เตยปาหนัน  249

คำสำคัญ : เตยปาหนัน  วิถีวิทย์  

ถิ่นกำเนิด : เตยปาหนันมีถิ่นกำเนิดทั่วคาบสมุทรในแถบเส้นศูนย์สูตร พบขึ้นเป็นกลุ่มตามชายหาด

ตั้งแต่หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม คาบสมุทรมลายู หมู่เกาะฮาวาย อินเดีย ออสเตรเลีย พอลินีเซีย

และวานูอาตู สำหรับประเทศไทย พบมากที่จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล

ลักษณะ : เตยปาหนันเป็นพืชตระกูลปาล์ม

ภูมิปัญญาการจักสานผลิตภัณฑ์เตยปาหนันบ้านดุหนุน จังหวัดตรัง

ป่าชุมชนบ้านดุหุน หมู่ที่ 3ตําบลบ่อหิน อําเภอสิเกา จังหวัดตรัง เป็นป่าชุมชนอีกผืนหนึ่งที่มีลักษณะสภาพพื้นที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นเตยปาหนัน ทําให้มีต้นเตยปาหนันขึ้นอยู่มากมายกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ คนพื้นที่ชุมชนบ้านดุหุนน ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาการจักสานเตยปาหนันมาจาก บรรพบุรุษด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มสตรีผู้สูงอายุที่อยู่กับบ้าน และกลุ่มสตรีที่เสร็จสิ้นภารกิจจากการกรีดยางตอนเช้า ได้ใช้เวลาว่างในช่วงบ่ายให้เกิดประโยชน์

โดยการนําใบเตยปาหนันมาแปรรูปจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมายหลายรูปแบบ นอกจากจักสานไว ใช้เองในครัวเรือน ก็มีการจักสานเพื่อจำหน่ายด้วย

วัสดุอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการจักสานเตยปาหนัน

1.ใบเตยปาหนัน สำหรับทำเส้นตอกจักสาน

 

2.เครื่องรีดใช้สำหรับรีดใบเตย และเส้นตอกเตยให้แบนเรียบและนิ่ม

3.ไม้กรีด (ย่าหงาด หรือเล็บแมว) สําหรับกรีดใบเตยดิบให้เป็นเส้นตอกตามขนาดที่ต้องการ

4.มีด ใช้สำหรับตัดหนามหลังของใบเตยดิบให้ เป็นสองซีก

5.กรรไกร ใช้สําหรับตัดเส้นตอกใบเตยให้ได้ความยาวตามขนาดที่ต้องการ หรือตัดเส้นใย

6.ไม้ขูด ใช้สำหรับขูดเส้นตอกขณะกำลังนั่งสานให้เรียบ

7.ไม้ทับ ใช้สำหรับเหยียบทับเส้นตอกขณะนั่งสานเป็นผืนเสื่อเพื่อให้ผืนเสื่อตรงและสานได้ง่าย

8.สีสำหรับย้อมเส้นตอกให้เป็นสีต่างๆ ตามต้องการ (ใช้สีสำหรับย้อมใยพืช)

9.เตาถานและกระทะ สำหรับต้มและย้อมสีเส้นตอกใบเตย

การทำใบเตยปาหนันให้เป็นเส้นตอกสำหรับสาน

1.เลือกตัดใบเตยปาหนันที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป นำมามัดให้เป็นกำตัดโคนใบและปลายใบให้เสมอกัน
2.นําใบมากรีดเอาหนามหลังใบออก ใบเตยจะแยกออกเป็นสองซีก
3.นำไปลนไฟให้ใบพอเริ่มเหี่ยว (ทำให้เส้นใย เหนียวเป็นมันเงา และช่วยป้องกันการเกิดเชื้อรา)

4.นำมากรีดด้วยไม้กรีด (ย่าหงาด หรือเล็บแมว) ตามขนาดที่ต้องการ (ใบเตย 1ใบ สามารถกรีดได้เส้นตอกประมาณ 4 - 6เส้น)

5.แยกหนามข้างใบและเส้นตอกเตยออกจากกัน จากนั้นนำเส้นตอกเตยมารีดอีกครั้ง

6.รวบรวมผูกเป็นกํามัดขนาดพอประมาณนําไปแช่ในนํ้าธรรมดา โดยใช้ของหนักกดทับให้ตอกเตยจมอยู่ใต้ น้ำ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 2คืน ตอกเตยจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวเหลือง

7.นําตอกเตยขึ้นจากนํ้า ล่างและผึ่งแดดให้แห้ง ประมาณ 1วัน จะได้เส้นตอกเตยที่ตากแดดแห้งแล้วเป็นสีขาวนวลธรรมชาติ มัดเป็นกําให้มีขนาดและความยาวเท่าๆ กัน เก็บไว้ในทที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก พร้อมที่จะนําไปใช้ในการจักสาน

ขั้นตอนการย้อมสี เส้นตอกเตย

1.นําสีเคมีที่ต้องการจะย้อมมาผสมกับนํ้าละลายในอัตราส่วนที่ต้องการสำหรับการย้อมใส่ในกระทะสำหรับย้อมสี นำกระทะไปตั้งไฟต้มให้น้ำเดือด

2.นําเส้นตอกเตยแห้งที่มัดเป็นกําไปแช่นํ้าให้เปียกทั่วทุกเส้น เพื่อชําระสิ่งสกปรก แล้วยกขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำพอหมาดๆ

3.นำลงไปแช่ในกระทะย้อมสี คนให้เส้นตอกเตยติดสีให้ทั่วทุกเส้น ประมาณ3 - 5นาที

4.นำไปล้างด้วยน้ำเย็น 2 - 3ครั้ง หรือจนกว่าน้ำที่ล้างจะใสสะอาด จากนั้นนำไปผึ่งแดดให้ แห้ง ประมาณ 1วัน เก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก เตรียมพร้อมที่จะนำไปจักสานเป็นรูปแบบต่างๆ

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ จักสานเตยปาหนันบ้านดุหนุน ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง

ที่มา : เตยปาหนัน / สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้


เขียนโดย : น.ส.ปุณชยา  บัณฑิตกุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : puny13@hotmail.com

สุดยอดเลยค่ะพี่ปุน เคยเห็นแต่ผลิตภัณฑ์ตอนที่พัฒนาออกมาเป็นกระเป๋าสานกระเป๋าเอกสารที่นำมาร่วมจัดแสดงและจัดจำหน่ายในงานอีเว้นท์ที่เรามาจัดด้วยกัน ได้เห็นตั้งแต่ตอนเป็นต้นสดๆ แบบนี้ ทำให้เห็นภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นอีกเยอะเลยค่ะพี่ปุน ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่นำมาแลกเปลียนกันนะคะ

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล

เหมือนช่วงหลังๆ จะเป็นผลิตภัณฑ์จากกระจูดซะส่วนใหญ่เนอะ ที่เข้าร่วมโครงการฯ พอเห็นเรื่องเตยปาหนัน ทำให้นึกขึ้นได้ว่ายังมีผลิตภัณฑ์จักสานจากพืชชนิดอื่นอีก และยิ่งมาเห็นกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนถึงเป็นผลิตภัณฑ์ ทำให้ได้รับรู้ข้อมูลดีๆ และเป็นเรื่องที่ใกล้เคียงกับการทำงานด้วย มีประโยชน์มากๆค่ะ

เขียนโดย อัญชลี  งอยผาลา