Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย 134
การสัมมนา “บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย” เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 โดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ สรุปได้ดังนี้
การกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ(กพศ.) ครั้งที่1/2565เมื่อ5พฤษภาคม2565เห็นชอบการประกาศพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง4ภาค โดยมีขอบเขตเป็นระดับจังหวัด (ครม.มีมติเห็นชอบเมื่อ 20กันยายน 2565)
(1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ล าพูน และลำปาง
(2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี และหนองคาย
(3) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตกประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี
(4) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
แนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
(1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC – Creative LANNA) พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน โดย
• พัฒนา Creative Ecosystem ให้เอื้อต่อการเป็นเมืองสร้างสรรค์
• พัฒนาสินค้าและบริการสร้างสรรค์
• สร้างแบรนด์และส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์
• พัฒนาด้านการศึกษาและวิจัย และบุคลากรด้านสร้างสรรค
(2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC - Bioeconomy) พัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต โดย
• พัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้หลากหลาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัย
• ส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตร/อุตสาหกรรมชีวภาพและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
• พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์
• พัฒนาบุคลากรด้านเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ
(3) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (CWEC) พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูงเชื่อมโยงกับกรุงเทพมหานคร และพื้นที่โดยรอบ และ EEC โดย
• เพิ่มความสามารถการแข่งขันของฐานอุตสาหกรรมเดิม
• ส่งเสริมการพัฒนาอุตฯ แห่งอนาคต
• ส่งเสริมการพัฒนาเขตการท่องเที่ยวเชิงมรดกโลกประวัติศาสตร์และการอนุรักษ์
(4) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) พัฒนาเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน เป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง (ปาล์มน้ ามัน ยางพารา ผลิตภัณฑ์ประมง และอื่นๆ) และเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ โดย
• พัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามันและการท่องเที่ยวแบบผสมผสานเชิงสุขภาพและวิถีชุมชน
• พัฒนาฐานอุตฯ ชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง
• ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม และการพัฒนาเมืองน่าอยู่
• พัฒนาเพื่อส่งเสริมบทบาทเป็นประตูการค้าและโลจิสติกส
การกำหนดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย
(1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ : อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
(2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมชีวภาพ
(3) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก : อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
(4) พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ : อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
การขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ตามองค์ประกอบ 5 ด้าน
(1) การให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน
– ให้สิทธิประโยชน์เป็นการเฉพาะ
– กำหนดมาตรการส่งเสริม Ecosystem
– มีกิจการเป้าหมายตามจุดเน้นการพัฒนาแต่ละระเบียงฯ และส่งเสริม BCG
– อำนวยความสะดวกการลงทุน เช่น การพัฒนาศูนย์ OSS
(2) การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ
– พัฒนาและเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตและบริการ
– บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์และสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่
(3) การวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
– ยกระดับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
– ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม
– แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างรัฐ-เอกชน-สถาบันการศึกษา-ชุมชน
(4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
– จัดทำแผนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในด้านคมนาคมขนส่งสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ นิคมอุตสาหกรรม/พื้นที่รองรับอุตสาหกรรมและเพื่อสนับสนุนจุดเน้นการพัฒนาของระเบียงฯ รวมทั้งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักอื่น
(5) การพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ
– ส่งเสริมการพัฒนาแรงงานเพื่อรองรับกิจการเป้าหมายในพื้นที่
– พัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการในการด าเนินธุรกิจ
– บ่มเพาะผู้ประกอบการท้องถิ่น
– พัฒนาผู้ให้บริการ (Service Provider)
ที่มา : https://www.facebook.com/วุฒิสภา