ทำความรู้จักเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ เบื้องต้น (EP1)  65

คำสำคัญ : มาตรฐาน  คุณภาพ  ผลิตภัณฑ์  

เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เป็นสิ่งสำคัญ เพราะปัจจุบันมีสินค้ามากมายหลายชนิดในท้องตลาด สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าก็คือเครื่องหมายการรับรอง ผู้บริโภคจะเกิดความเชื่อมั่นในการเลือกซื้อสินค้านั้นๆ และแบรนด์เองก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้จากเครื่องหมายรับรองมาตรฐานนี่เอง และการที่สินค้าจะได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานนั้น ตัวผู้ผลิตเอง จะต้องผลิตสินค้าให้ผ่านเกณฑ์ต่างๆเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสากล ประเทศไทยของเรามีการจัดตั้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 โดยมีหน้าที่ดำเนินงานให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน เรามาดูกันดีกว่าว่าเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสำหรับมาตรฐานการผลิตที่เป็นที่ยอมรับในประเทศไทย นั้นมีอะไรบ้าง

1. เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณอุตสหกรรม (มอก.)

เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือที่เราอาจจะคุ้นกับชื่อย่อ มอก. สำหรับเครื่องหมาย มอก. ผลิตภัณฑ์ต่างๆจะได้รับเครื่องหมายนี้เมื่อผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ว่ามีผลิตภัณฑ์มีคุณภาพว่ามีผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กำหนดมีความปลอดภัยสำหรับการใช้อุปโภค และบริโภค มีประสิทธิภาพคุณภาพสำหรับการใช้งานตามประเภทของผลิตภัณฑ์นั้นๆ โดยมาตรฐานการผลิตนี้จะมีการกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ผลิตในการผลิตสินค้าที่ตรงตามมาตรฐาน เช่นจำนวนการผลิต คุณภาพของวัตถุที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต หรือการบรรจุหีบห่อ

 

2. การรับรองมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice Codex Alimentarius)

เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

 

GMP คือหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี ตามมาตรฐานสากล โดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ Codex Alimentarius ที่มีการกำหนดขึ้นเพื่อให้การผลิตอาหารนั้นสะอาด ปลอดภัย มีคุณภาพ โดยเน้นไปที่เรื่องของการขจัดความเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลเสียต่อผู้บริโภค โดยการรับรองมาตรฐาน GMP นั้นได้รับการรับความมั่นใจจากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารจากทั่วโลกแล้วว่าเป็นกระบวนการที่ทำให้การผลิตอาหารนั้นสะอาด ปลอดภัย มีคุณภาพจริง เป็นข้อกําหนดขั้นตํ่าที่แต่ละโรงงานจะต้องต้องดําเนินการเพื่อให้ได้อาหารที่เหมาะสมสําหรับ โดยเป็นการจัดการด้านความพร้อมของสภาวะแวดล้อมในกระบวนการผลิต เช่น สุขลักษณะส่วนบุคคล การควบคุมแมลงและสัตว์นําโรค การทําความสะอาดสถานที่ผลิต เครื่องจักร และอุปกรณ์ การควบคุมนํ้าใช้ในโรงงาน การควบคุมสารเคมี เป็นต้น

 

3. การรับรองมาตรฐาน HACCP

เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

 

 

HACCP คือระบบการวิเคราห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (Hazard Analysis and Critical Control Point) ตามมาตรฐานสากล โดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ Codex Alimentarius ถือเป็นระบบมาตรฐานที่จะเป็นหลักประกันให้กับผู้บริโภคว่ามีการควบคุมกระบวนการผลิตให้เป็นไปอย่างปลอดภัย ไม่มีสาร หรือสิ่งปนเปื้อนที่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคปนเปื้อนไปในสินค้า โดยจะมีการตรวจสอบโรงงาน กระบวนการผลิตเพื่อให้ผ่านการรับรอง เพื่อจัดการคุณภาพด้านความปลอดภัย ซึ่งใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้อาหารที่ปราศจากอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี และสิ่งปลอมปนทางกายภาพ อย่างเช่น เศษแก้ว หรือ โลหะ โดย HACCP ถือเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้สร้างความมั่นใจในอุตสาหกรรมอาหารทั้งโดยผู้ผลิต และผู้บริโภค และได้รับการยอมรับอย่างมากปัจจุบัน

 

4. เครื่องหมายมาตรฐาน Q

เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

 

สำหรับสินค้าทางการเกษตร เครื่องหมายที่สามารถรังรองมาตรฐานได้ก็คือเครื่องหมายมาตรฐาน Q นี่เอง โดยเป็นเครื่องหมายที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาการแห่งชาติ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ โดยการจะได้เครื่องหมาย Q มานั้น ทางผู้ผลิตจะต้องผ่านมาตรฐานตามการรับรองอื่นๆมาก่อน อย่างเช่น การปฏิบัติตามาตรฐานทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice ; GAP) การรับรองมาตรฐาน GMP และ HACCP โดยสินค้าจะได้รับการตรวจสอบคุณภาพอย่างเคร่งครัด โดยจะมีการตรวจสอบสารปนเปื้อนทั้งทางกายภาพ และชีวภาพ เช่นสารพิษตกค้าง สารปนเปื้น หรือสิ่งอันตรายอื่นๆที่จะส่งผลเสียต่อผู้บริโภค จะเห็นได้ว่าสินค้าทางการเกษตรที่จะผ่านมาตรฐาน และได้รับเครื่องหมาย Q ได้นั้นจะได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดเลยทีเดียว

 

5. เครื่องหมายอาหารและยา

เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

 

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา Food and Drugs Administration สังกัดกระทรวงสาธารณสุข องค์กรที่จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฏหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยใช้ชื่อย่อที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในการรับรอง นั่นก็คือ อย. โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพในที่นี้ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็น ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เครื่องสำอาง ยา อาหารเสริมต่างๆ รวมถึงอาหาร โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพ มีมาตรฐาน และปลอดภัย เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่น่าเชื่อถือ และมีความเหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภค ได้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย มีการปนเปื้นสารอันตรายต่างๆ

 

6. เครื่องหมายมาตรฐานไอเอสโอ

เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

 

 

ISO คือมาตรฐานสากลที่เกี่ยวกับระบบการจัดการคุณภาพ ชื่อเต็มของ ISO คือ International Standardization and Organization หรือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน โดยเน้นไปที่การจัดการในระบบการบริหาร วัตถุประสงค์หลักของ ISO ก็คือการส่งเสริมความร่วมมือในการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต และขจัดข้อโต้แย้งทางการค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงการให้ความร่วมมือในการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ดังนั้นเครื่องหมาย ISO จึงเป็นการยอมรับในระดับสากล

 

7. เครื่องหมายมาตรฐานอาหารฮาลาล

เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

เครื่องหมายฮาลาล คือเครื่องหมายที่ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (The Central Islamic Committee of Thailand) เครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ อนุญาตให้ผู้ผลิตนำมาประทับลงบนผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการรับรองให้กับผู้นับถือศาสนาอิสลาม เพื่อให้สามารถอุปโภค บริโภคสินค้านั้นๆได้อย่างสบายใจ

**ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากwebsite : 

https://www.revomed.co.th/knowledge/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90/


เขียนโดย : น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ketsarat.w@mhesi.go.th

เคยเห็นแต่เครื่องหมายอาหารและยา และ เครื่องหมายมาตรฐานอาหารฮาลาล และเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 

นอกนั้นก็มาได้รับความรู้จาก blog น้องเกศ แหละค่ะ 

เขียนโดย นางพงศ์ภรณ์  วิลเฮลมี