมและช้อปผลงานนักวิจัยไทย พบกับ...

-        National IP Marketplace งานวิจัยพร้อมถ่ายทอดสู่เชิงพาณิชย์

-        งาน Thailand Tech Show และการบรรยายพิเศษ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

-        ตลาดนําเสนอเทคโนโลยี Tech Cast

-        กิจกรรม Business Matching

-        INNO Store +Live Commerce ผลิตภัณฑ์จากร้านค้านวัตกรรมและการค้าขายรูปแบบไลฟ์สด

-        นิทรรศการจากศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) 11 แห่ง ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวง อว.

-        Journey to Impact เส้นทางการสร้างผลกระทบจากงานวิจัยและนวัตกรรม

-        Thailand Taste of Tomorrow: Soft Power ด้านอาหารของไทย นำเสนอรูปแบบผสมผสาน AI กลิ่น รส อาหาร

 

ZONE E: SCIENCE FOR ALL WELL-BEING

วิทยาศาสตร์...เพื่อสังคมที่ดี ลดความเหลื่อมล้ำ และชีวิตที่ผาสุก

รับผิดชอบโดย:หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

          โซนนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามจากนวัตกรรมของคนไทย ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยด้านสุขภาพ พบกับ...

-        ผลิตภัณฑ์และบริการในกลุ่มการดูแลสุขภาพ

-        ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Future Food และ Functional Food

-        ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอางจากสารสกัดธรรมชาติสู่ตลาดสากล

-        สินค้า Soft Power ที่แสดงถึงความเป็นไทย

 

ZONE F: SCIENCE FOR FUTURE THAILAND

วิทยาศาสตร์...เพื่อ “อนาคตประเทศไทย” ที่สดใสและยั่งยืน

รับผิดชอบโดย:สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

โซนขบวนรถไฟแห่งอนาคต ที่จะฉายภาพให้เห็นประเทศไทยในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า อนาคตของเราจะเป็นอย่างไร เตรียมตัวเดินทางไปพร้อมกัน พบกับ...

-        หินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5ซึ่งจัดแสดงนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรก

-        ชิ้นส่วนยานอวกาศ LUNAR GATEWAY ที่ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “ยูเรนัส 2324”

-        ต้นแบบ Module ดาวเทียมสัญชาติไทย ที่กําลังพัฒนาก่อนปล่อยขึ้นสู่ห้วงอวกาศ

-        และเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

 

นิทรรศการที่น่าสนใจ

นำ "หินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5"มาจัดแสดงในประเทศไทย และนับเป็นครั้งแรกที่จีน นำมาจัดแสดงนอกประเทศ ร่วมกับอุปกรณ์ปฏิบัติภารกิจวิทยาศาสตร์ของไทยที่จะติดตั้งไปกับยานฉางเอ๋อ 7 พร้อมนำเสนอผลงานการใช้โจทย์ดาราศาสตร์ ผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์เทคโนโลยีเมคาทรอนิกส์ เทคโนโลยีคลื่นวิทยุและสัญญานดิจิทัล เทคโนโลยีอวกาศ วิทยาศาสตร์บรรยากาศ และเทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง เป็นต้นโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NARIT)ร่วมกับองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration: CNSA) ด้วยการสนับสนุนของกลุ่มธุรกิจ TCP ปลุกพลังให้คนไทยสนใจวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม

 

 "เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)" ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการวิจัยเพื่อยกระดับเมือง โดยสร้างเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของประเทศไทย งานแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก(The UNESCO Global Networkof Learning Cities -GNLC) การวิจัยมีเป้าหมายที่นำไปสู่การเกิดกลไกความ ร่วมมือระดับพื้นที่ที่มาจากนักจัดการการเรียนรู้ในเมือง (City Learning Administrator) และนิเวศการเรียนรู้ของเมือง (City Learning Ecology) ที่ประกอบด้วย พื้นที่การเรียนรู้ ตัวความรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเมืองแห่งการเรียนรู้จะนำไปสู่การพัฒนาเมือง และยกระดับให้ประชาชนทุกช่วงวัยเข้าสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ประชาชนร่วมมีอำนาจในการตัดสินใจในการพัฒนาด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ที่ร่วมศึกษา เกิดความภูมิใจ และการเรียนรู้ จนนำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับคนในพื้นที่

ปัจจุบันมีเมืองที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก เพื่อขับเคลื่อนเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้แล้ว จำนวน 38 แห่งทั่วประเทศ ผลักดันให้เมืองเครือข่ายเกิดกลไกความร่วมมือและผลักดันไปสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก จนเข้าสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกตามแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities - GNLC) ในพื้นที่จังหวัดพะเยา พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พื้นที่จังหวัดยะลา และพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งนับว่าเป็นผลผลิต ที่สำคัญของการขับเคลื่อนเมืองที่ใช้ข้อมูล และความรู้จากกระบวนการวิจัยในการยกระดับการพัฒนาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง "เมือง" ให้เป็น "เมืองแห่งการเรียนรู้" อย่างเป็นรูปธรรม

กิจกรรมพิเศษภายในงาน

·   พิธีเปิดงาน อว.แฟร์โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดในวันที่ 22 กรกฎาคม 2567

·      นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ Royal Pavilion

·      กิจกรรมเสวนาทั้ง Main StageMini Stage และกิจกรรม Workshop อีกมากมาย อาทิ

          เวทีเสวนา “5 ปี : อว. กับการปฏิรูป อววน. และทิศทางในอนาคต” ร่วมเสวนาโดย คุณปริม จิตจรุงพร คุณเคน นครินทร์ และ คุณฐากร ตันฑสิทธิ์


เขียนโดย : นายทินกร  รสรื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tinnakorn.r@mhesi.go.th