เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งทอ  159

คำสำคัญ : สิ่งทอ  อีสาน  เทคโนโลยี  

วันก่อนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการจัดทำข้อเสนอโครงการวัฒนธรรมผ้าทอเชื่อมโยงแม่โขง –ล้านช้าง สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอนวัตกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม Isan Soft Power ISAN SOUL : วิถีภูมิวัฒนธรรมอีสานบูรณาการสู่สากล F-Fashion : ISAN SOULการแสดงผลงานสร้างสรรค์ด้านผ้าและสิ่งทออีสานสู่แฟชั่น และF-Food : ISAN SOULด้านอาหารพื้นถิ่นอีสานสู่สากล ตั้งแต่วันที่ 14– 15 กุมภาพันธ์ 2567 และเยี่ยมชมการจัดแสดงนิทรรศการผ้าไทย-อีสาน-ล้านช้าง ณ ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ทำให้ได้รับข้อมูลความรู้ เทคโนโลยี และความก้าวหน้าของวงการด้านผ้าทอมากขึ้น และได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีเป็นคลังข้อมูลและแหล่งเทคโนโลยีทางด้านสิ่งทอที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เทคโนโลยีเด่นของที่นี่คือ  นวัตกรรม Circular Design ซึ่งเคยได้รวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีทางด้านสิ่งทอของมหาวิทยาลัยไว้บ้างแล้ว วันนี้เลยได้มีโอกาสเติมความรู้เพิ่มขึ้นอีกค่ะ

ต้นทาง
1) การพัฒนาและผลิตเส้นใยชนิดใหม่ จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น โดยใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและเทคโนโลยี
2) การใช้เส้นใยแบบผสมผสาน
3) เทคนิคการทอเส้นใยผสม
4) การส่งเสริมการผลิตเส้นใยชุมชนสำหรับสิ่งทอชุมชน
5) การส่งเสริมการปลูกฝ้ายสี

กลางทาง
1) เทคนิคการย้อย้อมสีแสีละกระบวนการย้อมสีให้ได้มาตรฐาน
2) เทคนิคการเตรียมน้ำย้อมสีธรรมชาติ จากวัสดุธรรมชาติ
3) การใช้ชุดสี เทรนด์สี
4) การออกแบบลวดลาย ผสมผสานการออกแบบแฟชั่น
5) เทคนิคนิคการเขียนเทียนและการมัดย้อม
6) Color and Trends การเทคนิคนิคการจับคู่สี สีผสมผสาน การออกแบบ
7) การทดสอบคุณภาพสิ่งทอชุมชนโดย ศูนย์ปฏิบัติบัติการทดสอบวิเวิคราะห์ผ้าและสิ่งสิ่ทอ (FTCDC LAB)
8) การทอผ้าและการพัฒพัฒนากระบวนวิธีการทอให้ไห้มาตรฐานสากล
9) การตัดเย็บและมาตรฐานในการตัดเย็บ
10) การสร้าง Young designer โดยมีหลักสูตรระยะสั้นรองรับ
11) แปรรูปผลิตภัณฑ์ให้สร้างสรรค์จากลวดลายดั้งเดิมสู่การประยุกต์
12) พัฒนาแฟชั่นไลฟ์สไตส์สู่สากล Trend-Fashion-Target

ปลายทาง
1) การพัฒนาด้านการตลาด การตลาดออนไลน์ การประชาสัมพันธ์ การสร้าง Story Telling
2) กิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจในช่องทางต่างๆ (Business matching)

แหล่งเทคโนโลยี : ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งสิ่ทอ (FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

 

จากการหารือกันเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดทำโครงการเบื้องต้นดังนี้
1. ประเทศเป้าหมาย  :  ไทย จีน เวียดนาม ลาว
2. กลุ่มเป้าหมาย :นักศึกษา ผู้ประกอบการ
3. กิจกรรม : เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีระหว่างประเทศที่เข้าร่วม โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาและผลิตเส้นใยธรรมชาติ การย้อมสีธรรมชาติ การออกแบบพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าแฟชั่นและสิ่งทอ การออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ และการทดสอบตลาด และการศึกษาดูงาน


เขียนโดย : น.ส.วิลาวรรณ  งอยผาลา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : wilawan.n@most.go.th