เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
2524
ชื่อ
การเพาะเมล็ดกล้วยไม้ป่าบางชนิดของไทย ชม 316 ครั้ง
เจ้าของ
นายทัศนัย ปัญจันทร์สิงห์
เมล์
science.udru@udru.ac.th
รายละเอียด

1. ความสมบูรณ์ของฝักกล้วยไม้ ฝักกล้วยไม้ที่สมบูรณ์ เกิดจากการผสมพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ที่แข็งแรงเป็นต้นพันธุ์ที่มีลักษณะดี เพื่อให้ลูกผสมกล้วยไม้ที่เกิดขึ้นมีพันธุกรรมที่ดีตามไปด้วย เมื่อดอกกล้วยไม้ได้รับการผสมพันธุ์ก็จะติดฝักที่ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ฝักกล้วยไม้ที่เหมาะสมต่อการนำไปเพาะเลี้ยงควรมีอายุอย่างน้อย 2 ใน 3 ของความแก่เต็มที่ของกล้วยไม้แต่ละชนิดนั้นๆ

2. การฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อราและแบคทีเรียทุกชนิดต้องถูกกำจัดมิให้เกิดการปนเปื้อนในขั้นตอนใดๆ ขณะที่เพาะเลี้ยงเมล็ดกล้วยไม้ วัสดุอุปกรณ์ อาหารเพาะเลี้ยง จะต้องถูกนึ่งฆ่าเชื้อตามวิธีการ การปฏิบัติงานใดๆ

3. การเพาะเลี้ยงเมล็ด เมล็ดกล้วยไม้จะถูกโรยบางๆ บนผิวอาหารเพาะเลี้ยง เมื่อเอ็มบริโอที่อยู่ภายในเมล็ดได้รับความชื้นและสารอาหารที่ซึมผ่านเปลือกหุ้มเมล็ดเข้ามา ก็จะเกิดการงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นกล้วยไม้ สำหรับเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ก็จะมีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำหรืองอกแต่เจริญเติบโตเป็นต้นที่อ่อนแอผิดปกติ ดังนั้น ต้นพันธุ์เหล่านี้ต้องคอยคัดทิ้ง ไม่นำมาเพาะเลี้ยง
     3.1 ระยะเมล็ดเริ่มงอก ระยะนี้สังเกตเมล็ดเป็นก้อนกลมๆ สีเขียว มีปลายแหลมของยอดกล้วยไม้อาจมีใบอ่อนเล็กๆ ปรากฏให้เห็น ระยะนี้ใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงประมาณ 3 เดือน
     3.2 ระยะเกลี่ยต้นอ่อน เป็นระยะที่ต้นอ่อนกล้วยไม้ถูกนำมาเกลี่ยกระจายบางๆ บนผิวอาหารขวดใหม่ เมื่อกล้วยไม้ได้รับสารอาหารใหม่ก็จะเริ่มพัฒนาโครงสร้างต้นและใบอ่อนเพิ่มขึ้น ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน
     3.3 ระยะชักนำราก เป็นระยะที่ต้องคัดแยกต้นกล้วยไม้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ขนาดต้นใหญ่สุด ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ขนาดใหญ่และขนาดกลางให้นำมาปักเรียงเป็นแถว เรียงเดี่ยวเว้นระยะเล็กน้อยในอาหารขวดใหม่รอให้เกิดระบบรากเพื่อนำไปอนุบาลในสภาพธรรมชาติต่อไป ระยะนี้ใช้เวลาอีกประมาณ 3 เดือน

4. สูตรอาหาร อาหารสูตร Vacin และ Went (1949) เป็นอาหารเพาะเลี้ยงกล้วยไม้สูตรที่ได้รับความนิยม อาหารสูตรนี้ประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่เหมาะสม มีน้ำตาลเป็นสารให้พลังงาน น้ำมะพร้าวอ่อน กล้วยหอม และมันฝรั่งบด ซึ่งมีสารที่มีประโยชน์หลายชนิด รวมทั้งมีฮอร์โมนพืชที่ช่วยกระตุ้นการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ เราสามารถใช้อาหารเพาะเลี้ยงสูตรนี้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ได้ทุกระยะการเจริญเติบโต

5. สภาพการดูแล
     5.1 อุณหภูมิ เมล็ดกล้วยไม้ส่วนใหญ่งอกและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส แต่กล้วยไม้บางชนิดที่เจริญเติบโตอยู่ในเขตหนาวอุณหภูมิต่ำ บางท่านอาจเรียกว่า ไม้เย็น กล้วยไม้เหล่านี้อาจจำเป็นต้องเพาะเมล็ดในสภาพอุณหภูมิต่ำ
     5.2 สภาพแสง เมล็ดกล้วยไม้ที่สมบูรณ์สามารถงอกได้ดีเมื่อเพาะเลี้ยงภายใต้แสงสังเคราะห์จากหลอดไฟฟ้าหรือภายใต้สภาพแสงธรรมชาติแบบรำไร แต่มีกล้วยไม้บางชนิด เช่น สกุลรองเท้านารี ต้องการสภาพมืดเพื่อการงอกของเมล็ดและเมื่อเจริญเติบโตมีใบ 1 ถึง 2 ใบแล้ว จึงค่อยย้ายออกรับแสงอ่อนๆ ได้ต่อไป

 

คำสำคัญ
การเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อ    กล้วยไม้  
บันทึกโดย
นายนนทวัฒน์  บัวทองหลาง  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th