เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
ชื่อ
เครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew Nut Tesita Peeling Machinery)
ชม 6,643 ครั้ง
59
เจ้าของ
นายธวัชชัย ทิวาวรรณวงศ์
เมล์
-
รายละเอียด
คำอธิบายเทคโนโลยี
โครงการได้ดำเนินการศึกษาและทดสอบ คุณสมบัติเบื้องต้นของเมล็ดของเมล็ดในและเยื่อหุ้มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์พันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 ซึ่งโดยเฉลี่ยคือขนาดเมล็ด ( กว้างx ยาวxหนา ) 17.9x25.8x12.7 มม. ความหนาของเยื่อ 0.61 มม. ความชื้นของเมล็ดใน 4.74 % ( น้ำหนักเปียก ) อัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างเมล็ดในต่อเยื่อ 10.4 : 1 และความชื้นของเยื่อ 9-11 %
วิธีการเตรียมเมล็ดก่อนลอกเยื่อมีความสำคัญอย่างมากต่อผลการลอกเยื่อ
วิธีการเตรียมเมล็ดที่ให้ผลดีที่สุด คือ การแช่เมล็ดในสารละลายเกลือในอัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักระหว่างเกลือและน้ำ 1:1 เป็นเวลานาน 1 นาที และอบเมล็ดที่อุณหภูมิ 100 องศา เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง ตามด้วยการผึ่งเมล็ดเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง แล้วจึงนำเมล็ดไปลอกเยื่อ โดยเมื่อใช้ความดันลม 130 ปอนด์/ตร.นิ้วเป่าลอกเยื่อโดยใช้มือจับทีละเม็ด ได้อัตราการลอกเยื่อเฉลี่ย 1.269 กก/ชม. และเปอร์เซ็นต์เมล็ดประกบคู่เฉลี่ย 98.0 ผลของการทดสอบชุดเครื่องมือลอกเยื่อซึ่งใช้หัวฉีดที่มีรูขนาด 1.1 มม. จำนวน 4 รู ฉีดพ่นลมโดยใช้ความดัน 130 ปอนด์/นิ้ว เข้าไปในห้องเป่าลอกซึ่งทำด้วยท่อพลาสติกใสทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใน 38 มม. ความยาวของห้องเป่าลอก 220 มม. และใช้เมล็ดที่ผ่านการเตรียมที่ดีที่สุดดังที่แจงไว้ข้างต้น
พบว่า เมล็ดสามารถเคลื่อนไหวและพลิกตัวเองระหว่างการลอกเยื่อภายใต้การไหลอลวนของลมภายในห้องเป่าลอก การทดสอบนี้ให้อัตราการลอกเยื่อเฉลี่ย 1.67 กก/ชม. และเปอร์เซ็นต์เมล็ดประกอบคู่เฉี่ย 93.6 ซึ่งนับเป็นค่าที่สูงมากเมื่อเทียบกับผลการทดสอบชุดอื่นที่ผ่านมา และแสดงแนวโน้มที่ดีสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงชุดเครื่องมือดังกล่าวต่อไปให้เป็นเครื่องลอกเยื่อที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการใช้งานจริงในอุตสาหกรรม และสามรถเผยแพร่การใช้งานได้วงกว้างต่อไป
ที่อยู่ : ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร.(043)241-331-9 ต่อ 2148,2156
โครงการได้ดำเนินการศึกษาและทดสอบ คุณสมบัติเบื้องต้นของเมล็ดของเมล็ดในและเยื่อหุ้มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์พันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 ซึ่งโดยเฉลี่ยคือขนาดเมล็ด ( กว้างx ยาวxหนา ) 17.9x25.8x12.7 มม. ความหนาของเยื่อ 0.61 มม. ความชื้นของเมล็ดใน 4.74 % ( น้ำหนักเปียก ) อัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างเมล็ดในต่อเยื่อ 10.4 : 1 และความชื้นของเยื่อ 9-11 %
วิธีการเตรียมเมล็ดก่อนลอกเยื่อมีความสำคัญอย่างมากต่อผลการลอกเยื่อ
วิธีการเตรียมเมล็ดที่ให้ผลดีที่สุด คือ การแช่เมล็ดในสารละลายเกลือในอัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักระหว่างเกลือและน้ำ 1:1 เป็นเวลานาน 1 นาที และอบเมล็ดที่อุณหภูมิ 100 องศา เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง ตามด้วยการผึ่งเมล็ดเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง แล้วจึงนำเมล็ดไปลอกเยื่อ โดยเมื่อใช้ความดันลม 130 ปอนด์/ตร.นิ้วเป่าลอกเยื่อโดยใช้มือจับทีละเม็ด ได้อัตราการลอกเยื่อเฉลี่ย 1.269 กก/ชม. และเปอร์เซ็นต์เมล็ดประกบคู่เฉลี่ย 98.0 ผลของการทดสอบชุดเครื่องมือลอกเยื่อซึ่งใช้หัวฉีดที่มีรูขนาด 1.1 มม. จำนวน 4 รู ฉีดพ่นลมโดยใช้ความดัน 130 ปอนด์/นิ้ว เข้าไปในห้องเป่าลอกซึ่งทำด้วยท่อพลาสติกใสทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใน 38 มม. ความยาวของห้องเป่าลอก 220 มม. และใช้เมล็ดที่ผ่านการเตรียมที่ดีที่สุดดังที่แจงไว้ข้างต้น
พบว่า เมล็ดสามารถเคลื่อนไหวและพลิกตัวเองระหว่างการลอกเยื่อภายใต้การไหลอลวนของลมภายในห้องเป่าลอก การทดสอบนี้ให้อัตราการลอกเยื่อเฉลี่ย 1.67 กก/ชม. และเปอร์เซ็นต์เมล็ดประกอบคู่เฉี่ย 93.6 ซึ่งนับเป็นค่าที่สูงมากเมื่อเทียบกับผลการทดสอบชุดอื่นที่ผ่านมา และแสดงแนวโน้มที่ดีสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงชุดเครื่องมือดังกล่าวต่อไปให้เป็นเครื่องลอกเยื่อที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการใช้งานจริงในอุตสาหกรรม และสามรถเผยแพร่การใช้งานได้วงกว้างต่อไป
ที่อยู่ : ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร.(043)241-331-9 ต่อ 2148,2156
คำสำคัญ
บันทึกโดย