มุมมองหอการค้า : การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ  35

คำสำคัญ : EEC  

บทสรุปจากบรรยายพิเศษ “มุมมองหอการค้า : การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ”  โดย คุณ วรรณา ดุลยาสิทธิพร รองประธานคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาหอการค้าไทยละสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

มุมมองหอการค้าต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจะมุ่งโฟกัสไปที่ EEC เพื่อรองรับ Digital transformation อุตสาหกรรมแห่งอนาคตดึงดูดและรับกิจกรรมการลงทุน ดังนั้นจึงมีความต้องการบุคคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปี 2562 – 2566 จำนวน 475,688 อัตรา ใน 7 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน ใน EEC มีอัตราความต้องการแรงงานสูง แต่ขาดแคลนแรงงานทักษะสูงด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และภาษา การผลิตคนยังไม่ตอบโจทย์และรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต แนวทางการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์เขตเศรษฐกิจพิเศษของหอการค้าไทยร่วมกับผู้ประกอบการด้านต่างๆ เช่น เกษตรและอาหาร ท่องเที่ยวและบริการ ทั้งหมด 156 สมาคม จากแนวคิดเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สรุปได้ว่า Mindset  จะต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก Reskill-Upskill-Newskill มีหลักสูตรระยะสั้นในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ปรับตัวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ CWIE ไทย (Cooperative and Work Integrated Education) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นหนึ่งในกลไกตอบโจทย์การพัฒนาบุคคลากรที่เหมาะสมกับการทำงานของหอการค้า รวมถึงพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อผลักดันการทดลองพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนแต่ละพื้นที่อย่างอิสระ

          การดำเนินงานเพื่อยกระดับการพัฒนากำลังคน มีการพัฒนาทักษะทางภาษา ยกระดับด้านภาษาอังกฤษให้สมาชิกเครือข่าย การพัฒนาครูต้นแบบ ผลักดันโรงเรียนร่วมพัฒนายกระดับทักษะการจัดการของครูให้ตรงตามศตวรรษที่ 21 ร่วมไปถึงการสร้างการรับรู้และเชื่อมโยงความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่นวัตกรรม ดึง SME เข้าสู่ระบบ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาบุคคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการภาคธุรกิจ เพื่อให้ภาคธุรกิจและสังคมไทยก้าวสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะภาคธุรกิจในพื้นที่ EEC จะสามารถสร้างประโยชน์ระยะยาวจากการลงทุน FDI มูลค่าประมาณ 6 แสนล้านบาท ภายใน 3 – 5 ปี


เขียนโดย : ดร.สุมนรัตน์  ริยาพันธ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sumonrat.r@mhesi.go.th

CWIE  คือ สหกิจศึกษา ที่ มวล. ใช้หลักสูตรนี้

เขียนโดย ดาวริน  สุขเกษม

ที่ลาดกระบังมีการเรียนแบบสหกิจศึกษาแทนการทำโปรเจกต์จบในสมัยที่หนูเรียน แต่ว่ารับน้อยมากค่ะ จริงๆ ถ้าพัฒนาโครงการนี้ให้ advance ขึ้น และเปิดรับมากขึ้น น่าจะทำให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้นนะคะ

เขียนโดย น.ส.จุฑาทิพ  รุณสุข

การพัฒนากำลังคน การยกระดับทั้งด้านองค์ความรู้ ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการผลักดันการพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยในการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่ง โครงการที่เราสนับสนุนให้หน่วยงานดำเนินการ ก็มีหลายโครงการที่สามารถเข้าไปช่วยยกระดับการนำนวัตกรรมไปใช้จริงในชุมชนค่ะ

เขียนโดย น.ส.พรทิพย์  เพิ่มวรัญญู