เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ขนมจีน
ขนมจีน เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเส้นชนิดหนึ่งที่แปรรูปจากข้าวที่คนไทยนิยมบริโภคกันมาก ตั้งแต่สมัยโบราณโดยเฉพาะงานบุญและเทศกาลต่างๆโดยมีการผลิตทุกภาค การผลิตขนมจีนในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ทราบแน่ชัด เข้าใจว่ามีการบริโภคขนมจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีคลองซึ่งชื่อคลองขนมจีนและคลองน้ำยาปรากฏอยู่ การบันทึกเกี่ยวกับขนมจีนได้เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งมีการทำขนมจีนเลี้ยงกันเป็นงานใหญต่อมาในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งว่าขนมจีนมิใช่เป็นของชาวจีนเพียงแต่มีชื่อจีนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อได้ว่าเป็นของคนไทยทำ การบริโภคขนมจีนของคนไทยแต่ละภาคนิยมบริโภคกับอาหารประเภทแกงแต่มีส่วนผสมต่างกันออกไป เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว ขนมจีนแกงเขียวหวาน ขนมจีนน้ำพริก ฯลฯ
ชนิดของขนมจีน
ขนมจีนแบ่งออกเ 2 ชนิด
2.1 ขนมจีนแป้งหมัก เป็นขนมจีนที่ได้จากการหมักข้าวเจ้าหรือปลายข้าวเจ้าโดยหมัก 2-3 วัน ก่อนนำมาโม่แล้วทำเป็นขนมจีน ขนมจีนชนิดนี้มีความเหนียว สีคล้ำเล็กน้อย มีกลิ่นหมักและสามารถเก็บไว้ได้นานจึงเป็นที่นิยมมากในทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากกว่าขนมจีนแป้งสด
2.2 ขนมจีนแป้งสด เป็นขนมจีนที่ทำจากข้าวเจ้าหรือปลายข้าวที่ผ่านการแช่น้ำหรือล้างน้ำก่อนนำมาโม่แล้วทำเป็นขนมจีน ขนมจีนชนิดนี้ไม่เหนียวและเก็บได้ไม่นาน ขนมจีนชนิดนี้นิยมบริโภคทางภาคใต้ ภาคอื่นนิยมบ้างแต่น้อยกว่า ขนมจีนแป้งหมัก
คุณค่าทางโภชนาการของขนมจีน คือ ความชื้นร้อยละ 69.27 – 73.69 โปรตีน ร้อยละ 4.42 –5.94 สตาร์ชร้อยละ 89.56 – 90.67 ไขมันร้อยละ 0.31 – 1.20 เส้นใยร้อยละ 0.47 – 1.31 และปริมาณเถ้าร้อยละ 0.21 –0.70
เอกสารการฝึกอบรม ดาวส์โหลดที่นี่
ติดต่อสอบถาม
โทร นางจันทร์เฉิดฉาย สังเกตุกิจ 044-511022