Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
การวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและการวางแนวทางการพัฒนา โครงการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจในระยะเริ่มต้น (University Business Incubator: UBI) ด้วยเทคนิค CIPPi Model + SWOT Analysis + Brainstorming + Focus g 386
การวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและการวางแนวทางการพัฒนางาน
“โครงการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจในระยะเริ่มต้น” (University Business Incubator: UBI)
ด้วยเทคนิค CIPPi Model + SWOT Analysis + Brainstorming + Focus group discussion) แนวทางในการพัฒนางานโครงการ UBI ด้วยเครื่องมือต่างๆ
จากการดำเนินงานโครงการ UBI ที่ผ่านมา พบว่ามีหลายโครงการของผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการ ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ของตัวชี้วัดต่างๆ เช่น ยอดขายและการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งน่าจะมีจุดร่วมในการดำเนินงานที่น่าจะสามารถนำมาการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จร่วมกัน พร้อมทั้งเป็นโอกาสอันดี
ในการที่จะเกิดการระดมสมองเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางที่สามารถพัฒนาแนวทางการดำเนินงานร่วมกันได้
ทาง สป.อว. ซึ่งถือเป็นจึงได้มีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน UBI ทั้งประธานเครือข่าย UBI ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะ เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยบ่มเพาะและผู้ประกอบการ
นักศึกษาที่เข้าร่วม โครงการ UBI เพื่อถอดบทเรียน สร้างการเรียนรู้ การสร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิดเพื่อต่อยอดและพัฒนาโครงการ UBI ให้สามารถเกิดประโยชน์และ
สร้างผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด โดยใช้หลักการและกระบวนการต่างๆ ที่เป็นทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและการวางแนวทางการพัฒนา
โครงการ UBIประกอบด้วย
Brainstorm คือ การระดมสมองร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดชุดความคิดใหม่ๆ โดยการเปิดกว้างอย่างอิสระในการเสนอความคิดเห็นของผู้เข้าร่วม Brainstorm ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด
ที่ดูเป็นไปไม่ได้ หรือดูแปลกไปจากความเป็นจริงก็ตาม หลังจากนั้นจึงนำชุดความคิดดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป
7 เทคนิค Brainstorming อย่างมีประสิทธิภาพ
1. Defer judgement — อย่าด่วนตัดสินคนอื่น โดยปล่อยให้การออกไอเดียไหลไปเรื่อยๆ ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าสามารถพูดทุกอย่างที่คิดได้ โดยไม่ขัดแย้งหรือตัดสินว่าดีหรือไม่ดี
2. Encourage wild ideas — สนับสนุนความคิดแปลกใหม่ เพื่อให้ทุกคนหลุดออกจากกรอบเดิมๆ ทำให้ได้ไอเดียใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีข้อจำกัด เพื่อให้หลุดจากกรอบความคิด
ตาม TOR ของโครงการ UBI ที่มีหลักการและแนวทางในการบ่มเพาะแบบเดิมที่อาจมีหลักการอื่นที่สนับสนุนต่อการพัฒนาการบ่มเพาะมากขึ้น ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
3. Build on the ideas of others — ต่อยอดไอเดีย การต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้วหรือการทำให้ดีกว่าเดิมในกระบวนการของโครงการ UBI ที่เคยดำเนินงานอยู่ แล้วให้ลองคิดดูว่าเราอยากจะเพิ่มอะไร
เข้าไป ในวงระดมสมอง พอได้เห็นไอเดียของเพื่อนๆ แล้ว เราก็สามารถต่อยอดให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ได้เหมือนกัน
4. Stay focused on the topic — อย่าหลุดประเด็น จากขั้นตอนในข้อ 3 อาจมีแนวคิดที่หลากหลาย แต่ก็ต้องโฟกัสอยู่กับโจทย์ที่อยู่ตรงหน้า จึงให้มีการกำหนดเป้าหมายที่กำลังจะไปถึงร่วมกัน
เพื่อให้ตอบโจทย์ปัญหาที่เรากำลังแก้ไข
5. One conversation at a time — คุยทีละเรื่อง เพื่อให้สามารถตกผลึกความคิดและให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนา ต่อยอดเรื่องเหล่านั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. Be visual — ทำให้เห็นภาพ
เพื่อให้เกิดแนวทางที่ชัดเจนในการให้ความเห็นและการแสดงผลการ Brainstorm ด้วยการใช้ post-it และปากกาหัวใหญ่ๆ คิดอะไรออกมาได้ก็เขียนหรือวาดรูปแล้วแปะไว้ให้ทุกคนได้เห็น
ไม่งั้นสิ่งที่คิดจะหลุดลอยไปในบทสนทนาหากเราไม่บันทึกมันไว้ ไม่ต้องกลัวว่าจะวาดรูปออกมาไม่ได้เรื่อง สิ่งที่สำคัญคือ ไอเดียต่างหาก
7. Go for quantity — เน้นปริมาณ
การ Brainstorm เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่หลายหลาย ควรมีการเสนอความคิดเห็นได้อย่างหลากหลาย ให้ได้ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ในปริมาณมาก แล้วทำการรวบรวมแนวความคิดเห็นต่างๆ
ที่เป็นเรื่องเดียวกันเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความเห็นที่หลากหลายและสามารถต่อยอดแนวความคิดนั้นสู่การปฏิบัติจริงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จากนั้นในที่ประชุมได้มีการนำเสนอแผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 5 โดยทีมของ สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ซึ่งเป็นกรอบทิศทางการส่งเสริม SME ของประเทศในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2566-2570
และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการ ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และได้มีการนำเสนอแนวทางการพัฒนาโครงการ UBI ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนเอกชน สถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยบ่มเพาะ และกลุ่มชุมชนต่างๆ ในภูมิภาคและการพัฒนา
โครงการด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้า/บริการ โดยทีมของ สำนักงานปลัดกระทรวง อว. เสนอหัวข้อในการแสดงความเห็น ดังนี้
- การส่งเสริมการเข้าสู่ตลาดโลก
- สนับสนุนการใช้ฐานข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ
- การค้าระหว่างประเทศ/พฤติกรรมผู้บริโภคของตลาด CLMV และแนวทางการเข้าสู่ตลาด
- การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
โดยสรุปผล ทีมของ สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ได้นำเสนอแผนการพัฒนาโครงการ UBI แผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 5 มีวิสัยทัศน์ให้ไทยมี SME ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพ และสามารถแข่งขันได้ด้วย 3 ประเด็นหลักในการส่งเสริม คือ
1) สร้างการเติบโตให้ครอบคลุม
2) สร้างการเติบโตแบบมุ่งเป้า และ
3) พัฒนาสภาพแวดล้อมให้สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ
โดยเฉพาะการสร้างการเติบโตให้ครอบคลุม มีกลยุทธ์ในการยกระดับให้ SME เข้าสู่การแข่งขันระดับโลก ด้วยการประยุกต์ใช้ BCG Model (Bio–Circular–Green Model) เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
โดย SME ในอุตสาหกรรม BCG ที่มีศักยภาพ ให้พัฒนาสู่มาตรฐานระดับสากล ส่งเสริมการรวมกลุ่มคลัสเตอร์นวัตกรรม SME ในกลุ่ม BCG อย่างครบวงจรและเชื่อมโยงสู่เครือข่ายในต่างประเทศ
และเน้นการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจ 3 กลุ่มสำคัญที่เป็นเป้าหมายแห่งอนาคตคือ
1. Digital
2. Green
3. Soft power
ข้อมูลเพิ่มเติมและไฟล์นำเสนอ
เนื้อหา
มีโอกาสได้ รวมงานกับผู้ประกอบการ UBI ในกิจกรรมขยายผลการตลาด และรู้สึกประทับใจเสมอค่ะพี่ฟ้า ได้เห็นถึงการความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่สร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ที่เราได้รับการสนับสนุนจากงาน UBI ของพี่ฟ้า มาร่วมกิจกรรม ในงานอีเว้นต่างๆ กับทาง ปค. และได้รับกระแสตอบรับจากนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเป็นอย่างดีเลยค่ะ และชอบที่สุดในเรื่องประเด็นการ Brain Storm หัวข้อที่บอกว่าอย่าหลุดประเด็นค่ะ อ่านแล้วรู้สึก ต้อง Focus ในประเด็นนั้นเพราะรู้สึกว่าเมื่อไหร่ที่มีการระดมแนวคิด ย่อมจะมาจากแนวคิดที่หลากหลาย แต่ก็ต้องโฟกัสอยู่กับโจทย์ที่อยู่ตรงหน้า เพื่อให้ตอบโจทย์ที่เราตั้งเป้าไว้ให้สำเร็จให้ได้ค่ะ