Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย 166
สรุปความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา"บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย"ในวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ณ ห้องพระพรหม ชั้น 3 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดย สศช. ในหัวข้อ
“การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ: นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย”
ในปัจจุบันประเทศไทย มีเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกหลากหลายรูปแบบ จึงจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อให้มีแนวทางในการพัฒนา จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบด้านที่ตั้ง และการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ เพื่อการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น และส่งเสริมภาคการผลิตและบริการที่เน้นใช้เทคโนโลยียุคใหม่ โดยที่ผ่านมาภาครัฐได้ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาแบบเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อกระจายประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการและชุมชน
ยุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาประเทศ และใช้เป็นขอบเขตในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องและบูรณาการแบบมีทิศทางเดียวกัน ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) มีวิสัยทัศน์คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งในยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 9:เขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้มีการกล่าวถึงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor :EEC )ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones / SEZ)ซึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8:ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย แบ่งออกได้ดังนี้
- เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
- เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
- ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
โดยมีคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) และสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกําหนดนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาให้ครอบคลุมพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง (ตาก เชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย นครพนม มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา และนราธิวาส) มุ่งเน้นการพัฒนาโครงการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
-
ด้านสาธารณสุข/สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
- ลดและป้องกันปัจจัยเสี่ยงจากมลพิษ
- เฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่/ภัยสุขภาพ
- เพิ่มศักยภาพ รพ. ในพื้นที่เขตฯ
- ตรวจสอบ ดูแลทรัพยากรป่าไม้ ของป่าและสัตว์ป่าในเขตฯ ชายแดน
-
ด้านความมั่นคง
- ก่อสร้างอาคารที่ทำการ ตม. / อาคารผู้โดยสารขาเข้า-ขาออก
- การสนับสนุนรถเคลื่อนที่เพื่อให้บริการประชาชน
-
ด้านการสนับสนุนกลไกในระดับพื้นที่
- การขับเคลื่อนเขตฯ ชายแดนของจังหวัด/ที่ทาการปกครองจังหวัด/ที่ทำการปกครองอำเภอ
- การสร้างองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS)
- การบริหารจัดการ OSS ด้านแรงงาน สาธารณสุข และความมั่นคง
-
ด้านการศึกษา/การพัฒนาแรงงาน/ผู้ประกอบการ
- การพัฒนาผู้ประกอบการและสร้างเครือข่ายนักลงทุน
- การฝึกอบรมฝีมือและเพิ่มทักษะแรงงาน
- การสนับสนุนชุดฝึกทักษะและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน / ครุภัณฑ์การศึกษา
- การจัดหลักสูตรการเรียนการสอน/การอบรมวิชาชีพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน
- ติดตั้งระบบตรวจจับใบหน้าบุคคลเฝ้าระวัง
- พัฒนาระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมือง PIBICS
- สนับสนุนครุภัณฑ์ในการดำเนินงาน
มาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตฯ ชายแดน มีกิจการเป้าหมาย 13 กลุ่มกิจการ ดังนี้
- อุตสาหกรรมการเกษตร ประมง และกิจการที่เกี่ยวข้อง
- การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์โลหะ และวัสดุ
- การผลิตสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง
- การผลิตเครื่องเรือน
- การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ
- การผลิตยานยนต์เครื่องจักรและชิ้นส่วน
- การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกและเยื่อกระดาษ
- การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์
- กิจการบริการ
- กิจการสาธารณูปโภค
- นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม
- กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค มีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
-
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC Creative LANNA):เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง - พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
- อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
- อุตสาหกรรมดิจิทัล
- อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
- อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
-
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC Bioeconomy):นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย - พัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
- อุตสาหกรรมชีวภาพ
- อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
-
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง – ตะวันตก (CWECAgro & High Tech IndustryGreen & Hermitage Tourism):อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี – พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนา ด้านอุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูงเชื่อมโยงกับ กทม. และพื้นที่โดยรอบ และ EEC โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
- อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
-
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SECWestern GatewayBio-industry & High Value Argo Ind.Wellness & Local Tourisms): ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช - พัฒนาเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน เป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง และเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
- อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
- อุตสาหกรรมชีวภาพ
- อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
การขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ มี 5 ด้าน ดังนี้
- การให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ
- การพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ
- การวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไป
- สนับสนุนให้เกิดการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค
- เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
- พัฒนาแรงงานให้เพียงพอและสอดรับกับกิจการเป้าหมายที่ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
- สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเขตฯ ชายแดน
- พัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ
- สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การบูรณาการการขับเคลื่อนระดับพื้นที่ โดยทุกภาคส่วน (สถาบันการศึกษา - ภาครัฐ – ภาคเอกชน)
- แลกเปลี่ยนข้อมูลและพัฒนาความร่วมมือกัน
- สร้างสภาพแวดล้อม (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการดึงดูดให้เกิดการลงทุนในพื้นที่
- เชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ
- วิจัยพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้
ที่มา: https://www.facebook.com/SenateThailand/videos/935383878207648