why-why  29

คำสำคัญ : การวิเคราะห์ปัญหา  

Why-Why Analysis เป็นเทคนิคการวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์อย่างเป็นระบบ มีขั้นมีตอน และมีการกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นอีก

วิธีการคิดของ Why-Why Analysis

            ในการแก้ปัญหานั้นจะเริ่มจากการวิเคราะห์ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาโดยการตั้งคำถามว่า “ทำไม” โดยตั้งคำถามไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ปัจจัยที่เป็นต้นตอของปัญหาในช่องสุดท้าย ซึ่งปัจจัยที่อยู่หลังสุด จะต้องเป็นปัจจัยที่สามารถพลิกกลับกลายเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพ (เป็นมาตรการป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำอีก) โดยก่อนการวิเคราะห์ปัญหา จะต้องไปตรวจสอบสถานที่และสภาพที่เกิดขึ้นจริงเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของปัญหาให้ถูกต้องชัดเจน พร้อมทั้งทำความเข้าใจในโครงสร้างและหน้าที่ของส่วนที่เป็นปัญหา จากนั้นจึงดำเนินการค้นหาสาเหตุโดยอาจใช้แนวทางการมองจากสภาพที่ควรจะเป็นหรือใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาอธิบาย

ข้อควรระวังในการทำ Why-Why Analysis

            - ข้อความที่ใช้เขียนตรงช่อง “ปัญหา”และช่อง “ทำไม” ต้องให้สั้นและกระชับ

            - หลังจากที่ทำ Why-Why Analysis แล้ว จะต้องยืนยันความถูกต้องตามหลักตรรกวิทยา โดยอ่านย้อนจาก “ทำไม”ช่องสุดท้ายกลับมายังช่อง “ปัญหา”

            - ถามว่า “ทำไม” ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบปัจจัยหรือสาเหตุที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่การวางมาตรการป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำอีก

            - ควรเขียนเฉพาะส่วนที่คิดว่าคลาดเคลื่อนไปจากสภาพปกติ (ผิดปกติ) เท่านั้น

            - หลีกเลี่ยงการค้นหาสาเหตุที่มาจากสภาพจิตใจของคน พยายามวิเคราะห์ไปทางด้านเครื่องจักรอุปกรณ์หรือวิธีการจัดการมากกว่า

            - อย่าใช้คำว่า “ไม่ดี”ในประโยคสำหรับช่อง “ทำไม”

อ้างอิง:

http://qd.swu.ac.th/Portals/2077/Why%20Why%20Anlysis.pdf?ver=2562-05-24-082545-380


เขียนโดย : เอสา  เวศกิจกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : asa.v@mhesi.go.th