IGNITE THAILAND : วิสัยทัศน์ที่ 3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub)  49

คำสำคัญ : IGNITE  THAILAND  

IGNITE THAILAND : วิสัยทัศน์ที่ 3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub)


เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ได้แถลงวิสัยทัศน์ “IGNITE THAILAND : จุดพลังรวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” มุ่งเป้าพัฒนาประเทศให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งอุตสาหกรรมโลก ผ่านวิสัยทัศน์ทั้ง 8 โดยส่วนตัวสนใจ วิสัยทัศน์ที่ 3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub)

ที่มารูปภาพ : https://thaipublica.org/2024/02/srettha-announces-thailand-vision/

เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรที่หลากหลาย อุดมสมบูรณ์ มีจุดแข็งด้านภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศที่เอื้อต่อการทำการเกษตร มีอุตสาหกรรมที่ครบวงจรตั้งแต่การปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์ การประมง การแปรรูป การปรุงอาหาร และมีสูตรอาหารเฉพาะตัว อาหาร (ไทย) ยังเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ เพื่อเข้ามาลิ้มลองรสชาติของอาหารไทย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอาหารเป็นหนึ่งปัจจัยในการเชื่อมโยงและสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และหากได้รับการผลักดันจากทุกภาคส่วนเชื่อว่าอาหารไทยก็เป็น 1 ใน Soft Power ที่จะทำให้ชาวโลกรู้จักประเทศไทย ผ่านวัฒนธรรมอาหาร และคงอยากเข้ามาชิมรสชาติอาหารไทยแบบ Authentic สักครั้งแน่นอน

ที่มารูปภาพ : https://www.sanook.com/travel/1432241/

จุดแข็งของประเทศสำหรับการเป็นศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub)
- ต้นทุนทางด้านทรัพยากรมีพื้นที่ที่เอื้อต่อการทำการเกษตร ประมง และการเลี้ยงสัตว์ มีความพร้อมด้านวัตถุดิบ
- ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการผลิตและแปรรูปสินค้าอาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำ
- อาหารมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในหลายๆประเทศทั่วโลก
- ในปี 2566 ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 12 ของโลก


จุดอ่อนที่ขัดขวาง และต้องได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub)
- การทำการเกษตรที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ผู้ประกอบการ/ผู้ผลิตไทยยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่หลากหลาย
- ต้นทุนการผลิตสินค้าของไทยเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบ ได้แก่ ปุ๋ยเคมี และอาหารสัตว์ เป็นต้น
- ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสิ้นค้าของโลกราคาสูงขึ้น
จุดแข็งและจุดอ่อนดังกล่าวเป็นเพียงการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการหาข้อมูลอันน้อยนิดเท่านั้น หากให้ลงรายละเอียดคงต้องใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม และคงต้องให้พี่ๆผู้เชี่ยวชาญมาช่วยกันวิเคราะห์กันอีกที

 

นอกจากวิศัยทัศน์ทางด้านอาหารแล้ว ยังมีวิสัยทัศน์อีก 7 ข้อที่นายกได้แถลงไว้เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก อันประกอบไปด้วย
- ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub)
- ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub)
- ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub)
- ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค (Logistic Hub)
- ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub)
- ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy Hub)
  

 

ที่มารูปภาพ : https://www.thaigov.go.th/infographic/contents/details/8107

กว่าจะไปถึงจุดที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ที่กล่าวมา คงต้องใช้เวลา ทรัพยากร และเงินทุนอย่างมหาศาล ถึงแม้วิสัยทัศน์ที่ได้กล่าวมานี้จะไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ แต่เชื่อว่าประเทศไทยจะได้อะไรจากการลงทุนลงแรงไปแน่นอน

 

อ้างอิงข้อมูลจาก : 

https://www.salika.co/2024/02/24/8-visions-ignite-thailand/

https://prachatai.com/journal/2024/02/108217

https://thaipublica.org/2024/02/srettha-announces-thailand-vision/

https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/581698

https://www.thailandplus.tv/archives/692406


เขียนโดย : นายปรเมษฐ์  สีเขียวแก่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : paramed.s@mhesi.go.th

ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนการนำเดินทางไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ประเทศไทยมีจุดแข็งทุกด้าน ยกเว้น เรื่องการประสานการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ

เขียนโดย นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ