Knowledge Sharing ชุมชนแห่งการเรียนรู้...
carbon credit มีความสำคัญอย่างไร 172
คาร์บอนเครดิต คือ จำนวนคาร์บอนที่หนึ่งบริษัทสามารถปล่อยออกสู่อากาศต่อปี โดยมีจำนวนจำกัด และโดนบังคับ ให้น้อยลงทุกที หากปล่อยคาร์บอนาน้อยกว่าเกณฑ์ก็สามารถนำส่วนต่าง (คาร์บอนเครดิต) ไปขายให้กับบริษัทอื่นได้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็น การนำไปปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินงานไปรายงาน การนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล งานบริการ หรือจากการผลิตผลิตภัณฑ์ ต่างๆ
ซึ่งคาร์บอนเครดิตเป็นไอเดียที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมคำนึงถึงมลพิษ และ ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาและให้ตั้งเป้าในการลดคาร์บอนทุกปี แต่ยังคงปลูกฝังจิตสำนึกและสามารถพัฒนาบริษัทตนเองให้ใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนได้อีกดัวย
หากมองในทางกลไกของตลาดแล้ว บริษัทที่ไม่ปรับตัวก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ถ้าหากปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินเกณฑ์ ในทางกลับกัน หากบริษัทไหนปรับตัวได้ดีก็สามารถนำคาร์บอนเครดิตไปขายให้กับบริษัทที่ต้องการได้อีกด้วย
ราคาคาร์บอนเครดิตในปี 2564เฉลี่ยอยู่ที่ 22.55บาท/ตัน ซึ่งราคาและจำนวนจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ประเภทของกิจกรรมที่ช่วยลดมลพิษนั้นได้ผลดีขนาดไหน หรือจะเป็นราคาในตลาดที่มีการแข่งขันกัน
หากอ้างอิงจากข้อมูลจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในปี 2563มีการซื้อขายคาร์บอนกันถึง 170,000ตันเลยทีเดียว ซึ่งข้อมูลนี้สามารถตีความได้ว่า ตลาดคาร์บอนในเมืองไทยกำลังเติบโต และหลายๆ บริษัทเริ่มตระหนักถึงภาวะโลกร้อนที่พวกเราทุกคนต้องร่วมมือกันรับผิดชอบ
โดยคาร์บอนเครดิตมีหลายประเภทตามกลไกลดก๊าซเรือนกระจกที่ดำเนินการ ยกตัวอย่างเช่น คาร์บอนเครดิตจากกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ที่ใช้ซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศพัฒนาแล้วที่มีพันธกรณีต้องลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารเกียวโตกับประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาที่ดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไก CDM คาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER ที่ TGO ให้การรับรอง เป็นต้น
ที่มา : https://www.warehousechod.com/th/news/detail?d=qQScAKtk
ได้ความรู้ยิ่งขึ้นเลยครับ ทั้งนี้การใช้งานคาร์บอนเครดิต จะถูกรับรองโดยการขอ ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (RECs)
สำหรับการนำไปชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
ปัจจุบัน ยังเกิดความสับสนในเรื่องการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Offsets) โดยใช้คาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ กับ Renewable Energy Certificates (RECs) อยู่เป็นวงกว้าง อย่างไรก็ตาม แนวทางทั้งสองจะมีต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ องค์กรที่ต้องการจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีทางเลือกที่จะลดผลกระทบที่หลากหลายกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม เช่น มาตรการประหยัดพลังงาน มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน รวมถึงการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งหากทราบถึงความแตกต่างดังกล่าวจะเป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจว่าทางเลือกทั้งสองสิ่งมีประโยชน์ต่อองค์กรของท่านอย่างไร
“คาร์บอนเครดิต”
คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกหรือมาตรฐานการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น CDM, T-VER, VCS, GS โดยมีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) และสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินงานไปรายงานหรือเปิดเผยข้อมูล การนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล งานบริการ หรือจากการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ
“ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน” (REC)
คือ กลไกที่ช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ด้วยการรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของกลไก ช่วยสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนผ่านการซื้อและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีหน่วยการซื้อขายคือ REC ซึ่งคำนวณจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจริง (ไฟฟ้า 1 MWh มีค่าเท่ากับ 1 REC)
โดยการใช้งานคาร์บอนเครดิตเป็นไปในเป้าหมายของการอ้างสิทธิ์การลด/ดูดซับ ก๊าซเรือนกระจก หรือ สนับสนุนให้เกิดการลด/ ดูดซับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการซื้อคาร์บอนเครดิตจะทำให้องค์กรสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตนเอง และสามารถทำการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ “คาร์บอนนิวทรัล” ได้
ขณะที่ การใช้งาน ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนเป็นไปในเป้าหมายของการอ้างสิทธิ์ในการใช้พลังงานหมุนเวียน หรือ สนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งหากพิจารณาจากการคำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร จะจัดอยู่ใน SCOPE II: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) โดยจำนวน RECs ที่ซื้อมานั้นจะเป็นการลดข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) ในแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าเท่านั้น และสามารถอ้างสิทธิ์ในการใช้พลังงานหมุนเวียน ทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง (Conventional Grid) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นองค์การที่ใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมด หรือ RE100 ได้
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าแม้ว่าการใช้คาร์บอนเครดิต และ ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนจะเป็นทางเลือกในการลดก๊าซเรือนกระจก หรือ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในองค์กร และช่วยให้องค์กรสามารถไปสู่เป้าหมายด้านการบริหาร แต่กลไกการทำงานกลับแตกต่างกัน และการใช้งานก็แตกต่างกันไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้เลือกวิธีการตั้งเป้าหมายไว้