Innovation-Driven Enterprises: IDE  43

คำสำคัญ : Innovation-Driven_Enterprises  IDE  Business_Incubation  

 

   การบ่มเพาะธุรกิจในการดำเนินงานที่ผ่านมาหลายสิบปี เป็นการบ่มเพาะการดำเนินงานภายใต้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้ชื่อที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า SMEs

ที่ได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน SMEs มีบทบาทสำคัญและเป็นกลุ่มพลังขนาดใหญ่ที่สุดของภาคธุรกิจในการฟื้นฟูและ

พัฒนาเศรษฐกิจของชาติให้แข็งแกร่งขึ้น แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมี

โครงสร้างเศรษฐกิจแบบเน้นภาคเกษตร เน้นอุตสาหกรรมเบา และผู้ประกอบการ SMEsของไทย ไม่สามารถลงทุนวิจัยและพัฒนาได้เนื่องจากเสียเปรียบ

ในการเข้าถึงตลาด ขาดองค์ความรู้ บุคลากรและแหล่งทุน ในการพัฒนานวัตกรรมให้เท่าทันกับคู่แข่งจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ที่ภาครัฐจะต้องสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือนวัตกรรมให้พร้อมรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักจนรายได้ปานกลางดังกล่าว ประเทศไทยจึงต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ

“เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ซึ่งกลไกในการพลักดันกลไกหนึ่งคือการพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศเพิ่มธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE)

หรือการมุ่งเน้นในการยกระดับ SMEs ไปสู่ IDE โดยผ่านกลไกการสร้างความสามารถในการแข่งขันและนวัตกรรม

 

                    การพัฒนาผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมมีองค์ประกอบของความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่จะผลักดันให้เกิดขึ้น อ้างอิงตาม model

ของ Massachusetts Institute of Technology MIT ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นรูปแบบของการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้เป็นผู้นำด้าน Technology

and Innovation Based Enterprise ที่แตกต่างจากผู้ประกอบการทั่วไปเพราะเป็นยกระดับธุรกิจด้านการผลิต/การสร้างสินค้า บริการและกระบวนการที่เป็นนวัตกรรม

และตอบโจทย์การสร้างเพื่อสร้าง ธุรกิจฐานนวัตกรรมของประเทศ ซึ่งต่างจากธุรกิจทั่วไปที่มีการบ่มเพาะผู้ประกอบการในปัจจุบัน เพราะธุรกิจฐานนวัตกรรมจะเป็นธุรกิจ

จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ขยายขนาดได้และมีความยั่งยืนซึ่งจะต้องพัฒนาด้วยระดับของการดำเนินการ 

ตามทฤษฎีการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยฐานนวัตกรรม (Innovation-Driven Enterprises: IDE) จะเปลี่ยนจากธุรกิจ SMEs ที่มีการพัฒนาสินค้า

ที่มีอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปซึ่งมีการแข่งขันนกันสูงจากผู้เล่นต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเน้นการแข่งขันด้วยการลดราคา เปลี่ยนเป็นธุรกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของนวัตกรรม

การจะสร้างธุรกิจประเภทนี้ให้เติบโตได้ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดการใช้แรงงาน การกระบวนการผลิต การลดเวลาใน
ต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆ ในการขับเคลื่อน อย่างน้อย 5 องค์ประกอบ ดังนี้


1) Entrepreneur ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของธุรกิจนวัตกรรมซึ่งจะเติบโตได้ภายใต้ระบบนิเวศที่ดีส่งเสริมแนวคิดและทักษะการเป็นผู้ประกอบการ

การสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร การจัดการองค์ความรู้และความใส่ใจพนักงาน สุดท้ายคือการลงมือรังสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้จริงและเป็นรูปธรรม

ตามหลักคิด “Innovation : making creativity into value reality” เพื่อความคิดและจัดการนวัตกรรมในองค์กรธุรกิจของตนได้ซึ่งการพัฒนาแนวความคิดของ

ผู้ประกอบการหรือ Entrepreneurial Skills ซึ่งจะมีทั้ง Softskill และ Hardskill โดยจะแบ่งออกเป็น 4 stage ตามแนวคิดของ Carlos Barraza, 2018

ได้แก่ Create, Survive, Growth, Sustain หรือ สร้างธุรกิจให้เกิด, เลี้ยงดูให้อยู่รอด, เติบโตให้เป็นและเข็งแรง, ยืนอยู่ด้วยความยั่งยืน ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน

โดยจะมีทักษะที่คาบเกี่ยวใช้ข้ามกันระหว่าง stage และหรือใช้น้ำหนักแตกต่างกันในแต่ละช่วงของธุรกิจ ด้วยความตั้งใจของผู้เขียนคือ ต้องการให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่

หรือผู้ประกอบการเดิมสามารถที่จะเติมเต็มทักษะตามที่เห็นว่าจำเป็นกับธุรกิจและปัญหาขององค์กรธุรกิจและสามารถสร้างส่วนผสมทางทักษะแห่งการประกอบการ

(Entrepreneurial Skills MIX)

การพัฒนาแนวความคิดของผู้ประกอบการหรือ Entrepreneurial Skills

2) Government ภาครัฐมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการสร้างนวัตกรรมและระบบนิเวศทางนวัตกรรม

กำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ทางนวัตกรรม การวางโครงสร้างองค์กร การส่งเสริมและการสนับสนุนโอกาสในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีบทบาท

ในการปรับปรุงกฎระเบียบและกฎหมาย พัฒนามาตรการและแรงจูงใจ รวมถึงบริการภาครัฐ

ให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมของผู้ประกอบการ รวมถึงการแก้ไขผลักดันกฎหมาย /กฎระเบียบ/ มาตรการเพื่อ


ปลดล็อคข้อจำกัดและสร้าแรงจูงใจในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Discovery)

การพัฒนาองค์ความรู้ (Knowledge Development)และการสร้างตลาด(Market Formation) ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งของ

สภาพแวดล้อมในการเติบโตเพื่อผลักดัน SMEs สู่การเป็น IDEs


3) University and Research Institute มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ซึ่งเป็นแหล่งการสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี นวัตกรรม

และความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นปัจจัยหลักสำคัญในการช่วยเพิ่มศักยภาพภาคการผลิตและบริการนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ

ที่มีศักยภาพเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน

 

4) Corporate การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบริษัทขนาดใหญ่เพื่อสร้างความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ร่วมกันให้เกิดนวัตกรรมและ

การส่งเสริมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดรวมถึงการรับนวัตกรรมจากภายนอกหรือ Open Innovation เครือข่ายทั้งจากภายในและภายนอกพื้นที่

ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการสร้างระบบนิเวศที่จะสนับสนุนให้เกิด

ผู้ประกอบการนวัตกรรม ที่สามารถพัฒนาไอเดียให้เกิดเป็นธุรกิจและเกิดกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ได้


5) Risk Capital การเริ่มต้นทำธุรกิจทุกประเภท ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีเงินทุนในการเริ่มต้นทำธุรกิจ โดยไม่ว่าธุรกิจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่

เงินทุนนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะช่วยต่อยอดไอเดียต่างๆให้เป็นรูปเป็นร่างและสามารถดำเนินการต่อไปได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจ

IDEs ที่จำเป็นจะต้องมีแหล่งเงินทุนเพื่อเข้ามาสนับสนุนธุรกิจที่มีต้นทุนในการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในช่วงตั้งแต่ระยะแรกจนเริ่มสร้างรายได้

จนมีโอกาสที่จะเติบโตและขยายธุรกิจต่อไปเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ในอนาคตซึ่งมีรูปแบบต่างๆ ดังนี้


• Venture Capital (ธุรกิจเงินร่วมลงทุน) หรือในชื่อย่อที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีว่า VC ซึ่งเป็นนักลงทุนในรูปแบบขององค์กรที่จะระดมเงินทุนให้กับบริษัท

ที่มีแววหรือมีโอกาสที่จะเติบโตสูงในอนาคต โดย VC จะเข้ามาร่วมลงทุนเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3-5 ปี


• Angel Investor (นักลงทุนอิสระ) ที่จะเข้ามาช่วยลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้กับธุรกิจในระยะเริ่มต้น นักลงทุนอิสระจะใช้เงินของตัวเองในการลงทุน

ซึ่งจะแตกต่างกับ VC ทำให้เงินทุนที่มีไม่สูงมากนัก Angel Investors จึงเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการใช้เงินลงทุนไม่กี่ล้านบาท นอกจากนี้พวกเขา

ยังให้คำปรึกษาในเรื่องการบริหารต่างๆได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องมาจาก Angel Investors ส่วนมากล้วนมีประสบการณ์ในด้านการบริหารมาก่อนนั่นเอง


• Government Grant (ทุนอื่นๆจากรัฐบาล) นั้นได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจของประเทศให้ก้าวต่อไป โดยภาครัฐจะเข้ามา

มีส่วนร่วมในการสนับสนุนธุรกิจในด้านของแหล่งเงินทุน เพื่อที่จะให้นักธุรกิจหน้าใหม่ หรือเหล่าสตาร์ทอัพได้เติบโตต่อไป


• Crowdfunding (การระดมทุน) การระดมเงินทุนจากมวลชน โดยในที่นี้หมายถึงการระดมเงินทุนจากคนจำนวนมากทั่วโลกผ่านแพลตฟอร์ม

บนระบบอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Funding Portal ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของเหล่าผู้ประกอบการนั้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้จำนวนมาก


นอกจากนี้ส่วนกลางทั้งภาครัฐ เอกชนและสถาบันการเงินต่างๆ สามารถร่วมกันสร้างระบบของแหล่งเงินทุนและอำนวยความสะดวก

ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนขององค์กรธุรกิจในระยะเริ่มต้น
 


 


เขียนโดย : นางสาวชลิศา  ทรัพย์พร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : -