เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
5548
ชื่อ
เทคโนโลยีการจัดการบ่อปลาก่อนเลี้ยงปลาหมอชุมพร ชม 96 ครั้ง
เจ้าของ
นางน้อย นิ่มนงค์
เมล์
job6942@rmutl.ac.th
รายละเอียด

บ่อดินที่จะใช้เลี้ยงปลาควรเป็นดินเหนียวปนทราย เก็บน้ำได้อย่างน้อย 4-5 เดือน บ่อที่เป็นดินทราย หรือดินปนกรวดไม่เหมาะที่จะใช้เลี้ยง ควรสูบน้ำในบ่อออกให้หมด ตักหรือดูดเลนในบ่อออก กรณีที่เป็นบ่อเก่าที่ผ่านการเลี้ยงปลามาแล้ว ขจัดวัชพืชที่ขึ้นตามขอบบ่อ ปลาช่อน ปลาตัวใหญ่ทุกชนิดที่กินเนื้อ งู คางคก การตากบ่อจะใช้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคภายในบ่อ (แต่ถ้าเป็นบ่อขุดใหม่ให้เริ่มตรงนี้เลย) และใช้ปูนขาวโรยทั้งบ่อในอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ โรยให้ทั่ว ทั้งคันบ่อ ขอบบ่อ และพื้นบ่อเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-เป็นด่างของดิน (ดินในบ่อควรยังเปียกอยู่) ตากแดดทิ้งไว้ 7-14 วัน เอาน้ำเข้าบ่อ 20-30 เซ็นติเมตร ทิ้งบ่อไว้รอให้เกิดอาหารธรรมชาติ 10 วัน จะเกิดมีไรแดง หนอนแดง ซึ่งเป็นอาหารสำหรับปลาในวัยอ่อน เพราะมีโปรตีนสูง หลังจากนั้นปล่อยน้ำเข้าบ่อเพิ่มขึ้นในระดับ 1-1.20 เมตรทิ้งไว้ 3 วัน ทุกครั้งที่เอาน้ำเข้าบ่อควรมีผ้าไนล่อนสีฟ้ากรองทุกครั้ง เพื่อป้องกันศัตรูปลาเข้าบ่อ จากนั้นปล่อยพันธุ์ปลาลงบ่อ ขนาดพันธุ์ปลาที่เหมาะสมคือปลาขนาด 2.5-3 เซ็นติเมตรในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร เวลาที่เหมาะสมที่ปล่อยคือตอนเช้า และเย็นแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ควรปรับอุณหภูมิในถุงปลา และในบ่อให้ใกล้เคียงกันที่สุด วิธีปลอดภัยที่สุดคือ แช่ถุงใส่ปลาลงในบ่อโดยการเปิดปากถุง แช่ไว้ 15-20 นาที่ หลังจากนั้นวักน้ำในบ่อเลี้ยงใส่ในถุงปลา (เป็นการปรับค่า PH.และอุณหภูมิได้ด้วย) แล้วค่อยๆเทลูกปลาออกจากถุงลงบ่อต่อไป

คำสำคัญ
เทคโนโลยีการจัดการบ่อปลาก่อนเลี้ยงปลาหมอชุมพร  
บันทึกโดย
นางสาวชฎาพร  ประทุมมา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th