เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
4105
ชื่อ
ผ้ามัดย้อม ชม 3,700 ครั้ง
เจ้าของ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย
เมล์
phairot4543@yahoo.co.th
รายละเอียด

        การมัดย้อม เป็นการมัด ผูก เย็บ หนีบ หรือเป็นการ กันสี ในส่วนใดส่วนหนึ่งของผ้าที่ผู้ย้อมไม่ต้องการให้เกิดสีที่จะย้อมในครั้งนั้นๆ โดยใช้วัสดุต่างๆ เช่น เหรียญ เชือก ฟนังยาง ด้ายหรือถุงพลาสติกมาเป็นวัสดุช่วยในการกันสี ร่วมกับการม้วน พับ จับจีบ ขยํา หรือเย็บผ้า ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ของลายที่แตกต่างกนออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลวิธีในการออกแบบสี และการผสมผสานเทคนิคต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยเรียกการสร้างลวดลายด้วยวิธีนี้ว่า ผ้ามัดย้อม

ชนิดของผ้า

        สิ่งสำคัญที่เราศึกษาเป็นอันดับแรกก็คือ ชนิดของเส้นใยผ้า เนื่องจากในขั้นตอนของการย้อมผ้านั้นอาจเกิดปัญหาสีไม่ติดผ้า หรือติดได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งอาจเป็นเพราะเส้นใยผ้าที่ไม่เหมือนกัน จึงทำให้สีที่ออกมานั้นไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ชนิดของผ้านั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

เส้นใยธรรมชาติ

           ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช ได้แก่ เส้นใยจากเมล็ดเช่น ฝ้าย นุ่น เส้นใยที่ได้จากใบ เช่น ใยสัปปะรด เส้นใยที่ได้จากเปลือกไม้ เช่นลินิน ผ้าปอ ใยกัญชา ใยกัญชง เป็นต้น และได้จากสัตว์ เช่น ผ้าขนสัตว์ ผ้าไหม ซึ่งใยที่ได้จากสัตว์นี้มีคุณสมบัติทั่วไปคล้ายโปรตีน ดังนั้นเมื่อเปียกน้ำความเหนียวและความแข็งแรงจะลดลง ถ้าถูกแสงแดดเป็นเวลานานจะสลายตัวหรือกรอบ เส้นใยธรรมชาติจะสามารถย้อมสีออกมาได้ดีและตรงเกือบทุกสี

เส้นใยสังเคราะห์

         เส้นใยประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่เป็นพอลิเมอร์ ไม่ใช่เซลลูโลส คือ เป็นการผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ ซึ่งเป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมทั้งหมด มนุษย์ทำเส้นใยชนิดนี้เพื่อต้องการทดแทนเส้นใยจากธรรมชาติ เนื่องจากเส้นใยธรรมชาติลดลงเรื่อย ๆ โดยพยายามเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับเส้นใยธรรมชาติมากที่สุด และพัฒนาคุณสมบัติเฉพาะด้านให้ดียิ่งขึ้น เช่น อะครีลิก พอลีเอ สเตอร์ ชีฟอง ที่ไม่ใช่ชีฟองไหม ไนลอน ผ้าตาข่าย ผ้าหนังเทียม เป็นต้น ในด้านของการย้อมสีนั้น ถ้าไม่ใช่สีสำหรับเส้นใยสังเคราะห์ เช่น สีย้อมชนิดดิสเพิร์ส ก็จะไม่สามารถย้อมผ้าติดได้

 

ประเภทและรูปแบบของการออกแบบลายมัดย้อม

1. ผ้า

ผ้าที่ใช้ในการมัดย้อมเป็นผ้าที่ทอจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน และผ้า ไหม ซึ่งจะต้องนำไปซักน้ำเปล่า ต้มในน้ำเดือด หรือแช่แล้วซักในน้ำสบู่อ่อนๆ ก่อนเพื่อชำระสิ่งสกปรกหรือเคมีที่เคลือบบนผิวผ้าออกเสียก่อน ผ้านั้นจึงจะสามารถนำมาย้อมแล้วติดสีได้ดี ส่วนผ้าที่ทอจากเส้นใยสังเคราะห์จะนำมาย้อมแล้วไม่ได้สีที่ดีนักเนื่องจากเส้นใยไม่ดูดซับสี ยกเว้นเส้นใยสังเคราะห์จากเส้นใยพืช เช่น ผ้าเรยอน ซึ่งสามารถนำมาย้อมได้สีที่ดี บางครั้งผู้ย้อมอาจจะนำผ้าที่จะย้อมไปทำการฟอกสีให้พื้นผ้าเป็นสีขาวที่สุดเสียก่อน  โดยการนำไปชุบในน้ำยาเคมีสำหรับฟอกสีผ้าเสียก่อนก็ได้

2. ภาชนะที่ใช้ในการมัดย้อม

ควรจะเป็นภาชนะที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถจุ่มผ้าลงไป ได้ทั้งผืนที่ต้องการจะย้อม อาจใช้เป็นภาชนะโลหะเคลือบ สแตนเลส หรือพลาสติกตามแต่วิธีของผู้ย้อมวาจะใช้การย้อมร้อนหรือย้อมเย็น

3. วัสดุกันสี เช่น เชือกต่างๆ ด้าย ยางวง ถุงพลาสติก ไม้หนีบ ลูกปัด หมุดไม้ ก้อนกรวดหรือวัสดุอื่นๆ ตามแต่การออกแบบลวดลายของผู้ย้อมที่

4. สีที่ใช้ย้อม มีทั้งสีทางเคมี เเละสีทางธรรมชาติ

5. อุปกรณ์อื่นๆ เช่น กรรไกร เข็ม ที่เลาะด้าย ถุงมือยาง เป็นต้น

 เทคนิคการมัดย้อม

 

ส่วนที่ถูกมัดคือส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด ส่วนที่เหลือหรือส่วนที่ไม่ได้มัดคือส่วนที่ต้องการให้สีติด การมัดเป็นการกันสีไม่ให้สีติดนั่นเอง ลักษณะที่สำคัญของการมัดมีดังนี้

1. ความแน่นของการมัดกรณีแรก มัดมากเกินไปจนไม่เหลือพื้นที่ให้สีแทรกซึมเข้าไปได้เลย ผลที่ได้ก็คือ ได้สีขาวของเนื้อผ้าเดิม อาจมีสีย้อมแทรกซึมเข้ามาได้เล็กน้อย อย่างนี้เกิดลายน้อยกรณีที่สอง มัดน้อยเกินไป เหลือพื้นที่ให้สีย้อมติดเกือบเต็มผืน อย่างนี้ เกิดลายน้อยเช่นกน ทั้งผืนมีสีย้อมแต่แทบไม่มีลายเลยกรณีที่สาม มัด เหมือนกันแต่มัดไม่แน่น อย่างนี้เท่ากับไม่ได้มัดเพราะหากมัดไม่แน่นสีก็จะแทรกซึมผ่านเข้าไปได้ทั่วทั้งผืน

2. การใช้อุปกรณ์ช่วยในการหนีบผ้าแล้วมัด เพื่อให้เกิดความแน่น และเกิดลวดลายตามแม่แบบที่ใช้หนีบ ลายสวยเพียงใดขึ้นอยู่กับการออกแบบแม่แบบที่จะใช้หนีบด้วย

3. ความสม่ำเสมอของสีย้อม สีย้อมที่ติดผ้าจะสม่ำเสมอได้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิความร้อนขณะนำผ้าลงย้อม และการกลับผ้าไปมาการขยำผ้าเกือบตลอดเวลาของการย้อมหนึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่งก่อนที่จะแช่ผ้าไว้

การสร้างลวดลายผ้ามัดย้อม

1. การพับแล้วมัดวิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายต่อการออกแบบลวดลาย เนื่องจากลายที่ได้จะมีความสมมาตร ทำได้โดยการพับผ้าเป็นรูปต่างๆ แล้วมัดด้วยยางหรือ เชือก ผลที่ได้จะได้ลวดลายที่มีลักษณะลายด้านซ้ายและลายด้านขวาจะมีความใกล้เคียงกัน แต่จะมีสีอ่อนด้านหนึ่งและสีเข้มด้านหนึ่ง  เนื่องจากว่าหากด้านใด ่โดนพับไว้ด้านในสีก็จะซึมเข้าไปน้อย ผลที่ได้ก็คือจะมีสีจางกว่า

2. การพับแล้วเย็บ วิธีนี้จะคล้ายกบการพับแล้วมัด กล่าวคือ เป็นการพับผ้าเป็นรูปต่างๆแล้วเย็บเนาด้วยด้าย จากนั้นดึงด้ายให้ตึงแน่นแล้วนำไปย้อม หากใช้ร่วมกับการพับผ้าเป็นสันทบ ผลที่ได้จะได้ลวดลายที่มีลักษณะลายด้านซ้ายและลายด้านขวาจะมีความใกล้เคียงกันโดยมีริ้วเล็กๆแทรกอยู่บนลายจากการเย็บของเส้นด้ายนั่นเอง

3. การม้วนแล้วมัด เป็นการนำผ้ามาม้วนเข้ากบแกนกลางหรือม้วนแบบไม่มีแกนก็ได้แล้วมัดให้ได้ตามตำแหน่งที่ต้องการ วิธีนี้อาจใช้ร่วมกับการพับ เช่น ม้วนก่อนแล้วจึงถอดออกจากแกน นำมาพับ แล้วมัด หรือพับก่อนแล้วนำมาม้วน เสร็จแล้วถอดออกจากแกนมามัดก็ได้เช่นกัน

4. การขยำแล้วมัดกล่าวคือ เป็นการขยำ หรือรวบผ้าเป็นกระจุกอยางไม่ ตั้งใจแล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ผล ที่ได้จะได้ลวดลายแบบอิสระ เรียกวาลายสวยแบบบังเอิญ ทำแบบนี้อีกก็ไม่ได้ลายนี้อีกแล้ว เนื่องจากการขยำแต่ละครั้งเราไม่สามารถควบคุมการทับซ้อนของผ้าได้ ฉะนั้นลายที่ได้เป็นลายที่เกิดจากความบังเอิญจริงๆ เปรียบเทียบเหมือนกับการที่เราเห็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆแต่ละก้อนจะมีลักษณะแตกต่างกัน และเมื่อผ่านสักครู่ ลายหรือลักษณะของก้อนเมฆก็จะเปลี่ยนไป เรียกวาลายอิสระ หรือรูปร่างรูปทรงที่เป็นอิสระ

5. พับแล้วหนีบ กล่าวคือ เป็นการพับผ้าเป็นรูปแบบต่างๆ แล้วเอาไม้ หนีบ ไม้ไอศกรีมหรือไม้ไผ่ผ่าบางๆ หนีบไว้ ทั้งสองข้างเหมือนปิ้งปลา ต้องมัดไม้ให้แน่น  ภาพที่ออกมาก็จะเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปดอกไม้ รูปสี่เหลี่ยมเป็นต้น

คำสำคัญ
ย้อมผ้า  สิ่งทอ    
บันทึกโดย
นางสาวกมลพร  ทองฟู  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th