การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย  137

คำสำคัญ : ระเบียงเศรษฐกิจ  

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าฟัง การสัมมนา เรื่อง บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย โดย คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องพระพรหม ชั้น 3 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
การสัมมนาในครั้งนี้ได้มีการเชิญวิทยากรผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยจะเน้นไปที่การเตรียมกำลังคน (Supply) การทำ skill-mapping เพื่อรองรับการผลักดันนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีความต้องการแรงงาน (Demand) แตกต่างกันตามคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีผู้มาร่วมบรรยายทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ (ทั้งส่วนนโยบายและการขับเคลื่อน) ภาคเอกชน (มุมมองจากหอการค้าและสภาอุตสาหกรรม) และสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นตัวแทนของระเบียงเศรษฐกิจในแต่ละภาคและวิทยาลัยชุมชนกับการพัฒนาทุนมนุษย์ในส่วนของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ทำให้เห็นตัวอย่างการขับเคลื่อนและประเด็นต่างๆ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 
โดยวันนี้จะขอสรุปการบรรยายในหัวข้อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย โดย นายบุญชัย ฉัตรประเทืองกุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย :
ภาครัฐได้ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน และให้ความสำคัญกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใน 4 ภาค ดังภาพ เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจใหม่ (New Growth Poles) สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง เชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาแบบเครือข่ายหรือในลักษณะคลัสเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่า (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ)


 

การขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ

1.การให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน

2.การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ

3.การวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

4.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

5. การพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ: การบูรณาการการขับเคลื่อนระดับพื้นที่ ภาครัฐ-เอกชน-ชุมชน-สถาบันการศึกษา 


เขียนโดย : เอสา  เวศกิจกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : asa.v@mhesi.go.th