เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
454
ชื่อ
การควบคุมแมลงวันผลไม้โดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ชม 2,271 ครั้ง
เจ้าของ
สทน.
เมล์
-
รายละเอียด

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรม ผลิตผลที่ได้จากการเกษตรนอกจากใช้บริโภคในประเทศแล้ว ยังส่งชายไปตางประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศปีละหลายแสนล้านบาท ความเสียหายของผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่เกิดจากแมลงศัตรูพืช ซึ่งก็มีวิธีกำจัดหลายวิธี วิธีที่เกหษตรกรใช้ปรจำคือการใช้สารเคมี ซึ่งจะมีผลข้างเคียงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้งของผู้ปลูกและผู้ยริโภค แต่ก็มีเทคนิคใหม่ที่น่าสนใจอย่างมาก และเป็นเทคโนโลยีที่สะอาด คือ เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน(Sterile Insect Technique, STI) ที่ใช้กันทั่วโลก
เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน เป็นการใช้แมลงชนิดเดียวกันควบคุมแมลงชนิดเดียวกัน ไม่ให้มีจำนวนประชากรของแมลงมากจนเป็นอันตรายต่อพืชผลทางการเกษตร ขั้นตอนของเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ประกอบด้วย
1. การเลี้ยงแมลงในโรงเพาะเลี้ยงแมลงจำนวนมาก
2. การทำหมันแมลงที่เลี้ยงด้วยการฉายรังสี
3. การปล่อยแมลงที่ทำหมันออกไปแข่งขันผสมพันธ์กับแมลงที่มีอยู่ในธรรมชาติ
ผลของการใช้ เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ทำให้ตัวเมียวางไข่ที่ไม่สามารถฟักออกเป็นตัวหนอน(ไม่มีลูก) แต่ต้องปล่อยแมลงที่เป็นหมันให้มากกว่าแมลงที่มีอยู่ในธรรมชาติ นอกจากนี้เพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพ ควรใช้เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ร่วมกับวิธีทางธรรมชาติอื่น ๆ เช่น การใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน(parasite and predator) การใช้กับดักพืชอาศัย(trap crop) การใช้พืชต้านทาน(host plant resistance) การยับยั้งการผสมพันธุ์ของแมลง(mating inhibitor) และการใช้วิธีทางฟิสิกส์

การควบคุมแมลงในพื้นที่กว้างด้วยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน ต้องการความรู้เฉพาะ และต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสีย(Stakeholder) ทั้งหมด เช่น ผู้ผลิต เกษตรกร พ่อค้า ผู้ส่งออก นักวิทยาศาสตร์ นักส่งเสริมการเกษตร นักสิ่งแวดล้อม นักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง จึงจะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาสูงสุด
ญหาความเสียหายของผลิตผลการเกษตรในระหว่างการเก็บรักษา ส่วนใหญ่เกิดจากการทำลายของแมลง การกำจัดแมลงโดยใช้สารฆ่าแมลง ทำให้แมลงสร้างความต้านทาน นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาพิษตกค้างในผลิตผลการเกษตรและสิ่งแวดล้อม การใช้รังสีกำจัดแมลง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และได้ดำเนินงานวิจัยทั่วโลกประมาณ 50 ปีแล้ว สำหรับประเทศไทย ได้มีงานวิจัยมากว่า 30 ปี การฉายรังสี มีผลทำให้แมลงไม่มารถมีชีวิตรอดและแพร่พันธุ์ได้ ไม่มีพิษตกค้าง คุณภาพของผลิตผลเหมือนเดิม สำหรับพืชผัก ผลไม้ จะสุกช้าลง และวิธีการนี้ ยังสามารถใช้ร่วมกับวิธีการอื่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงได้ด้วย


แมลงวันผลไม้ ทำลายผลไม้ต่าง ๆ เช่น มะละกอ มะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง กระท้อน

มอดฟันเลื่อย ทำลายเมล็ดธัญพืช และสมุนไพร

มอดแป้ง ทำลายเมล็ดธัญพืช และผลิตภัณฑ์แป้ง

มอดยาสูบ ทำลายสมุนไพร และผลไม้

ผีเสื้อข้าวสาร ทำลายข้าวสาร

ผลิตผลการเกษตรที่ถูกแมลงทำลาย แบ่งเป็น

 

  • ผักและผลไม้สด
  •  

     

  • ผลิตผลในโรงเก็บ เช่น เมล็ดข้าว เมล็ดถั่ว และแป้งชนิดต่าง ๆ
  •  

     

  • ผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปลาแห้ง ปลาเค็ม และปลารมควัน
  •  

     

  • สินค้าเกษตรอื่น ๆ เช่น เมล็ดกาแฟ ผลไม้แห้ง เครื่องเทศ อาหารสัตว์ ใบยาสูบ และไม้ตัดดอก
    แมลงศัตรูผลิตผลการเกษตร แบ่งเป็น
  •  

     

  • แมลงพวกปีกแข็ง เช่น ด้วงงวงช้าง มอดแป้ง มอดฟันเลื่อย และด้วยถั่วเขียว
  •  

     

  • แมลงพวกผีเสื้อ เช่น ผีเสื้อข้าวสาร ผีเสื้อข้าวเปลือก และผีเสื้อข้าวโพด
  •  

     

  • แมลงพวกแมลงวัน เช่น แมลงวันผลไม้ และแมลงวันทำลายปลาแห้ง
  •  

     

  • แมลงอื่น ๆ เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยไฟ
  •  

     

  • ไร เช่น ไรแดง และไรฝุ่น



    ความปลอดภัยของผลิตผลการเกษตรฉายรังสี
    ผลิตผลการเกษตรที่อนุญาตให้ฉายรังสี เพื่อควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลง ระหว่างการเก็บรักษา ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2529) ได้แก่ เมล็ดโกโก้ พุทราแห้ง มะละกอ ถั่ว ข้าว เครื่องเทศ ปลาและผลิตภัณฑ์ปลา ข้าวสาลีและผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี โดยปริมาณรังสีสูงสุดที่อนุญาตคือ 1 กิโลเกรย์ ทั้งนี้ จะต้องแสดงฉลากเครื่องหมายอาหารฉายรังสี ให้ผู้บริโภคทราบ ในสหรัฐอเมริกา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (USFDA) ได้ประกาศรับรองเรื่องความปลอดภัยของอาหารฉายรังสี และยอมให้จำหน่ายแก่ประชาชนบริโภคได้ในปี พ.ศ. 2529

    เรื่องเล่าความสำเร็จ สามารถเข้าไปดูได้ที่ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านมังคุดเพื่อการส่งออก ต.ตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี


    สนใจติดต่อขอข้อมูลการฉายรังสีผลิตผลการเกษตรเพื่อกำจัดแมลงได้ที่..
    คุณสุชาดา เสกสรรค์วิริยะ คุณวณิช ลิ่มโอภาสมณี และคุณประพนธ์ ปราณโสภณ
    โทร.: 02 5795230 ต่อ 2423
    อีเมล: suchadas@oaep.go.th


    http://www.tint.or.th
  • คำสำคัญ
    แมลง  รังสี  เกษตร  เทคโนโลยีสะอาด  
    บันทึกโดย
    นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ  สำนักงานปลัดกระทรวง

    รายละเอียดผู้รับบริการ

    ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




    สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
    มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th