เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
555
ชื่อ
การยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แกะสลักเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม ชม 1,691 ครั้ง
เจ้าของ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จอมขวัญ สุวรรณรักษ์
เมล์
jomkhwun_4127@hotmail.com
รายละเอียด

ผลงานวิจัยนี้ พบว่าชนิดและรูปแบบผักผลไม้แกะสลักที่เหมาะสมในการจัดเป็นชุดตกแต่งหัวจาน ได้แก่ แครอทแกะสลักเป็นดอกกุหลาบและใบแบบฉลุ และฝักทองแกะสลักเป็นดอกผีเสื้อและใบแบบเซาะร่องใบสำหรับกรรมวิธีการแปรรูปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาที่เหมาะสมต่อการเพิ่มมูลค่า เตรียมตัวอย่างโดยแช่ในสารละลายกรดซิตริกเข้มข้น 1% นาน 30 นาที แล้วแช่ในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์เข้มข้น 1% นาน 30 นาที ให้ลักษณะด้านสีและเนื้อสัมผัส(ความกรอบ)ที่ดีการลวกในน้ำเดือดให้ลักษณะด้านสีดีกว่าแต่ให้ลักษณะด้านเนื้อสัมผัสด้อยกว่าการไม่ลวก ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบแบบดองเค็มมากกว่าการดองแบบเปรี้ยวและแบบหวานอายุการเก็บรักษาแบบดองเค็ม ที่อุณหภูมิห้อง(27 ᵒC) สีของผลิตภัณฑ์ซีดจางน้ำดองขุ่น และลักษณะเนื้อสัมผัสนิ่มแตกต่างจากค่าเริ่มต้นเมื่อเก็บรักษาเป็นเวลา 4 เดือน การเก็บแบบสดในสภาพดัดแปลงบรรยากาศในถึงแบบลามิเนต/ไนลอน (LL) ความหนา 80 µm อัตราส่วนร้อยละของแก๊ส 0₂:CO₂ ที่บรรจุภายในถุง เท่ากับ 6:15 ได้รับการยอมรับมากที่สุด การเก็บแบบสดมีอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิแช่เย็น (7ᵒC) 8 วัน ทั้งนี้ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยแก่ผู้สนใจในงานนิทรรศการผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ครั้งที่ 1

คำสำคัญ
ยืดอายุผักผลไม้แกะสลัก  ยืดอายุเก็บรักษาผักผลไม้  
บันทึกโดย
ดวงฤทัย  แก้วคำ  สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th