การถ่ายทอดและแพร่กระจายของนวัตกรรม  47

คำสำคัญ : Intermediategoods  Innovators  Implementation  

ในประวัติศาสตร์การถ่ายทอดเทคโนโลยีมักเกิดขึ้นผ่านทางการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างวัฒนธรรมและประชากร บางครั้งถูกเรียกว่า "diffusion of innovations" ของ Everett Rogersซึ่งกล่าวถึงกระบวนการที่นวัตกรรมถูกนำเข้ามาในสังคมหรือพื้นที่ใหม่ ผ่านผู้ที่นำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ โดย Everett Rogers ระบุว่ากระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีลักษณะขั้นตอนแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ "การรับรู้," "การถอดรหัส," "การตัดสินใจ," "การนำไปใช้," และ "การยอมรับ”

 

ภาพแสดงโมเดลกระบวนการ 5ขั้น ตามทฤษฎีDiffusion of Innovations 

(Source: Diffusion of Innovations, Fifth Edition by Everett M. Rogers.)

 

การรับรู้ (Knowledge): ในขั้นตอนนี้, บุคคลหรือกลุ่มต่างๆ เริ่มรับรู้ถึงความมีอยู่ของนวัตกรรม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สื่อมวลชน, การสนทนากับผู้อื่น, หรือการศึกษาจากแหล่งที่มาต่างๆ

การถอดรหัส (Persuasion): หลังจากที่ความรู้ถูกสร้างขึ้น, บุคคลต้องถอดรหัสข้อมูลที่ได้รับ และเริ่มทำความเข้าใจถึงนวัตกรรมนั้นๆ ในแง่ที่เป็นบวก

การตัดสินใจ (Decision): คือขั้นตอนที่ผู้รับต้องตัดสินใจว่าจะนำนวัตกรรมนั้นไปใช้หรือไม่ การตัดสินใจนี้สามารถขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความเสี่ยง, ประโยชน์, หรือส่วนตัว

การนำไปใช้ (Implementation): หลังจากการตัดสินใจถูกทำ, บุคคลหรือกลุ่มจะเริ่มนำนวัตกรรมไปใช้ในการปฏิบัติ ซึ่งในบางกรณีอาจมีการปรับเปลี่ยนน้อยๆ เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีอยู่

การยอมรับ (Confirmation): ในขั้นตอนสุดท้าย, ผู้ใช้หรือกลุ่มจะทำการรีวิวผลที่ได้จากการนำนวัตกรรมไปใช้ และต้องการให้มันเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการดำเนินชีวิตของพวกเขา

ทฤษฎีนี้ยังแบ่งผู้รับออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามช่วงเวลาในการตัดสินใจ เพื่อเริ่มใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ Innovators, Early Adopters, Early Majority, Late Majority, และ Laggards ตามลำดับ

 

กลุ่มที่ 1 กลุ่มบุกเบิก (Innovators)

มีอยู่ 2.5% เป็นกลุ่มที่มีความกระตือรือร้นในด้านเทคโนโลยี มีความพร้อมทางด้านการเงินและทักษะในการใช้งาน เมื่อนวัตกรรมเปิดตัวแล้วจะตัดสินใจใช้ทันที มีบุคลิกกล้าเสี่ยง กล้าลอง จนถึงขั้นหลงใหลในสิ่งใหม่ ๆ ทำให้คนกลุ่มนี้ มีลักษณะแตกต่างจากวงสังคมใกล้ตัว และนำพาตัวเองเข้าสู่วงสังคมในระดับสากล สิ่งที่น่าสนใจก็คือ คนกลุ่มนี้พร้อมรับความล้มเหลว เมื่อมีแนวคิดใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเดิมก็พร้อมจะยอมรับความจริง

กลุ่มที่ 2 กลุ่มล้ำสมัย (Early Adopters)

มีอยู่ 13.5% เป็นกลุ่มคนที่มีความเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรม เปิดใจให้กับสิ่งใหม่ ๆ คอยให้คำแนะนำ และให้ข้อมูลกับคนรอบตัว ได้รับความเคารพจากคนรอบตัว จึงมีความกลมกลืนอยู่กับสังคมใกล้ตัวมากกว่าคนกลุ่มที่ 1 ที่กลมกลืนกับสังคมในระดับสากล

กลุ่มที่ 3 กลุ่มทันสมัย (Early Majority)

มีอยู่ 34% เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ยอมรับแนวคิดใหม่ ๆ ก่อนคนทั่วไปในสังคม ไม่ใช่ผู้นำทางเทคโนโลยี แต่พร้อมจะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง โดยคนกลุ่มนี้จะใช้เวลาในการพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ จึงมีส่วนสำคัญในแพร่กระจายของนวัตกรรมในสังคม

กลุ่มที่ 4 กลุ่มตามสมัย (Late Majoriry)

มีอยู่ 34% เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ยอมรับแนวคิดใหม่ ๆ หลังคนทั่วไปในสังคม มีความลังเลสงสัยในแนวคิดใหม่ ๆ จะตัดสินใจใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพราะความจำเป็นหรือได้รับแรงกดดันทางสังคม หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า นวัตกรรมนั้นจะต้องเป็นบรรทัดฐานของสังคมก่อน คนกลุ่มนี้จึงจะตัดสินใจใช้

กลุ่มที่ 5 กลุ่มล้าหลัง (Laggards)

มีอยู่ 16% ซึ่งมีปริมาณเท่ากับกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 รวมกัน แต่กลุ่มที่ 5 ไม่สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้ เนื่องจากงานวิจัยพบกว่า กลุ่มที่ 5 ทั้ง 16% นี้ มีลักษณะที่กลมกลืนกัน คือ ยึดโยงอยู่กับอดีต คำนึงถึงคนรุ่นก่อน เมื่อตัดสินใจใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยีนั้นก็อาจล้าหลังไปแล้ว คนกลุ่มนี้นอกจากจะมีความลังเลสงสัยในแนวคิดใหม่ ยังลังเล สงสัย ในกลุ่มคนที่เป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) อีกด้วย

 

รูปแบบของการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม

รูปแบบของการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้นสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ คือ

การถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านเครื่องจักรหรือสินค้าขั้นกลาง(Intermediate goods)การถ่ายทอดเทคโนโลยีลักษณะนี้กระบวนการต่างๆ จะมีความเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร หรือสินค้าที่ถูกผลิตมาจากเครื่องจักร ถือว่าเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก

การถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านผู้เชี่ยวชาญ(Expert)เป็นการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม จึงทำให้พบเห็นได้บ่อยมากที่สุด ซึ่งการถ่ายทอดประเภทนี้จะมีประสิทธิภาพมากเพราะได้รับการถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ความผิดพลาดต่างๆ ก็มีน้อยลงไปด้วย

การถ่ายทอดทางเทคโนโลยีที่ส่ง knowledge ผ่านทางเทคนิคต่างๆการถ่ายทอดเทคโนโลยีประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องจักรหรือสินค้าขั้นกลาง หรือผู้เชี่ยวชาญใดๆทั้งสิ้น แต่ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจะต้องนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ประโยชน์ได้

 

ถึงแม้ว่าความหมายและประเภทของการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาจจะฟังดูมีความสมัยใหม่ แต่จริงๆแล้วหลักการเหล่านี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีพื้นบ้าน ก็สามารถที่จะนำมาใช้ได้เช่นกัน เช่น การทำยาสมุนไพรต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เครื่องจักรในกระบวนการทำ ซึ่งสอดคล้องกับประเภทของการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ว่า Intermediate goods และการการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้เป็นที่รู้อย่างแพร่หลายในชุมชนใกล้เคียง ก็เปรียบเสมือนประเภทการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านผู้เชี่ยวชาญ ที่ผู้ที่ถ่ายทอดนั้นมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรอย่างดี เปรียบเสมือนเป็นผู้เชี่ยวชาญ


เขียนโดย : นางสาวทิพวัลย์  เวชชการัณย์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : tipawan@mhesi.go.th