การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง ตาม ว 179 (กรณีหน่วยงานไม่มีภาชนะสำหรับเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง)  46

คำสำคัญ : น้ำมันเชื้อเพลิง  การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง  

ความรู้จากการปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค(กวจ) 0405.2/ว179

ลงวันที่ 9 เมษายน 2567

ที่มารูปภาพ : https://www.headlightmag.com/news-2016-7-15-aaa-confirms-benefit-of-premium-fuel/

สรุปเนื้อหาจาก หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 179 ลงวันที่ 9 เมษายน 2561 (ตามความเข้าใจของผม ผิดพลาดประการใดพี่ๆสามารถชี้แนะในคอมเม้นท์ได้เลยนะครับ) 

แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการปฏิบัติราชการตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ
แนบท้ายหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 179 ลงวันที่ 9 เมษายน 2561

1. ขอบเขตการบังคับใช้
1.1 แนวทางปฏิบัตินี้ ใช้บังคับสำหรับการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงของหน่วยงานของรัฐเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน โดยครอบคลุมรถราชการและยานพาหนะอย่างอื่น รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรกล ครุภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่หน่วยงานของรัฐมีไว้เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามภารกิจซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
1.2 น้ำมันเชื้อเพลิง หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
1.3 รถของหน่วยงานของรัฐ หมายถึง รถทุกประเภทของหน่วยงานของรัฐที่หน่วยงานของรัฐ มีไว้เพื่อใช้ประจำสำนักงาน หรือเพื่อปฏิบัติตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ
1.4 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หมายถึง สถานีบริการตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
1.5 ผู้จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง หมายถึง ผู้ดำเนินการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง


2. การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการปฏิบัติราชการตามภารกิจของหน่วยงาน
2.1 การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ข)
2.1.1 กรณีหน่วยงานไม่มีภาชนะสำหรับเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงโดยวิธีเฉพาะเจาะจงจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงใดก็ได้ โดยให้ดำเนินการ ดังนี้


1. จัดทำรายงานการขอซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง ตามระเบียบ พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง ปี 60 ข้อ 22 หรือรายงานข้อ 22 ที่เราคุ้นเคยกันดี ทำครั้งเดียวจนจ้างครบวงเงิน (ตลอดระยะเวลาการจัดซื้อ) การจัดซื้อ มีเงินใกล้จะครบวงเงินที่ขอ ค่อยทำรายงานฉบับใหม่


2. การดำเนินการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
2.1 กรณีซื้อกับร้านที่ผูกเครดิตแก่หน่วยงานของรัฐ
- ซื้อแต่ละครั้งให้เจ้าหน้าที่ลงนามในใบสั่งจ่ายน้ำมันโดยให้สถานบริการเป็นผู้จัดหาให้ กรณีไม่ทราบรายละเอียด ปริมาณ ราคา ให้เว้นไว้ก่อน
- ให้หัวหน้า เจ้าหน้าที่ ส่งมอบใบสั่งจ่ายน้ำมันฯ ส่วนหนึ่งให้แก่ผู้จัดซื้อน้ำมัน
- หลังการจัดซื้อน้ำมันให้ผู้จัดซื้อเขียนข้อความในรายการขาย (Sale slip) ที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงออกให้ว่า “ได้รับมอบน้ำมันเชื้อเพลิงตามรายการข้างต้นไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว” หรือข้อความในทำนองเดียวกัน พร้อมลงชื่อกำกับ และส่งมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อเก็บรักษาเป็นหลักฐานรวมกับใบสั่งจ่าย โดยให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับพัสดุ


2.2 กรณีจัดซื้อจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ให้เครดิตแก่หน่วยงานของรัฐ (ทางภาคเหนือ ใช้กรณีนี้อยู่ครับ)
หลังจากซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ให้ขอใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษี โดยผู้ซื้อเขียนเพียงข้อความในเอกสารดังกล่าวว่า “ได้รับมอบน้ำมันเชื้อเพลิงตามรายการข้างต้นไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว” หรือข้อความทำนองเดียวกัน พร้อมลงลายมือชื่อกำกับ และส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ โดยถือว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับ


3. การจัดทำทะเบียนคุมการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง
การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ (2) แต่ละครั้งให้เจ้าหน้าที่บันทึกรายการในทะเบียนควบคุมการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปโดยถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ ให้รายงานหัวหน้าของรัฐทราบทุก 3 เดือน

4. การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงโดยถือปฏิบัติ ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0405.2/ว 89 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และขั้นตอนการใช้บัตรเติมน้ำมันหน่วยงานของรัฐสามารถเลือกดำเนินการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตามหลักและขั้นตอนการใช้บัตรเติมน้ำ

ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0405.2/ว 89 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และขั้นตอนการใช้บัตรเติมน้ำมันรถราชการ ที่กระทรวงการคลังแจ้งเวียนได้ เนื่องจาก เห็นว่า การจัดซื้อน้ำมันฯ ตามหลักเกณฑ์บัตรเติมน้ำมัน (Fleet card) ช่วยให้รัฐมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส และการตรวจสอบ
 

: : : ตัวอย่างทะเบียนควบคุมการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง : : : 

ที่มารูปภาพ : https://finance.cdd.go.th/

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณพี่จตุรงณ์ สินแก้ว จากหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว. ระดับภาค ภาคใต้ สำหรับเอกสารตัวอย่างที่เกี่ยวข้องและการบุกเบิกการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงในครั้งนี้ครับ 

อ้างอิงข้อมูล :


https://finance.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/96/2018/10/ว-179-ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง.pdf


เขียนโดย : นายปรเมษฐ์  สีเขียวแก่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : paramed.s@mhesi.go.th

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่เราต้องได้ใช้ในการทำงานจริง กันเป็นประจำนะคะน้องอาร์ท พี่ว่ามันช่วยให้เราเติมน้ำมันรถยนต์ราชการได้อย่างสะดวกมากขึ้น ไม่ต้องพะวงว่าปั๊มนั้น จะผูก GF กับทางหน่วยงานราชการฯ แบบพวกเราไหม ข้อมูลนี้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้พี่ได้ดีมากๆ เลยค่ะ 

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล

ขอบคุณสำหรับข้อมูลประกอบการทำงานนะคะ เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปเบิกจ่ายในระบบราชการได้จริง 

เขียนโดย นางคัทลียา  สุเมฆะกุล

กรณีที่เราเติมน้ำมัน เช่น เราเติม Gasohol 95 กับ แบบ Premium ตัวที่เป็น Premium จะมีแรงกว่าปกติ ในระเบียบฯ บังคับไหมครับว่า เราต้องเติมน้ำมันปกติเท่านั้น หรือสามารถเติมได้ทุกเกรดน้ำมันเลย

เขียนโดย นายเรืองเดช  ฟักเถื่อน

ตามแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงฯ ตามหนังสือ กค. (กวจ) 0405.2/ว 179 

ระบุว่า น้ำมันเชื้อเพลิง หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงตาม พรบ. การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 

ซึ่งความหมายของน้ำมันเชื้อเพลิง ตาม พรบ. ดังกล่าว คือ "ก๊าซปิโตรเลียมเหลว นํ้ามันเบนซิน นํ ้ามันเชื ้อเพลิงสําหรับเครื่องบิน นํ้ามันก๊าด นํ้ามันดีเซล น้ำมันเตา นํ้ามันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิ โตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็ นเชื้อเพลิงหรือเป็ นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซ ธรรมชาติ นํ้ามันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็ นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็ นเชื ้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกําหนดให้เป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา"
 

ไม่ได้ระบุว่าเป็นน้ำมันเกรดไหนเป็นพิเศษ เลยคิดว่าเราสามารถเติมเป็นเกรดไหนก็ได้ แต่ต้องคำนึงตามความจำเป็น และเหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางราชการครับ

เขียนโดย นายปรเมษฐ์  สีเขียวแก่