เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องผสมปุ๋ย PLC
ชม 13,743 ครั้ง
57
เจ้าของ
คลีนิคเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมล์
wahn_68@hotmail.com
รายละเอียด
เครื่องสามารถปรับอัตราการผสมได้เอง โดยใช้ PLC (Programmaber Logic Controller) ในการควบคุม
ที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากปัจจุบัน ปุ๋ยผสมเสร็จที่มีขายในท้องตลาดทั่วไปจะมีน้ำหนักจำกัด คือ ถุงละ 50 กิโลกรัม ในกรณีที่เกษตรกรรายย่อย ซึ่งต้องการปุ๋ยในปริมาณไม่มากนัก อาจจะต่ำกว่า 50 กิโลกรัมต้องการผสมปุ๋ยหลายสูตร และมีปัญหาในเรื่องของปุ๋ยที่เหลือใช้เนื่องจาก ปุ๋ยผสมที่เก็บไว้เป็นเวลานานจะเกิดการเสื่อมสภาพของปุ๋ย ดังนั้นเกษตรกรจึงนิยมที่จะซื้อแม่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักเป็นไนโตรเจนฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมมาทำการผสมเองตามต้องการ โดยใช้จอบกับพลั่วในการผสมคลุกเคล้า ซึ่งเป็นวิธีที่เหนื่อยและเสียเวลา นอกจากนี้ปุ๋ยที่ผสมเองอาจจะมีสัดส่วนของธาตุอาหารหลักที่ผิดพลาดได้ง่าย จึงได้มีการคิดค้นเครื่องผสมปุ๋ยเคมีขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกร ทำให้เกษตรกรสามารถผสมปุ๋ยใช้เอง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัดแรงงาน ค่าใช้จ่าย และยังช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนในการผลิต
หลักการทำงาน
แม่ปุ๋ย 3 ชนิด ซึ่งบรรจุแยกชนิดกันอยู่ในถังบรรจุ แม่ปุ๋ยจะไหลผ่านระบบควบคุมอัตราการไหล ลงถังผสมปุ๋ยโดยอาศัยใบพัดกวาดปุ๋ยซึ่งถูกขับโดยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับผ่าน ชุดทดเกียร์ระบบควบคุมอัตราการไหลจะทำการควบคุมการไหลของปุ๋ยให้ได้ปริมาณตามต้องการ ซึ่งจะปรับอัตราการไหลโดยใช ้PLC ควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ให้ไปเลื่อนปลอกโลหะเพื่อลดหรือเพิ่มขนาดของช่องทางไหลของปุ๋ยแม่ปุ๋ย เมื่อไหลลงสู่ถังผสมปุ๋ยจะถูกทำให้ผสมกันโดยใบพัดซึ่งจะคอยตีแม่ปุ๋ยที่ตกลงมาจากนั้นก็จะไหลลงสู่ภาชนะบรรจุต่อไป
ลักษณะเด่น
จุดเด่นของเครื่องนี้ คือ เครื่องสามารถปรับอัตราการผสมได้เอง โดยใช้ PLC (Programmaber Logic Controller) ในการควบคุม ผู้ใช้เพียงแค่กดปุ่มใส่ข้อมูลที่ต้องการเข้าไปเท่านั้น ก็จะได้ปุ๋ยออกมาตามสูตรที่ต้องการ และเครื่องนี้สามารถผสมได้สูงสุด 33 กิโลกรัม/นาที และผสมได้กว่า 30 สูตร
สนใจติดต่อ คลีนิคเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ (053) 942002 ต่อ 423, 225423 โทรสาร (053) 225423
ที่มาและความสำคัญ
หลักการทำงาน
ลักษณะเด่น
สนใจติดต่อ คลีนิคเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ (053) 942002 ต่อ 423, 225423 โทรสาร (053) 225423
คำสำคัญ
บันทึกโดย
รายละเอียดผู้รับบริการ
46297
ผู้ถาม : อุบล. ไชยหงษา ที่อยู่ 209 ม.8ต.ทุ่งคลอง อ.คำม่วง
วันที่ถาม : 10/04/2563
คำถาม : สนใจเรัยนทำผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงแบบทำขายได้สวนมะม่วงเจอวิกฤติโควิด|332|M
คำตอบ : ประสานอาจารย์ มรภ.พิบูลสงคราม และ ม.กาฬสินธุ์ ในการให้ความช่วยเหลือ
การดำเนินงานจากเครือข่ายผลิตภัณฑ์จากมะม่วงมีหลากหลายเช่นมะม่วงแช่อิ่มอบแห้งซอสมะม่วง น้ำมะม่วง มะม่วงอบแห้งธรรมชาติ ไอศกรีมมะม่วง มะม่วงเม็ดเคี่ยวหนึบเป็นต้น วันที่บริการ 13/05/2563 ทางคลินิกเทคโนโลยีจะประสานผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้ค่ะ วันที่บริการ 09/07/2563
วันที่ถาม : 10/04/2563
คำถาม : สนใจเรัยนทำผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงแบบทำขายได้สวนมะม่วงเจอวิกฤติโควิด|332|M
คำตอบ : ประสานอาจารย์ มรภ.พิบูลสงคราม และ ม.กาฬสินธุ์ ในการให้ความช่วยเหลือ
การดำเนินงานจากเครือข่าย
45553
ผู้ถาม : ชลธิชา อสุรินทร์ ที่อยู่ 1/86
วันที่ถาม : 19/01/2563
คำถาม : การนำใบหมี่ทำให้กลายเป็นสีผงย้อมผ้าทำยังไงคะT^T|29|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่ายติดต่อผู้เชี่ยวชาญ ด้านการย้อมสีธรรมชาติและสีผงธรรมชาติ คุณสุชญา โคตรวงษ์ นักวิจัย จากศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม ม.มหาสารคาม โทร 084-5146994 วันที่บริการ 15/07/2563 วันที่บริการ 14/10/2564
วันที่ถาม : 19/01/2563
คำถาม : การนำใบหมี่ทำให้กลายเป็นสีผงย้อมผ้าทำยังไงคะT^T|29|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย