เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
3591
ชื่อ
ซาลาเปาไส้ไข่เค็มลาวา ชม 395 ครั้ง
เจ้าของ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุสิดา หนูทอง
เมล์
dusida.t@psu.ac.th
รายละเอียด

ผลจากการดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ลำดับขั้นตอนการแช่เยือกแข็งและบรรจุ คือ

    1.1 นำซาลาเปาที่ผลิตได้มาบรรจุในบรรจุภัณฑ์แล้วนำไปแช่เยือกแข็ง

    1.2นำซาลาเปาที่ผลิตได้มาแช่เยือกแข็งแล้วจึงค่อยไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์

2.ชนิดพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุ

    2.1 ชนิด Polyethylene (PE) หรือถุงเย็น

    2.2ชนิด Nylon

3.ลักษณะการบรรจุระหว่างซีลปกติและแบบสุญญากาศ

    3.1 ซีลปกติ

    3.2ซีลสุญญากาศ

4.ลำดับขั้นตอนในการนึ่ง

    1.1 นำซาลาเปาที่ผ่านการแช่เยือกแข็งไปนึ่งเลยทันที

    1.2นำซาลาเปาที่ผ่านการแช่เยือกแข็งวางทิ้งไว้ 15 นาทีที่อุณหภูมิห้องแล้วจึงนำไปนึ่ง

ขณะนี้ระยะเวลาในการทดลองผ่านไป 2 สัปดาห์ พบว่าการใช้ถุง PE ที่ซีลปกติ มีแนวโน้มที่จะสามารถคงคุณภาพของซาลาเปาไส้ไข่เค็มลาวาได้ดีที่สุด โดยหลังการนึ่งพบว่าคุณลักษณะของซาลาเปาไส้ไข่เค็มลาวาไม่แตกต่างจากคุณลักษณะของซาลาเปาไส้ไข่เค็มลาวาที่ผ่านการผลิตใหม่ โดยลำดับขั้นตอนการแช่เยือกแข็งและบรรจุ และลำดับขั้นตอนในการนึ่งไม่ส่งผลต่อความยอมรับของผู้ทดสอบ แต่อย่างไรก็ดีผลการทดลองที่วางไว้จะเก็บรักษาให้ต่อเนื่องนานถึงหนึ่งเดือน ซึ่งยังคงต้องติดตามผลการทดลองต่อไป ส่วนในส่วนของการออกแบบโลโก้ใหม่ให้แก่ทางผู้ประกอบการ ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ โดยผู้ประกอบการยังคงมีแนวความคิดให้ยึดรูปแบบในส่วนของโลโก้เดิมเป็นหลัก

 

ซึ่งจากการทดลองข้างต้นทางผู้วิจัยจึงสรุปข้อเสนอในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์และการบรรจุเป็น การใช้ถุง nylon โดยบรรจุแบบสุญญากาศเนื่องจากถุง nylon สามารถป้องกันการซึมผ่านของอากาศและไอน้ำได้ดีกว่าถุง PE อีกทั้งการบรรจุแบบสุญญากาศจะช่วยลดปริมาณอากาศที่จะสัมผัสกับแป้งซาลาเปา และไส้ซึ่งมีปริมาณไขมันเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถรักษาคุณภาพของซาลาเปาไส้ลาวาไข่เค็มแช่เยือกแข็งได้ดีกว่าการบรรจุในลักษณะแบบซีลปกติในถุงชนิดต่างๆ

 

ส่วนในส่วนของการออกแบบโลโก้ใหม่และบรรจุภัณฑ์ให้แก่ทางผู้ประกอบการ ได้ดำเนินการมาถึงการแก้ ดราฟที่ 2แล้ว  โดยในการออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ จะดำเนินการปรึกษาผู้ประกอบการอีกครั้งเพื่อปรับปรุงและยืนยันการตัดสินใจจากผู้ประกอบการอีกครั้ง ก่อนการส่งผลิตสินค้าต้นแบบจริงเพื่อทดสอบตลาด ส่วนของอายุการเก็บรักษานั้น ถ้าดำเนินการแช่เยือกแข็งอย่างถูกต้องตามกระบวนการ โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส หลังการผลิตทันทีจะสามารถเก็บได้อย่างน้อยเป็นเวลา 6เดือนถึง 1ปี

คำสำคัญ
ซาลาเปลา  ลาวา  ซาลาดแ  
บันทึกโดย
นายธนทรัพย์  ลิ่มปะรังษี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th