มาทำความรู้จัก หอดูดาว ภูมิภาค  16

คำสำคัญ : หอดูดาว  ดาราศาสตร์  

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา สถาาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

 ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ      

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ในปัจจุบันตลอดจนความตื่นตัวของประชาชน นักเรียน นักศึกษา ที่มีต่อวิชาดาราศาสตร์เพิ่มมากขึ้น สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาวิชาดาราศาสตร์ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา จึงจัดตั้งหอดูดาวในส่วนภูมิภาคขึ้น จำนวน 5 แห่ง เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ค้นคว้า และทำวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ไปยังหน่วยงานการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย และชุมชน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านดาราศาสตร์ที่ถูกต้อง สามารถนำวิชาดาราศาสตร์ไปประยุคใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน และการดำเนินชีวิตประจำวันได้

ภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ในส่วนภูมิภาคแต่ละแห่งประกอบไปด้วย อาคารหอดูดาวพร้อมติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร และกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว นอกจากนี้ยังมีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กอีกจำนวนหนึ่ง อุปกรณ์สำหรับงานวิจัย เช่น เครื่องภ่ายภาพซีซีดี เครื่องบันทึกเสปกโทรกราฟ และเครื่องมือทางดาราศาสตร์อื่นๆ เพื่อให้บริการด้านการจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ นับตั้งแต่การจัดกิจกรรมดูดาวไปจนถึงการศึกษาค้นคว้าและการทำงานวิจัยในระดับที่สูงขึ้น โดยประชาชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และนักวิจัย ในเขตภูมิภาคต่างๆ
จะสามารถมาเข้าใช้บริการที่หอดูดาวที่ใกล้เคียงได้ทุกๆ หอดูดาว นอกจากเครื่องมือบริการสำหรับงานค้นคว้าและการวิจัยแล้ว หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติภูมิภาค ยังได้จัดสร้างห้องท้องฟ้าจำลอง จัดฉายภาพท้องฟ้าจำลอง และสื่อมัลติมีเดียทางด้านดาราศาสตร์และอวกาศต่างๆ เพื่อให้ประชาชน นักเรียน และนักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบพิกัดต่างๆ บนท้องฟ้า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอวกาศ เช่น พายุสุริยะ เพื่อเตรียมรับมือและไม่ตื่นกลัวต่อข่าวลือต่างๆ ได้ง่าย

การให้บริการของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการก่อสร้างนิทรรศการความรู้ในส่วนจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารอำนวยการของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์และอวกาศ โดยมีแนวความคิดเกียวกับนิทรรศการภายในหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา แสดงความรู้เกี่ยวกับแสงกับดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์และการค้นพบด้วยวิธีการทางดาราศาสตร์ และความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์ โดยนำเสนอในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติเมียเดียปฏิสัมพันธ์ สามารถสร้างความตื่นเต้น สร้างแรงบัลดาลใจและความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ต่อผู้เข้าชมนิทรรศการ  ซึ่งมีโซนกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่

  1. นิทรรศการเรื่องฤดูกาลและการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
  2. นิทรรศการเรื่องการเกิดข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์
  3. นิทรรศการเรื่องการเกิดเฟสของดวงจันทร์
  4. นิทรรศการเรื่องการเกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
  5. นิทรรศการหาความลึกของหลุมบนดวงจันทร์
  6. นิทรรศการหลักการรวมสีของแสง
  7. นิทรรศการเรื่องการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์แก๊ส
  8. นิทรรศการการเปรียบเทียบน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  9. นิทรรศการเรื่องแสงกับภาพถ่ายดาราศาสตร์
  10. นิทรรศการเรื่องชุดอุปกรณ์ตรวจจับอนุภาคคอสมิคเรย์
  11. นิทรรศการเรื่องการสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้า
  12. นิทรรศการเรื่องแบบจำลองดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  13. ชุดนิทรรศการเรื่องชุดเครื่องชั่งน้ำหนักบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  14. จุดแสดงอุกกาบาตแคมโปเดลเชลโล
  15. ชุดนิทรรการเรื่องยานสำรวจดาวอังคาร

ที่มา : https://www.narit.or.th/index.php/observatory-in-honor-of-his-majesty-the-king-s-7th-cycle-birthday-anniversary


เขียนโดย : นางสาวเพ็ญพิชชา  คงแทน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : penpitcha.k@mhesi.go.th