การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย โดย สศช.  38

คำสำคัญ : เขตเศรษฐกิจพิเศษ  

การสัมมนา

“บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย”

ในวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567

 

หัวข้อ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : นโยบาย การขับเคลื่อนและเป้าหมาย โดย สศช.

1. นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป้าหมายและการขับเคลื่อน

     1.1 ความเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และนโยบายรัฐบาล

            ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี-> ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน

                                            - ประเด็นที่ 9 เขตเศรษฐกิจพิเศษ -> EEC/ระเบียงฯ/SEZ

- แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 -> หมุดหมายที่ 8: ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะ ที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน

            นโยบายรัฐบาล -> ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ โดยพัฒนาต่อยอดเขตเศรษฐกิจพิเศษระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาค ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญและกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค

    1.2 เป้าหมายการพัฒนา

เป้าหมายการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมุ่งสร้างความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมและยกระดับการลงทุน

         1) อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม โดยกำหนดค่าเป้าหมายให้มีอัตราการขยายตัว

             EEC ร้อยละ 6.3 / ระเบียงฯ ร้อยละ 5 / เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ร้อยละ 3

         2) มูลค่าการลงทุน EEC 500,000 ล้านบาท / ระเบียงฯ 150,000 ล้านบาท / เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10,000 ล้านบาท

    1.3 กลไกการขับเคลื่อน

 2. ความก้าวหน้าการดำเนินงาน

แนวทางการพัฒนาระเบียงฯ

1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ: เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง

    พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน

2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย

    พัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ของประเทศ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิต

3) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก: อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรีและกาญจนบุรี

    พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ กทม. และพื้นที่โดยรอบ และ EEC

4) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้: ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช:

   พัฒนาเป็นศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และ  ภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน 

การกำหนดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย

1) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ

     อุตสาหกรรมสร้างสรรค์/อุตสาหกรรมดิจิทัล/อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ/อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

2) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    อุตสาหกรรมชีวภาพ/อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

3) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก

    อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร/อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

4) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้:

    อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร/อุตสาหกรรมชีวภาพ/อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

3. ประเด็นขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไป

     1) สนับสนุนให้เกิดการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 10 แห่ง และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค

     2) เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ

    3) พัฒนาแรงงานให้เพียงพอและสอดรับกับกิจการเป้าหมายที่ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้

    4) สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเขตฯ ชายแดน สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

     ปัจจัยสู่ความสำเร็จ : การบูรณาการการขับเคลื่อนระดับพื้นที่ (ภาครัฐ-เอกชน-ชุมชน-สถาบันการศึกษา) ต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน


เขียนโดย : น.ส.พรเพ็ญ  ขลิบนิล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : pornpen.k@mhesi.go.th