เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
3499
ชื่อ
การทำธนาคารปูม้าแบบโรงเรือนบนฝั่ง ชม 379 ครั้ง
เจ้าของ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี
เมล์
samonsak@wu.ac.th
รายละเอียด

โครงสร้างธนาคารปูม้าแบบโรงเรือนชายฝั่ง ประกอบด้วย โรงเรือนที่มีหลังคาเพื่อช่วยป้องกันแสงและความร้อนในเวลากลางวัน ชุดธนาคารปูม้า 1 ชุด ประกอบด้วยถังฟักจำนวน 10 ใบ มีระบบท่อออกซิเจนที่แรงพอจะให้ไข่ในถังไม่ตกอยู่ที่ก้นถัง ใส่แม่ปู 1 ตัวต่อถัง และเติมน้ำ 20 ลิตร เพื่อให้ความหนาแน่นของไข่และตัวอ่อนปูม้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม ธนาคารปูม้าเป็นเครื่องมือสร้างความตระหนัก การเรียนรู้ เมื่อปูม้าฝักไข่สำเร็จ สามารถนำปูม้าไปจำหน่าย เพื่อสร้างกลไกความเข้มแข็งของชุมชน เงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายในการธนาคารปูม้า สามารถจัดสรรเป็นทุนการศึกษาของเด็กนักเรียนในพื้นที่ รวมทั้งธนาคารปูม้าแบบโรงเรือนบนฝั่งยังสามารถขยายผลต่อยอดเพิ่มรายได้ด้วยกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก BCG Economy เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ร้านอาหารชุมชน ธุรกิจแปรรูปของชุมชน เป็นต้น ธนาคารปูม้าแบบโรงเรือนบนฝั่งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะดำเนินการใน 2รูปแบบ คือ แบบปล่อยปูม้าระยะซูเอี้ย และแบบปล่อยลูกปูม้าระยะแรกหรือระยะลูกปูวัยอ่อนให้แก่ชุมชนชาวประมงผู้ประกอบการทางการประมงในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 81 ชุมชน
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ชุมชนต้นแบบ ธนาคารปูม้าบ้านในถุ้ง ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
หมายเลขโทรศัพท์ 0873822921

051052

คำสำคัญ
ธนาคารปูม้า  เทคโนโลยี  นวัตกรรม  
บันทึกโดย
น.ส.กนตวรรณ  อึ้งสกุล  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th