การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย  244

คำสำคัญ : 

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย
โดย นายบุญชัย ฉัตรประเทืองกุล
ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)


ประเด็นนำเสนอ มี 3 ประเด็นหลัก
1. นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การขับเคลื่อนและเป้าหมาย

2. ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
  2.1 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง

   2.2 ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค

3. ประเด็นขับเคลื่อนในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไป


ประเด็นที่ 1. นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การขับเคลื่อนและเป้าหมาย มีดังนี้

1.1 สถานการณ์และทิศทางการพัฒนาที่เกี่ยวกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

     1) ประเทศไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพของประเทศ

    2) ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อให้มีแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา 

     3) ภาครัฐได้ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน และให้ความสำคัญกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใน 4 ภาค 

เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจใหม่ (New Growth Poles)     

1.2 ความเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น

ที่ 9 เขตเศรษฐกิจพิเศษประเด็น (09) เขตเศรษฐกิจพิเศษ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 13 ของหมุดหมายที่ 8 

และนโยบายรัฐบาล เป็นส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ โดยพัฒนาต่อยอดเขตเศรษฐกิจพิเศษระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาค ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญและกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค
1.3 เป้าหมายการพัฒนาตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 9 เขตเศรษฐกิจพิเศษประเด็น (09) เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมุ่งสร้างความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมและยกระดับการลงทุนในพื้นที่ซึ่งมีตัวชี้วัดสำคัญ ได้แก่

     1) อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม โดยกำหนดค่าเป้าหมายให้มีอัตราการขยายตัว EEC ร้อยละ 6.3 / ระเบียงฯ ร้อยละ 5 /เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ร้อยละ 3

     2) มูลค่าการลงทุน EEC 500,000 ล้านบาท / ระเบียงฯ 150,000 ล้านบาท / เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10,000 ล้านบาท
1.4 กลไกการขับเคลื่อน : ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564
เขตเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย
    1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง โดยขับเคลื่อนดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558ได้แก่ จ.ตาก จ.เชียงราย จ.กาญจนบุรี จ.หนองคาย จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.สระแก้ว จ.ตราด จ.สงขลา และ จ.นราธิวาส
    2. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2564 ได้แก่ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้
1.5 กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ประกอบด้วย คณะกรรมการอนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์กำหนดพื้นที่ และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐาน และคณะอนุกรรมการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์
ประเด็นที่ 2. ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
2.1 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง
    (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน : ก้าวหน้าร้อยละ 90 ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านคมนาคมขนส่ง ด่านศุลกากร/ด่านพรมแดน ระบบไฟฟ้าประปา นิคมอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานและเพียงพอเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างโครงการสำคัญใน 10 เขตที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ดังนี้ 

1. จ.เชียงราย ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ 

2. จ.ตาก ทางเลี่ยงเมืองแม่สอดและสะพานข้ามแม่น้ำเมย 2 

3. จ.กาญจนบุรี ด่านศุลกากรบ้านพุน้ำร้อน
4. จ.สงขลา ด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่
5. จ.นราธิวาส ท่าเทียบเรือศุลกากรตากใบ
6. จ.หนองคาย ทางหลวงหมายเลข 212 หนองคาย – โพนพิสัย

7. จ.มุกดาหาร ทางหลวงหมายเลข 212 หว้านใหญ่-ธาตุพนม

8. จ.ตราด ถนนทางเข้าท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่
9. จ. นครพนม ด่านศุลกากรนครพนมแห่งใหม่
10. จ.สระแก้ว นิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว
    (2) การพัฒนาโครงการด้านสังคม สาธารณสุข แรงงาน/ผู้ประกอบการ และการเพิ่มศักยภาพกลไกในพื้นที่ มี 4 ด้าน
ได้แก่ 1. ด้านสาธารณสุข/สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เช่น การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมลดและป้องกันปัจจัยเสี่ยงจากมลพิษเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่/ภัยสุขภาพ เพิ่มศักยภาพ รพ. ในพื้นที่เขตฯ ชายแดน 2. ด้านการสนับสนุนกลไกในระดับพื้นที่ เช่น การขับเคลื่อนเขตฯ ชายแดนของจังหวัด/ที่ทำการปกครองจังหวัด/

ที่ทำการปกครองอำเภอ การสร้างองค์ความรู้แก่ จนท. OSS การบริหารจัดการ OSS ด้านแรงงาน สาธารณสุข และความมั่นคง

3. ด้านการศึกษา/การพัฒนาแรงงาน/ผู้ประกอบการ เช่น การพัฒนาผู้ประกอบการและสร้างเครือข่ายนักลงทุน การฝึกอบรมฝีมือและเพิ่มทักษะแรงงานการสนับสนุนชุดฝึกทักษะและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานครุภัณฑ์การศึกษา การฝึกอบรมฝีมือและเพิ่มทักษะแรงงาน การสนับสนุนชุดฝึกทักษะและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และ 4. ด้านความมั่นคง เช่น ก่อสร้างอาคารที่ทำการ ตม. / อาคารผู้โดยสารขาเข้า-ขาออก การสนับสนุนรถเคลื่อนที่เพื่อให้บริการประชาชน

    (3) มาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตฯ ชายแดน มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของพื้นที่

2. สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม/ประโยชน์ต่อเนื่อง

3. ไม่มีแนวโน้มก่อมลพิษ

4. เป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน

5. มีโอกาสเข้าร่วมห่วงโซ่การผลิตทั้งใน/ต่างประเทศ

6. เอกชนท้องถิ่น+ทั่วไปมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ

กิจการเป้าหมายของทั้ง 10 เขตฯ ของ 13 กลุ่มกิจการ ได้แก่
1) อุตสาหกรรมการเกษตร ประมง และกิจการที่เกี่ยวข้อง

2) การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ โลหะ และวัสดุ

3) การผลิตสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง

4) การผลิตเครื่องเรือน

5) การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ

6) การผลิตยานยนต์เครื่องจักรและชิ้นส่วน

7) การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

8) การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกและเยื่อกระดาษ

9) การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์

( เช่น กิจการศูนย์แพทย์เฉพาะทาง ศูนย์แพทย์แผนไทย การผลิตยา/เครื่องมือแพทย์ )

10) กิจการบริการ (เช่น กิจการสถานฝึกฝนวิชาชีพ ศูนย์กระจายสินค้า การบริการแก่ธุรกิจสร้างภาพยนตร์ )

11) กิจการสาธารณูปโภค ( เช่น กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้ าจากขยะ การผลิตพลังงานไฟฟ้ าจากพลังงานหมุนเวียน )

12) นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม

13) กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
  ในปัจจุบันเอกชนขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้แล้ว โดยมีประกาศนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของ BOI ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ระดับสูงสุด ผ่อนปรนเงื่อนไขสำหรับ SMEs ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และกำหนดกิจการเป้าหมายสำหรับการลงทุน และสำหรับโครงการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI มีการลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และมีการผ่อนปรนเงื่อนไขการจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน

  2.2 ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค
การกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ  กพศ. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อ 5 พฤษภาคม 2565 เห็นชอบการประกาศพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค โดยมีขอบเขตเป็นระดับจังหวัด (ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อ 20 กันยายน 2565)
(1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง 

(2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี และหนองคาย 

(3) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง - ตะวันตก ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี 

(4) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
แนวทางการพัฒนาระเบียงฯ

1. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC – Creative LANNA)

ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง : พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน โดย พัฒนา Creative Ecosystem ให้เอื้อต่อการเป็นเมืองสร้างสรรค์ พัฒนาสินค้าและบริการสร้างสรรค์ สร้างแบรนด์และส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ พัฒนาด้านการศึกษาและวิจัย และบุคลากรด้านสร้างสรรค์     

2. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก
ประกอบด้วย อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรีและกาญจนบุรี : พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ กทม. และพื้นที่โดยรอบ และ EEC โดย เพิ่มความสามารถการแข่งขันของฐานอุตสาหกรรมเดิม ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และส่งเสริมการพัฒนาเขตการท่องเที่ยวเชิงมรดกโลก ประวัติศาสตร์และการอนุรักษ์
3. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC - Bioeconomy)
ประกอบด้วย นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย : พัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ

ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้หลากหลาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตร/อุตสาหกรรมชีวภาพและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ และพัฒนาบุคลากรด้านเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ

4. ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)
ประกอบด้วย ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช : พัฒนาเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน เป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง (ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ผลิตภัณฑ์ประมง และอื่นๆ) และเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ โดย พัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามันและการท่องเที่ยวแบบผสมผสานเชิงสุขภาพและวิถีชุมชน พัฒนาฐานอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูงส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การกำหนดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย
ภาคเหนือ (NEC – Creative LANNA) ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง
1. อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น กิจการบริการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ เขตอุตสาหกรรมภาพยนตร์ (Movie Town) อุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล หรือดิจิทัลคอนเทนต์ Data Center และ Cloud Service อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) เช่น 

สวนสนุก  ศูนย์แสดงศิลปะวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ และศูนย์การแพทย์แผนไทยอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เช่น กิจการผลิตอาหารอินทรีย์ สารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ใช้เทคโนโลยีการสกัดขั้นสูง รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมเกษตร

และอาหาร
2. ภาคกลาง-ตะวันตก ประกอบด้วย อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรีและกาญจนบุรี
อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เช่น กิจการผลิตอาหารอินทรีย์ Plant Factory สารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ใช้เทคโนโลยีการสกัดขั้นสูง รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเกษตรปลอดภัยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC - Bioeconomy) ประกอบด้วย นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย
อุตสาหกรรมชีวภาพ เช่น การผลิตพลาสติกชีวภาพ ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตร (เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย) และผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เช่น กิจการผลิตอาหารอินทรีย์ (เช่น โปรตีน

ทางเลือก อาหารทางการแพทย์) สารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ใช้เทคโนโลยีการสกัดขั้นสูง รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และสารสกัดหรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัด รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

4. ภาคใต้ (SEC) ประกอบด้วย ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เช่น กิจการผลิตอาหารอินทรีย สารสกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติที่ใช้เทคโนโลยีการสกัด
ขั้นสูง รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารอุตสาหกรรมชีวภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (ผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมิคัล) 
จากวัตถุดิบปาล์มน้ำมัน สารสกัดจากยางพาราอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) เช่น ศูนย์แสดงศิลปะวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ และศูนย์การแพทย์แผนไทย

การขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงฯ ตามองค์ประกอบ 5 ด้าน

1. การให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน
2. การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ
3. การวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี (หน่วยงานรับผิดชอบหลัก อว.)
  - ยกระดับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

   - ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม

   - แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างรัฐ-เอกชน-สถาบันการศึกษา-ชุมชน

4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
5. การพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ

ประเด็นที่ 3. ขับเคลื่อนในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไป

3.1 การดำเนินงานในระยะต่อไป

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 

1. สนับสนุนให้เกิดการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน  10 แห่ง โดยเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 

2. เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แล้วเสร็จตามแผนและใช้ประโยชน์ให้เต็มศักยภาพ
3. พัฒนาแรงงานให้เพียงพอและสอดรับกับกิจการเป้าหมายที่ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้กับต่างประเทศ 

4. สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเขตฯ ชายแดน

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค

1. สนับสนุนให้เกิดการลงทุนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค โดยเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

2. เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ

3. พัฒนาแรงงานให้เพียงพอและสอดรับกับกิจการเป้าหมายที่ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ ปรับหลักสูตรที่สนับสนุนการพัฒนากิจการเป้าหมายในเขตฯ ชายแดน และคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายในระเบียงฯ และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้
4. พัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ 

5. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
3.2 ปัจจัยสู่ควาสำเร็จ : การบูรณาการการขับเคลื่อนระดับพื้นที่ (ภาครัฐ-เอกชน-ชุมชน-สถาบันการศึกษา)
โดยสนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาฯ ในด้านต่าง ๆ อย่างบูรณาการ ได้แก่

- สถาบันการศึกษา - ภาครัฐ – ภาคเอกชน ประสานแลกเปลี่ยนข้อมูลและพัฒนาความร่วมมืออย่างใกล้ชิด

- สร้างสภาพแวดล้อม (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการดึงดูดให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ รวมทั้งร่วมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

- เชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ สนับสนุนการดำเนินธุรกิจการค้าให้กับผู้ประกอบการไทย การสร้างเครือข่ายนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

- วิจัยพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการในทุกระดับ รวมถึง SMEs และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่


เขียนโดย : นายชาญวิทย์  ตรีเดช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : chanvit@most.go.th