Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
ผ้าทออีสาน ปี2565 306
สป.อว. ได้สนับสนุนงบประมาณในปี พ.ศ.2565 ให้สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (สสท.) ในการดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับผู้ประกอบการประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปี 2565 เพื่อเป็นช่องทางในการนำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และองค์ ความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการในการเพิ่มมูลค่าและยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ รวมทั้งสามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพนวัตวักรรมผลิตลิภัณฑ์ชุมชน
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบการประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย เพื่อการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้มีนวัตกรรมเทคโนโลยีผสมการออกแบบเชิงสร้างสรรค์บนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ยกระดับ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP กระตุ้นผู้ประกอบในการผสานภูมิปัญญาและนวัตกรรมในการสร้างความแตกต่างและสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับสินสิ ค้า ด้วยแนวคิด BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว) เป็นแนวคิดหลักที่จะนำ มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยอาศัยข้อได้เปรียบที่ไทย มีความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสู่การแข่งขัน พร้อมกับการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชุ ชนประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ได้แก่ การใช้วัสดุรีไซเคิล ที่เป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ การแปรรูปขยะให้ได้ประโยชน์สูงสุด นวัตกรรมที่ช่วยลดขั้นตอน ในกระบวนการย้อมสี การใช้สารเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ได้ถ่ายทอด
สู่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จะมุ่งเน้นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมที่ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นภูมิปัญญา ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการออกแบบที่ตรงกลุ่มผู้บริโภค พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
โครงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้ก่อให้เกิดผลผลิตของโครงการ ดังนี้ 1) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์
ชุมชน ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการเพิ่มมูลค่า และยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน โดยยังคงความเป็นเอกลักษณ์ มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายและร่วมสมัย
จำนวน 18 ผลิตภัณฑ์ 2) วิสาหกิจชุมชนหรือผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพและทักษะในการประกอบกิจการ จำนวน 18 สถานประกอบการ 3) เกิดช่องทางการตลาดและเผยแพร่ผลงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา ทั้งทางการจำ หน่ายผ่านบูธในงานต่างๆ และผ่านทางออนไลน์อีก จำ นวน 2 ช่องทาง 4) สถานประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการเข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
โครงการนี้จึงก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน สร้างมูลค่า การออกแบบอย่างสร้างสรรค์
มีนวัตกรรมเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในเรื่องการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ สร้างช่องทางการตลาดในการพบปะคู่ค้าที่เพิ่มขึ้นทั้งยังเป็นการตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมผลักดันให้ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมผ้าทออีสานและแฟชั่นอย่างยั่งยืนต่อไป
รูปเล่มผ้าทออีสานปี2565 ตาม link ด้านล่างนี้ค่ะ
https://drive.google.com/file/d/1HVN1OvaFaixjWCmJD1MAlRt5MlhdL2AU/view?usp=sharing
ชอบโครงการนี้มากๆ เลยค่ะ แล้วก็ ทางเหนือเองก็ได้รับความช่วยเหลือจากพี่ๆ ในการประสานพาผู้ประกอบการจากโครงการนวัตกรรมผ้าทออีสาน มาร่วมงานแล้วได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาตลอดเลยค่ะจากผู้เยี่ยมชมงาน
ทั้ง ที่จริงใจมาร์เก็ต เมื่อปี 2566 แล้วต่อเนื่องมายังปี 2567 ผู้ประกอบการจากโครงการนวัตกรรมผ้าทออีสาน มางานแล้วขายดี และมีการติดต่อทางธุรกิจจากในงานฯ เพื่อขอซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอ จากในงานเพื่อไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ของผู้ประกอบการทางเหนือ เห็นแล้วดีใจและรู้สึกขอบคุณโครงการดีๆ นี้มากๆ เลยค่ะพี่มน
ชอบโครงการนี้มากๆเลยครับ เคยมีโอกาสได้ไปติดตามและสังเกตการณ์ตอนที่มีโครงการในพื้นที่ภาคเหนือ ผู้ประกอบการตั้งใจเรียน และอาจารย์ กับ วิทยากร สนุกกับการให้ความรู้มากครับ และชิ้นงานที่ออกมาสามารถนำไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดีครับ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการมากครับ :)
โครงการฯ จะประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องอาศัยการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานทั้งภานในและภายนอก โดยเฉพาะหน่วยงานในพื้นที่ที่นอกจากจะช่วยประสานงานต่างๆ แล้ว ยังมีบทบาทในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายและเสนอความเห็นต่างๆ ทั้งนี้ หากมีกิจกรรม/โครงการ ที่เป็นประโยชน์หรือสามารถมาร่วมบูรณาการกันได้ ก็ยินดีมากๆค่ะ และขอบคุณหน่วยงานภาคที่คอยสนับสนุนทั้งในเรื่องการประสานงานและข้อมูลต่างๆ หวังว่าจะได้รับความร่วมมือดีๆแบบนี้ต่อไปนะคะ
การส่งเสริมให้กลุ่มสามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆเลยครับ
ผลิตภัณฑืแบบนี้มี demand เยอะมาก มาช่วยกันส่งเสริมให้กลุ่มสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องกันครับ