บทบาทของ อว.ส่วนหน้า และอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ต่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ  57

คำสำคัญ : อว.ส่วนหน้า  อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค  ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ  

ในงานสัมมนา “บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย” เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กทม. นั้น ได้มีการนำเสนอผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดย ผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 4 ภาค

 

ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ รศ.ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มช. ได้กล่าวถึง บทบาทของ “อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค”  ซึ่งจะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่ โดยได้ทำการวิเคราะห์ เทคโนโลยีเป้าหมาย ของอุทยานวิทยาศาสตร์แต่ละภูมิภาค Mapping กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษแต่ละภาค ได้ดังนี้

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC)

จังหวัดเป้าหมาย:เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง

อุตสาหกรรมเป้าหมาย: อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

เทคโนโลยีเป้าหมาย (NSP): ดิจิทัลสร้างสรรค์ เทคโนโลยีการสกัด และเทคโนโลยีพลาสมา

 

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC - Bioeconomy)

จังหวัดเป้าหมาย:ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี หนองคาย

อุตสาหกรรมเป้าหมาย: อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

เทคโนโลยีเป้าหมาย (NESP) - Upper: เทคโนโลยีพลังงานและเคมีชีวภาพ เทคโนโลยีเกษตรและอาหารสายอาชีพ และเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์

เทคโนโลยีเป้าหมาย (LNESP) - Lower: เทคโนโลยีพลังงานและเคมีชีวภาพ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ และอิเล็กทรอนิส์อัจฉริยะ

 

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง – ตะวันตก (CWEC)

จังหวัดเป้าหมาย: อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี

อุตสาหกรรมเป้าหมาย: อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

เทคโนโลยีเป้าหมาย (TSC): เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ AI ดิจิทัล และไมโครอิเล็กทรอนิกส์

 

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)

จังหวัดเป้าหมาย:ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช

อุตสาหกรรมเป้าหมาย: อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

เทคโนโลยีเป้าหมาย (STSP) : โอลีโอเคมี เทคโนโลยีแปรรูปไม้ยางพารา และฮาลาล

 

โดยบทบาทของ “อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค” ในการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค จะมีบทบาทหลัก 4 ด้าน ดังนี้  

  • พัฒนาด้านการศึกษาวิจัยและกำลังคน
  • ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาบ่มเพาะผู้ประกอบการและเทคโนโลยีสู่ระบบเศรษฐกิจ
  • เป็นตัวกลางเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ การศึกษา ภาคชุมชนท้องถิ่น
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินนโยบายและกลไกขับเคลื่อน

 

ทั้งนี้ ภาคเหนือได้นำร่องจัดทำ แผนแม่บทการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ด้วยแนวคิด BCG Economyโดยเชื่อมโยงกับแผนทุกระดับตั้งแต่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 วาระแห่งชาติ BCG แผนพัฒนาภาค/กลุ่มจังหวัด/จังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคภาคเอกชน แผนพัฒนาอุดมศึกษา และนโยบายที่โดดเด่น รวมทั้งได้นำเสนอแนวทาง Flagship projectsของ 4 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง) ตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาจังหวัด และเป็นแนวทางในการจัดทำแผนแม่บทฯ ในอีก 3 ภาคต่อไป

 

  • แล้ว  “อว.ส่วนหน้า”  จะมีบทบาทอย่างไรบ้างต่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ???
  • จากการฟังการนำเสนอผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดย ผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 4 ภาค นั้น พบว่า ส่วนใหญ่ยังขาดการวิเคราะห์และการจัดทำ Action Plan ในระดับจังหวัดที่สอดคล้องตามอุตสาหกรรมเป้าหมายของพื้นที่ ซึ่งในจุดนี้ “อว.ส่วนหน้า” จะสามารถช่วยขับเคลื่อนได้

 

โดยจุดที่ “อว.ส่วนหน้า” จะสามารถเข้าไป Plug in ได้นั่นคือ การจัดทำ “แผนพัฒนาจังหวัดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ” จำนวน 16 จังหวัด ดังปรากฏในช่วงหนึ่งที่ รศ.ดร.ปัทมา โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้บรรยายเกี่ยวกับ “การจัดทำแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานในองค์ประกอบ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษด้านการวิจัยและพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตามมติ ครม.”

 

 

 

และจากการที่ผู้เขียนได้รับมอบหมายเป็น Project Manager ทำหน้าที่ประสานหน่วยงานในสังกัด อว. เพื่อเชื่อมโยงการดำเนินงานกับ อว.ส่วนหน้า นั้น ใน Blog ต่อไป จะลองฉายภาพนำเสนอแนวทางความเชื่อมโยงการดำเนินงานของ อว.ส่วนหน้า ร่วมกับ สกสว. และ บพท. ในการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในระดับจังหวัดโดยผ่านกลไกความร่วมมือในเชิงพื้นที่กันค่ะ :)

 

 


เขียนโดย : มัชฌิมา  นันทรัตน์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : -

พี่แก้วสรุป แต่ละภูมิภาคไว้ได้ กระชับและน่าอ่านมากๆ เลยค่ะ พร้อมข้อมูล จังหวัดเป้าหมาย ตลอดจน อุตสาหกรรมเป้าหมาย ของแต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาค ให้คนที่อ่านได้เรียนรู้ ไปครบทุกภูมิภาคเลย ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่นำมาแชร์ ไว้ให้ได้อ่านนะคะ

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล