Big Data คืออะไร?  36

คำสำคัญ : เทคโนโลยี  นวัตกรรม  

Big Data คือข้อมูลที่มีปริมาณที่ใหญ่มากโดยที่ซอฟท์แวร์รุ่นเก่าไม่สามารถประมวลผลได้ หรือสามารถประมวลผลได้แต่ใช้เวลานาน โดย Big Data จะมีทั้งข้อมูลที่มีโครงสร้าง กึ่งมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ขนาดของ Big Data ก็จะมีการเพิ่มขนาดของข้อมูลขึ้นไปเรื่อย ๆ จากปัจจุบันที่มีขนาดข้อมูลหลายพัน Terabytes ก็จะมีการเพิ่มขนาดเป็น Zettabytes

ลักษณะสำคัญของ Big Data

1)ปริมาณ (Volume)

คือ ปริมาณข้อมูลที่สามารถผลิตและจัดเก็บไว้ได้จะต้องมีขนาดที่ใหญ่มากเพียงพอ ซึ่งปริมาณของข้อมูลจะเป็นข้อบ่งบอกได้ถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของข้อมูลภายในนั้น และสามารถนำไปพิจารณาต่อได้ว่าข้อมูลที่มีอยู่เหล่านั้น ถือเป็น Big Data หรือไม่

2)ความหลากหลาย (Variety)

คือ ความหลากหลายของประเภทของข้อมูล โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อยอดได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ, รูปภาพ, ข้อมูลเสียงที่ถูกบันทึกไว้, วีดีโอหรือไฟล์ประเภทอื่นจากหลากหลายแหล่งที่มา ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Big Data ได้

ซึ่งจะเป็นข้อมูลจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นการเงิน ฝ่ายขาย การตลาด ลูกค้าสัมพันธ์ บัญชี รวมถึงตัวหนังสือที่อาจเป็นบทสนทนาระหว่างแผนก หรือระหว่างบริษัท ซึ่งอาจเป็นข้อความจาก Social Media รวมถึง URLs ที่มีข้อมูลเข้ามาอยู่ในทุกวัน

3)ความเร็ว (Velocity)

คือ ความเร็วในการประมวลผลและผลิตข้อมูลขึ้นมาเพื่อให้ทันกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่ง Big Data คือข้อมูลที่ได้มาแบบ Real-Time และประมวลผลอยู่ตลอดเวลา แตกต่างจาก Small Data ที่ไม่สามารถทำได้

Big Data จะมีความถี่ในการประมวลผลที่มากกว่า การบันทึกข้อมูลที่มากกว่า และเผยแพร่ข้อมูลที่มากกว่า ข้อมูลของ Big Data ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลตัวอักษรการสนทนา ข้อมูลการบันทึกเสียง ข้อมูลการถ่ายภาพวีดีโอ ข้อมูลอัตราการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลโปรโมชั่นต่างๆ

4) คุณภาพของข้อมูล (Veracity)

คือ คุณภาพของข้อมูลที่สามารถนำไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปได้อีก เป็นข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบซึ่งสามารถนำไปประมวลผลต่อไปได้ และเป็นข้อมูลที่มาจากหลากหลายแหล่งไม่ว่าจะเป็น Facebook, YouTube, Twitter ซึ่งข้อมูลจากแหล่งเหล่านี้ยากที่จะสามารถควบคุมคุณภาพรวมถึงการคัดกรองข้อมูล และความน่าเชื่อถือของข้อมูล จึงต้องนำข้อมูลเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการทำ Data Cleansing

5)คุณค่าของข้อมูล (Value)

การมีข้อมูลจำนวนมากแต่ไม่มีค่านั้นไม่ดีต่อบริษัท เว้นแต่คุณจะเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ข้อมูลในตัวมันเองไม่มีประโยชน์หรือมีความสำคัญ แต่หากเรานำมาแปลงหรือวิเคราะข้อมูลเพื่อนำ insight ออกมาจากข้อมูล ข้อมูล Big Data ก็จะสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับองค์กรของคุณได้

Big Data Analytic

            ทำให้มีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งผ่านการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยระดับของการวิเคราะห์ก็เป็นได้หลากหลายแล้วแต่รูปแบบการนำไปใช้งาน

1) Descriptive Analytics เป็นการวิเคราะห์ในระดับที่บอกว่าเกิดอะไรขึ้น จำนวนเท่าไร ถี่แค่ไหน เกิดเหตุการณ์สำคัญตอนไหน ตรงไหนบ้าง

2) Predictive Analytics เป็นการวิเคราะห์ในลักษณะที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง คือเป็นการประเมินว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป มีการให้ข้อมูลตัวชี้วัดของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขี้นถ้าแนวโน้มยังเป็นอย่างนี้ต่อไป

3) Prescriptive Analytics เป็นรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อนและยากที่สุด เพราะไม่เพียงแต่พยากรณ์หรือทำนายว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ยังให้คำแนะนำในทางเลือกต่างๆ และผลของทางเลือกต่างๆ ว่าจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร โมเดลของ Prescriptive Analyticsนั้นจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามข้อมูลที่เพิ่มเติมเข้ามามากขึ้น และ Prescriptive Analyticsนี้ ยังเป็นการใช้ข้อมูลที่มากที่สุด และเกี่ยวพันกับเรื่อง Big Data เป็นอย่างมาก

Social Media Command Center

            กำลังเป็นเครื่องมือสำคัญและได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง จะคอยดูแลความเคลื่อนไหวธุรกิจองค์กรที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์

1) Data Visualization การแสดงผลข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย

2) Real Time Monitoring ไม่ใช่การรวบรวมเป็นรายงานสรุป แต่แสดงผลออกมาแบบเรียลไทม์

3) Quality Data นอกจากจะบอกปริมาณแล้ว ยังบอกทิศทางและรายละเอียดว่าคนกล่าวถึงธุรกิจในแง่มุมบวกหรือลบ

Big Data Analytics กับการบริหารภาครัฐ

1) รับฟังความคิดเห็น รวบรวมข้อมูล และปรึกษากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2) วางแผนการลงทุนในการจัดโครงสร้าง

3) มีความเข้าใจและมีทักษะทางธุรกิจและทักษะทางเทคนิค

4) เตรียมพร้อมภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

5) เจ้าหน้าที่ภาครัฐจะต้องปรับ mindset ในการเข้าร่วมกับทุกภาคส่วน

6) ปรับปรุงวิธีคิดและกระบวนการเพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ

7) กำหนดแนวทางและการบริการให้คำปรึกษาในด้าน Big Data Analytics ให้แก่ทุกภาคส่วน

สรุป

Big Data เป็นข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาล ที่สามารถนำผลที่ได้มาสร้างมูลค่าให้กับทางธุรกิจหรือองค์กรได้ ซึ่ง Big Data จะมีคุณลักษณะสำคัญคือ 5V ได้แก่ Volume, Variety, Velocity, Veracity และ Value โดยการทำงานกับ Big Data จะมีองค์ประกอบที่เริ่มตั้งแต่การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูล Big Data หลายแหล่งไปยังแหล่งเก็บข้อมูล และเมื่อเรามีข้อมูลในแหล่งเก็บข้อมูลแล้ว เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์แล้วสร้างมูลค่าและนวัตกรรมต่างๆจากข้อมูล Big Data ได้


เขียนโดย : น.ส.พรเพ็ญ  ขลิบนิล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : pornpen.k@mhesi.go.th