บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย   137

คำสำคัญ : สถาบันอุดมศึกษา  เขตเศรษฐกิจพิเศษ  การพัฒนากำลังคน  

การผลิตและพัฒนากําลังคนนับเป็นหัวใจสําคัญของการพัฒนาประเทศ รัฐบาลมีนโยบายที่เกี่ยวกับการผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศเพื่อให้ได้กําลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอ รวมทั้งสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพสูง มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะในการคิดและวิเคราะห์ สามารถปฏิบัติงานได้จริง ตอบโจทย์ตามความต้องการของตลาดแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีการรับรองมาตรฐานที่แน่นอนจะช่วยให้บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษามีงานทํา เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการอุดมศึกษาและการผลิตและพัฒนากําลังคนมีประเด็นหลัก 4ประเด็น ได้แก่

1) การเตรียมและพัฒนาคนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑

2) การสร้างบทบาทด้านการอุดมศึกษาบนเวทีโลก

3) การผลักดันขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

4) การปฏิรูปกลไกการอุดมศึกษา

บทบาทของอุดมศึกษาจึงมีความสําคัญยิ่งในฐานะเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้บรรลุเป้าหมาย ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืน หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วจึงจําเป็นต้องยกระดับศักยภาพ เพิ่มความเข้มแข็งในกับอุดมศึกษาให้มีความพร้อม เป็นอุดมศึกษาที่พัฒนาแล้ว สามารถนําผลผลิตกําลังคนคุณภาพและองค์ความรู้ชั้นเลิศคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เสนอแนะประเด็นหลักในการพิจารณาศึกษาเรื่อง บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย จํานวน ๓ ประเด็น ดังน

1. การพัฒนาแรงงานและการสนับสนุนผู้ประกอบการ

ส่งเสริมการพัฒนาแรงงานเพื่อรองรับกิจการเป้าหมายในพื้นที่ ครอบคลุมการพัฒนาความรู้และทักษะแรงงานตามความต้องการของกิจการ การพัฒนาฝีมือแรงงาน(Upskill /Reskill /New Skill) ตามศักยภาพ การพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการในการดําเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมและบริการที่สอดคล้องกับจุดเด่น/โอกาสของพื้นที่ โดยการบ่มเพาะผู้ประกอบการท้องถิ่น การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคธุรกิจ

2. การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การยกระดับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคการผลิตบริการโดยสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคศึกษาชุมชน และเอกชนในพื้นที่ ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสให้ภาคเอกชนที่กําลังเติบโตและเศรษฐกิจฐานราก

3. การปรับปรุงหลักสูตรของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

การผลิตและพัฒนากําลังคนรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย กำลังประสบปัญหา เช่น การผลิตกําลังคนที่ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การขาดแคลนกําลังคนในสายวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ การเรียนที่ไม่ตรงความต้องการของตลาดหรือการประกอบอาชีพ ฯลฯ จึงต้องมีการวางแผนด้านกําลังคนที่มีสมรรถนะสูงเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมาย


เขียนโดย : น.ส.ณัฎฐพัชร์  ธรรมทักษ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : nattapat.t@mhesi.go.th