สรุปสั้นๆ ประเด็นการพัฒนาเชิงพื้นที่จาก โครงการสัมมนา เรื่อง บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย  33

คำสำคัญ : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ  ยุทธศาสตร์ชาติ  

ยุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลมีระยะเวลาที่กําหนดไว้ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) หรือที่เรียกกันว่า
ยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
และมีหลักการขับเคลื่อนโดยการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติที่ ๒ การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ ๙
เขตเศรษฐกิจพิเศษ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๓ หมุดหมายที่ ๘ พื้นที่และเมืองอัจฉริยะ

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย แบ่งออกเป็น
(๑) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
(๒) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ๑๐ แห่ง จังหวัดตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม และกาญจนบุรี
(๓) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ๔ ภาค
           ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง
           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย
           ภาคกลาง - ตะวันตก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี
           ภาคใต้ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๐ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐
เป็นกรอบการยกระดับคุณภาพของระบบอุดมศึกษาให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ที่เป็นปัจจัยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนของสังคมไทย
กําหนดวิสัยทัศน์ “อุดมศึกษาสร้างคน สร้างปัญญา ปลูกฝังคุณธรรม เพื่อพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน” ประกอบด้วย ๓ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
           ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาศักยภาพคน
           ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา
           ยุทธศาสตร์ที่ ๓ จัดระบบอุดมศึกษาใหม่
ดังนั้น บทบาทของอุดมศึกษาจึงมีความสําคัญยิ่งในฐานะเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ

คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการการอุดมศึกษา
ดําเนินการพิจารณาศึกษา เรื่อง บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย
จากผลการพิจารณาศึกษาฯ ได้เสนอแนะประเด็นหลักในการพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวที่สําคัญจํานวน ๓ ประเด็น ดังนี้

๑. การพัฒนาแรงงานและการสนับสนุนผู้ประกอบการ
ส่งเสริมการพัฒนาแรงงานเพื่อรองรับกิจการเป้าหมายในพื้นที่ ครอบคลุมการพัฒนาความรู้และทักษะแรงงานตามความต้องการของกิจการที่มุ่งเน้นในพื้นที่
การพัฒนาฝีมือแรงงาน (Upskill /Reskill /New Skill) ตามศักยภาพและบทบาทของพื้นที่และรองรับการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งการพัฒนาแรงงานที่มีศักยภาพให้ยกระดับเป็นผู้ประกอบการในอนาคต

๒. การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
การยกระดับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคการผลิตบริการโดยสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างภาคีการพัฒนา
ได้แก่ ภาครัฐ ภาคศึกษา ชุมชน และเอกชนในพื้นที่ ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการแลกเปลี่ยนข้อมูล/องค์ความรู้ระหว่างภาคีการพัฒนา
โดยเฉพาะการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ SMEs หรือ Micro SMEsวิสาหกิจชุมชน และสตาร์ทอัพ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ภาคเอกชนที่กําลังเติบโตและเศรษฐกิจฐานราก

๓. การปรับปรุงหลักสูตรของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
การผลิตและพัฒนากําลังคนรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยมีสภาพปัญหาที่พบในปัจจุบัน อาทิ การผลิตกําลังคนที่ไม่สามารถตอบสนอง
ต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การขาดแคลนกําลังคนในสายวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ การเรียนที่ไม่ตรงความต้องการของตลาด
หรือการประกอบอาชีพ ฯลฯ สําหรับ “การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ” เป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสําคัญในการพัฒนาประเทศ

ความสอดคล้องของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ กับ แผนพัฒนาฯ เชิงพื้นที่ ของ อว.



 

 

ข้อมูลจาก: โครงการสัมมนา เรื่อง บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย
โดย คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา
วันพุธที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องพระพรหม ชั้น ๓ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ


เขียนโดย : น.ส.ภัทริน   เหล่าสิม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : mildme749@gmail.com