เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
2308
ชื่อ
เครื่องปั่นน้ำพริกกุ้ง ชม 400 ครั้ง
เจ้าของ
นายกานต์ วิรุณพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคดนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
เมล์
kant_wirunphan@hotmail.co.th
รายละเอียด

เครื่องปั่นน้ำพริกกุ้ง

        ในการออกแบบชุดปั่นน้ำพริกกุ้งที่ทำการออกแบบจะมีลักษณะเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

(1)  สร้างชุดปั่นน้ำพริกกุ้งโดยมีขนาดประมาณ 900x900x1000 มิลลิเมตร 

 (2) กระทะและใบปั่นทำจากวัสดุสแตนเลสสตีลเกรด 304 ออสเทเนติก กระทะมีขนาดความจุน้ำพริกกุ้งโดยประมาณ 6 กิโลกรัม 

(3)  ใช้พลังงานนความร้อนจากแก๊สหุงต้มในการกวนผสมโดยมีระบบจุดตัดกึ่งอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานด้วยเทอร์โมคัปเปิลและเทอร์โมสตัท

(4)  ใช้มอเตอร์กระแสสลับ 220 โวลต์ 1,450 รอบต่อนาที 1 เฟส 1 แรงม้า ชุดเฟืองทดที่อัตราทด 1:70 

(5) ปริมาณน้ำพริกกุ้งที่ทำการกวนผสมในการทดลองที่ 6 กิโลกรัมต่อครั้ง

(6) ความเร็วรอบในการปั่นน้ำพริกกุ้ง 15 รอบต่อนาที

(7) อุณหภูมิที่ใช้ในการปั่นน้ำพริกกุ้งที่ 100,110 และ 120  องศาเซลเซียส

กระบวนการใช้งานของเครื่องปั่นน้ำพริกกุ้ง 

ผลิตภัณฑ์น้ำพริกกุ้ง

 

การวัดประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตก่อนและหลังการปรับปรุง

    จากตาราง  เป็นการปั่นผสมน้ำพริกกุ้งในการผลิตน้ำพริกกุ้ง โดยการใช้เครื่องมือที่ทำการออกแบบและสร้างขึ้นเปรียบเทียบกับการปั่นผสมน้ำพริกกุ้งแบบเดิมโดยใช้แรงงานคน พบว่าเมื่อทำการปั่นผสมน้ำพริกกุ้งในปริมาณ 3.0 กิโลกรัมต่อครั้ง การปั่นผสมน้ำพริกกุ้งด้วยเครื่องมือที่ทำการออกแบบและสร้างขึ้นมานั้นจะใช้เวลาในการทำงานที่น้อยกว่าการใช้แรงงานคนที่ 144 นาที หรือ 2 ชั่วโมง 40 นาที  ได้ปริมาณน้ำพริกกุ้งที่เป็นของดีไม่ติดกันเป็นก้อนแข็งและไหม้มากว่าการตำด้วยแรงงานคนทำงาน 9.33%และมีของเสียหรือที่ไม่ผ่านการคัดแยกน้อยกว่าการปั่นผสมด้วยแรงงานคนอยู่ 9.33% แต่เมื่อสังเกตจะพบว่าปริมาณของดีของเสียจากการทำงานระหว่าเครื่องมือที่ออกแบบและสร้างขึ้นมากับการทำงานด้วยคนนั้นไม่มีความแตกต่างกันทุกนัยสำคัญ แต่เมื่อมาพิจารณาถึงเวลาในการทำงานจะพบว่าการทำงานด้วยคนจะเนิ่นนานมากกว่า หรืออาจจะสรุปได้ว่าการทำงานด้วยเครื่องมือที่ออกแบบและสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพในเรื่องของเวลาการทำงานมากกว่าคนอยู่ที่ 25.2% 

คำสำคัญ
น้ำพริกกุุ้ง  
บันทึกโดย
นางสาววิรัตนันท์  อัครารักษ์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th