Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การขับเคลื่อนและเป้าหมาย 194
นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การขับเคลื่อนและเป้าหมาย
1.1 สถานการณ์และทิศทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
การพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย ปัจจัยที่จะส่งผลต่อการพัฒนา การแข่งขัน บทบาทประเทศมหาอำนาจในภูมิภาค ภัยธรรมชาติ เทคโนโลยี ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องอาศัยจุดแข็งหรือความได้เปรียบของลักษณะททางภูมิศาสตร์
การพัฒนาเชิงพื้นที่ อาศัยความได้เปรียบ 2 อย่าง
1.ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ที่ประเทศไทยอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจจีนรายรอบด้วยประเทศต่างจำนวนมาก
2. ผลจากการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญได้กระจายไปในแต่ละพื้นที่
ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าว จะทำให้สามารถพัฒนาพื้นที่ให้เป็นฐานรองรับการลงทุนเพื่อกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่
1.2 ความเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และนโยบายรัฐบาล
- ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561 - 2580)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
- แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 9 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ------ EEC/SEZ/ระเบียง
- แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน
นโยบายรัฐบาล ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ โดยพัฒนาต่อยอดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาค ให้มีประโยชน์มากขึ้นเพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญและกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค
1.3 เป้าหมายการพัฒนา ตามแผนแม่บทฯ ประเด็นที่ 9 เขตเศรษฐกิจพิเศษ
เป้าหมาย
1. การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม
ตัวชี้วัด อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม
- ปี 66 – 70 เท่ากับ ร้อยละ 5
- ปี 71 – 75 เท่ากับ ร้อยละ 5
- ปี 76 – 80 เท่ากับ ร้อยละ 5
2. การลงทุนฯ
ตัวชี้วัด มูลค่าการลงทุนฯ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
- ปี 66 – 70 เท่ากับ 650,000 ล้านบาท
- ปี 71 – 75 เท่ากับ 650,000 ล้านบาท
- ปี 76 – 80 เท่ากับ 650,000 ล้านบาท
เป้าหมายการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมุ่งสร้างความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมและยกระดับการลงทุนในพื้นที่ซึ่งมีตัวชี้วัดสำคัญ ได้แก่
1) อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม โดยกำหนดค่าเป้าหมายให้มีการขยายตัว EEC ร้อยละ 6.3 / ระเบียงฯ ร้อยละ 5 / เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ร้อยละ 3
2) มูลค่าการลงทุน EEC 500,000 ล้านบาท /ระเบียงฯ 150,000 ล้านบาท / เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10,000 ล้านบาท
1.4 กลไกการขับเคลื่อน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
1) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง ขับเคลื่อนดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 ได้แก่ ตาก , เชียงราย , กาญจนบุรี , หนองคาย , นครพนม , มุกดาหาร , สระแก้ว , ตราด , สงขลา และ นราธิวาส
2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2564 ได้แก่
- ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ Northern Economic Corridor : NEC – Creative LANNAได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ เป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่ต่อยอดจากฐานวัฒนธรรมล้านนา ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
- ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Northeastern Economic Corridor : NeEC – Bioeconomy ได้แก่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี และหนองคาย เพื่อพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ที่เชื่อมโยงการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต
- ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง - ตะวันตก Central – Western Economic Corridor : CWEC ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี เพื่อพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของภาคกลาง - ตะวันตกในด้านอุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมไฮเทคที่ได้มาตรฐานระดับสากล เชื่อมโยงกับกรุงเทพและพื้นที่โดยรอบ และ EEC
- ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ Southern Economic Corridor : SEC ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศและประเทศในภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน และเป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง รวมทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ
1.5 กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.)