Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
Series ต่อเนื่อง เรื่อง Hydrogen Fuel 185
จากที่ได้เข้าไปอ่านในกระทู้เรื่อง "พลังงานไฮโดรเจนคืออะไร"
ที่พี่ตู่ จตุรงค์ ได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้ Link :http://www.clinictech.ops.go.th/online/cmo/blog_show.asp?blogid=272
หลังจากที่อ่านพบว่ามีความน่าสนใจหลายเรื่องตามมา เกี่ยวกับพลังงานไฮโดรเจน
สำหรับ Blog นี้ผมจึงจะขอแชร์จากการที่ผมได้ไปสืบค้นเพิ่มเติมมาครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ก่อนอื่นผมขอพูดถึง สถานะของพลังงานไฮโดรเจนในปัจจุบัน
พลังงานไฮโดรเจนไม่ใช่สิ่งใหม่แต่อย่างใด แต่ที่ได้รับความสนใจอีกครั้งหลังกระแสพลังงานสะอาดเมื่อไม่กี่ปีมานี้
ทำให้ทั้งโลกหันมาสนใจพลังงานทางเลือกต่างๆ มากขึ้น รวมไปถึงพลังงานจากไฮโดรเจนนั่นเอง
โดยปัจจัยที่ดูเหมือนว่าอนาคตของพลังงานชนิดนี้อาจจะสดใสได้เลยที่เดียว ผมขอแบ่งเป็นหัวข้อตามนี้ครับ
1. Market Gorwth ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดการว่าอุตสาหกรรมไฮโดรเจนจะมีมูลค่าถึง 5.7 billion ในปี 2031
หากคิดเป็นอัตราเติบโตทบต้น เท่ากับ 8.1% โดยเริ่มนับตั้งแต่ 2022-2031
2. Technology advancement ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด โดยมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน
และการลดต้นทุนในการผลิต ทั้งใน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Generator) และโดยเฉพาะแบตเตอรี่ไฮโดรเจน (Hydrogem Fuel Cell)
ที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ และกำลังเข้าสู่ระดับอุตสาหกรรมมากขึ้น
3. Policy Support ที่ในปัจุบันทั่วโลกให้การสนับสนุนพลังงานสะอาด โดยมุ่งเน้นไปที่ภาคคมนาคมขนส่ง ยกตัวอย่างเช่นในประเทศที่ถือว่ามีการขยับ
ผลักดันพลังงานไฮโดรเจนเป็นประเทศแรกๆ อย่างญี่ปุ่น ที่เริ่มมีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมพลังงานไฮโดรเจน ตั้งแต่ปี 2017
หรือไม่ว่าจะเป็นทาง สหภาพยุโรป EU ที่มีการกำหนดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานไฮโดรเจนให้ถึง 40 GW ในปี 2030 ที่จะถึงนี้
และยังมุ่งผลิตเชื้อเพลิง H2 ให้ได้ 10 ล้านตันต่อปี
4. Environmental Benefits อย่างที่ทุกคนทราบว่าพลังงาน H2 นั้นเป็นทางเลือกที่สามารถทำให้เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าสเรือนกระจกและเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ที่ทุกประเทศทั่วโลกยึดถือร่วมกัน H2 จึงเป็นทางเลือกที่ดูจะมี Potential สูงที่จะสามารถตอบโจทย์นั้นได้ดีเลยทีเดียว
5. การผลักดันในภาคอุตสาหรกรรม ยกตัวอย่างเช่น บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมยานยนต์อย่าง TOYOTA ยังกล่าวถึง H2 ว่าเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพ
ที่สามารถทดแทนยานยนต์ไฟฟ้า Li-ion ได้ อีกทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยยังมีการใช้พลังงานจาก H2 อย่างกว้างขวางแล้วในปัจจุบัน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กลับมามองในส่วนของประเทศไทย
บัจจุบันประเทศไทยมีการทดลองเปิดสถานีพลังงาน H2 เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ FCEVs หรือ Fuel Cell Electric Vehicle อย่างใน TOYOTA Mirai
โดย Prototype ดังกล่าว ถูกใช้เพื่อบริการ รับ-ส่ง ระหว่าง ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ถึง พัทยา
และในระดับของนโยบาย พลังงาน H2 ถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาพลังงานของไทย (Thailand's National Power Development plan : PDP)
กรอบระยะเวลา 15 ปี (2023-2037)
แหล่งอ้างอิง
The Future of Hydrogen – Analysis - IEA
Hydrogen Fuel Cell Market Size, Trends Analysis -2031 | Growth Forecast (alliedmarketresearch.com)
Green hydrogen: A guide to policy making (irena.org)
นายณัฐพล มหาไม้
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ขอบคุณน้องสำหรับการติดตามเรื่องที่พี่เคยลงไว้ ด้วยกระแสพลังงานสะอาดในปัจจุบันที่เริ่มมีการเปลี่ยนจากพลังงานน้ำมันเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงกันบ้างแล้ว แต่การพัฒนาก็ยังไม่หยุดยังคงมองหาพลังงานทดแทนอื่นๆมาใช้จนมาเจอพลังงานไฮโดรเจนซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่นกัน แต่ด้วยเป็นเทคโนโลยีใหม่ทำให่ต้นทุนยังมีราคาสูงอยู่อาจจะยังเห็นตัวอย่างการใช้งานน้อย แต่ก็มีการนำรถพลังงานไฮโดรเจนมาใช้จริงแล้วที่ไทย อาทิ toyota mirai