แผนพัฒนาจังหวัดสุโขทัย 2566-2570  62

คำสำคัญ : แผนพัฒนา  จังหวัด  สุโขทัย  

แผนพัฒนาจังหวัดสุโขทัย 2566-2570

จังหวัดสุโขทัยเป็นที่ตั้งอาณาจักรแรกของชนชาติไทยเมื่อ 764 ปีที่ผ่านมา รอยอดีตแห่งความรุ่งเรือง มีอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัยเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 9 อำเภอ 84 ตำบล และ 843 หมู่บ้าน ประชากร 586,830 คน เป็นชาย 284,310 คน และหญิง 302,520 คน มี 221,064 ครัวเรือน เนื้อที่ประมาณ 6,596.092 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4.122 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.9 ของพื้นที่ภาคเหนือ หรือร้อยละ 1.3 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ พื้นที่เกษตรประมาณ 2.0 ล้านไร่ ป่าไม้ 1.2 ล้านไร่ มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ณ ราคาประจ าปี 2562 รวม 51,293 ล้านบาท รายได้ต่อประชากรเท่ากับ 83,865 บาท/คน/ปี (ลำดับที่ 14 ของภาคเหนือ ล าดับที่ 55 ของประเทศ) โครงสร้างการผลิตขึ้นกับภาคบริการร้อยละ 53.2 ภาคเกษตรร้อยละ 34.5 และภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 12.3 

จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก (SWOT Analysis) ของจังหวัดสุโขทัยพบจุดแข็ง 15 ด้าน จุดอ่อน 16 ด้าน โอกาส 6 ด้าน และอุปสรรค 7 ด้าน นำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ว่า 
“รุ่งอรุณแห่งความสุข เมืองมรดกโลกและอารยธรรม เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรม ”
มีประเด็นการพัฒนา 6 ด้าน
1) พัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐาน ยกระดับคุณภาพและการบริการและผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์มูลค่าสูง
 2) พัฒนาเพิ่มมูลค่ายกระดับเกษตรปลอดภัยเกษตรอัจฉริยะ อาหารแปรรูปและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และพืชเศรษฐกิจใหม่
 3) น้อมน าศาสตร์พระราชา พัฒนาคนทุกช่วงวัย ยกระดับคุณภาพชีวิต การศึกษา การสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน สู่สังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน
 4) พัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ าการพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 5) พัฒนาและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินและระบบเตรียมความพร้อมเผชิญสภาวะวิกฤต และขยายความร่วมมือความสัมพันธ์กับต่างประเทศ อย่างมีดุลยภาพ
 6) พัฒนานวัตกรรมระบบบริหารจัดการภาครัฐ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการอย่างมีธรรมาภิบาลแผนพัฒนาจังหวัดสุโขทัย (พ.ศ. 2566 –2570) กำหนดกลยุทธ์การพัฒนา 22 ด้าน


เขียนโดย : นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ekapong@mhesi.go.th