เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ที่มีวัสดุสะสมความร้อน
ชม 4,924 ครั้ง
59
เจ้าของ
นายเจริฯพร เลิศสถิตธนกร
เมล์
rural_invention@most.go.th
รายละเอียด
เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ที่มีวัสดุสะสมความร้อนสำหรับการอบแห้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ที่มีวัสดุสะสมความร้อนสำหรับการอบแห้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นเครื่องอบที่มีความโดดเด่นเนื่องจากใช้พลังงานทดแทน โดยสามารถรับความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ 2 ทาง คือความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยตรง และความร้อนที่ไหลผ่านแผงรับรังสี อีกทั้งยังสามารถลดเวลาในอบแห้งและได้ผลผลิตที่ถูกสุขอนามัย เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์นี้ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่
1. ตัวเก็บรังสีอาทิตย์ (Solar collector) ทำหน้าที่ในการผลิตอากาศร้อน แล้วส่งไปยังห้องอบแห้ง
2. ห้องอบแห้ง (Drier) ทำหน้าที่ในการอบแห้งผลิตภัณฑ์ โดยได้รับลมร้อนจากตัวเก็บรังสีอาทิตย์ และได้รับความร้อนจากรังสีอาทิตย์ที่ผ่านแผ่นปิด (กระจก) ลงมายังผลิตภัณฑ์ โดยห้องอบแห้งประกอบด้วยตะแกรงสแตนเลสสำหรับวางผลิตภัณฑ์ เช่นเดียวกับตัวเก็บรังสีอาทิตย์ ซึ่งการเคลื่อนที่ของอากาศผ่านตัวเก็บรังสีอาทิตย์และห้องอบแห้งจะใช้พัดลมดูดอากาศที่ติดตั้งอยู่ทางด้านท้ายเครื่องอบแห้ง พัดลมได้รับพลังงานไฟฟ้าจากเซลแสงอาทิตย์ ขนาด 200 W ติดตั้งอยู่ด้านข้างเครื่องอบแห้ง โดยหันแผงเซลแสงอาทิตย์ไปทางด้านทิศใต้
พัฒนาโดย : นายเจริญพร เลิศสถิตธนกร
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
โทรศัพท์ : 043-754363 ต่อ 3085 โทรสาร : 043-754316
พัฒนา ภายใต้ โครงการพัฒนาประดิษฐกรรมเพื่อชนบท ประจำปีงบประมาณ 2550
เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ที่มีวัสดุสะสมความร้อนสำหรับการอบแห้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เป็นเครื่องอบที่มีความโดดเด่นเนื่องจากใช้พลังงานทดแทน โดยสามารถรับความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ 2 ทาง คือความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยตรง และความร้อนที่ไหลผ่านแผงรับรังสี อีกทั้งยังสามารถลดเวลาในอบแห้งและได้ผลผลิตที่ถูกสุขอนามัย เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์นี้ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่
1. ตัวเก็บรังสีอาทิตย์ (Solar collector) ทำหน้าที่ในการผลิตอากาศร้อน แล้วส่งไปยังห้องอบแห้ง
2. ห้องอบแห้ง (Drier) ทำหน้าที่ในการอบแห้งผลิตภัณฑ์ โดยได้รับลมร้อนจากตัวเก็บรังสีอาทิตย์ และได้รับความร้อนจากรังสีอาทิตย์ที่ผ่านแผ่นปิด (กระจก) ลงมายังผลิตภัณฑ์ โดยห้องอบแห้งประกอบด้วยตะแกรงสแตนเลสสำหรับวางผลิตภัณฑ์ เช่นเดียวกับตัวเก็บรังสีอาทิตย์ ซึ่งการเคลื่อนที่ของอากาศผ่านตัวเก็บรังสีอาทิตย์และห้องอบแห้งจะใช้พัดลมดูดอากาศที่ติดตั้งอยู่ทางด้านท้ายเครื่องอบแห้ง พัดลมได้รับพลังงานไฟฟ้าจากเซลแสงอาทิตย์ ขนาด 200 W ติดตั้งอยู่ด้านข้างเครื่องอบแห้ง โดยหันแผงเซลแสงอาทิตย์ไปทางด้านทิศใต้
พัฒนาโดย : นายเจริญพร เลิศสถิตธนกร
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
โทรศัพท์ : 043-754363 ต่อ 3085 โทรสาร : 043-754316
พัฒนา ภายใต้ โครงการพัฒนาประดิษฐกรรมเพื่อชนบท ประจำปีงบประมาณ 2550
คำสำคัญ
บันทึกโดย