เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
2307
ชื่อ
เครื่องตำป่นกุ้งแห้ง ชม 758 ครั้ง
เจ้าของ
นายกานต์ วิรุณพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคดนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
เมล์
kant_wirunphan@hotmail.co.th
รายละเอียด

เครื่องตำป่นกุ้งแห้ง 

         มีหลักการทำงาน เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ มีรายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้

                             (1)  เครื่องตำกุ้งแห้งที่สร้างขึ้นมีขนาดประมาณ 200 X 480 X 250มิลลิเมตร

                             (2)  ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำ 1เฟส ขนาดมอเตอร์ 1/4แรงม้า 220โวลต์

                                     เป็นตัวส่งกำลัง

                             (3)  ใช้กุ้งแห้ง ที่ผ่านกระบวนการต้มสุกและตากแห้ง

                             (4)  สร้างเครื่องตำกุ้งแห้งที่สามารถตำได้ไม่น้อยกว่า 6กิโลกรัมต่อชั่วโมง

                             (5)  วัสดุที่นำมาสร้างเครื่องตำกุ้งแห้ง ในส่วนที่สัมผัสกับกุ้งแห้งใช้ครกหินแกรนิต แล้วส่วน                                              ประกอบอื่น ๆ ใช้วัสดุประเภทเหล็ก

      

 

การวัดประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตก่อนและหลังการปรับปรุง

       จากผลการดำเนินงานสามารถสรุปได้คือการปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำพริกกุ้งยายเอ พบว่าสามารถลดการใช้แรงงานคนลงมาได้ ลดเวลาในการทำงาน ลดของเสียที่เกิดขึ้นและช่วยเพิ่มผลิตผลิตแก่ผู้ประกอบการดังตารางสรุปการทดลองในการตำป่นกุ้งแห้งเพื่อเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิต และการปั่นผสมน้ำพริกกุ้งดังนี้

          จากตาราง เป็นการเตรียมวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตน้ำพริกกุ้ง โดยการตำป่นกุ้งแห้งโดยใช้ครกและแรงงานคนเปรียบเทียบกับชุดตำป่นกุ้งแห้งที่ออกแบบและสร้างขึ้นมานั้นพบว่าเมื่อตำป่นกุ้งแห้งในประมาณเดียวกัน การตำป่นกุ้งแห้งด้วยชุดตำที่ออกแบบและสร้างขึ้นมานั้นจะใช้เวลาในการทำงานที่น้อยกว่าการใช้แรงงานคนที่ 78.49 นาที ได้ปริมาณของดีที่ผ่านการคัดแยกด้วยตระแกรงกรองมากว่าการตำด้วยแรงงานคน 0.91%และมีของเสียหรือที่ไม่ผ่านการคัดแยกน้อยกว่าการตำด้วยแรงงานคนอยู่ 0.91% แต่เมื่อสังเกตจะพบว่าปริมาณของดีของเสียจากการทำงานระหว่าเครื่องมือที่ออกแบบและสร้างขึ้นมากับการทำงานด้วยคนนั้นไม่มีความแตกต่างกันทุกนัยสำคัญ แต่เมื่อมาพิจารณาถึงเวลาในการทำงานจะพบว่าการทำงานด้วยคนจะเนิ่นนานมากกว่า หรืออาจจะสรุปได้ว่าการทำงานด้วยเครื่องมือที่ออกแบบและสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพในเรื่องของเวลาการทำงานมากกว่าคนอยู่ที่ 23% 

คำสำคัญ
น้ำพริกกุุ้ง  
บันทึกโดย
นางสาววิรัตนันท์  อัครารักษ์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

รายละเอียดผู้รับบริการ

53590
ผู้ถาม : มงคล ลูกแก้วไพสิฐสกุล ที่อยู่ ร้านข้าวเกรียบว่าวแม่กาญ อ.โดนจ.ร้อยเอ็ด
วันที่ถาม : 02/01/2565
คำถาม : สามารถตำข้าวเหนี่ยวที่นึ่งสุกแล้วให้เนื้อละเอียดเป็นแป้งยืดได้ไหม ที่บ้านทำข้าวเกรียบว่าว สนใจอยากเอามาแทนครกกระเดื่องไฟฟ้า เลยได้แบบที่ตำอัตโนมัติถ้าทำได้ติดต่อมาเลยนะครับ |2307|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
53551
ผู้ถาม : นายภูริต ภูริวัฒนรักษ์ ที่อยู่ 7/476 ม.13 หมู่บ้านรัตนาธิเบศร์ ซอย 12/3 ถนนรัตนาธิเบศร์ ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
วันที่ถาม : 13/11/2564
คำถาม : ผมสนใจเครื่องตำป่นกุ้งแห้งครับ ขอทราบราคาเครื่องด้วยครับ หรือหากไม่ได้ทำขายผมขอซื้อแบบพิมพ์เขียวมาทำเองได้หรือไม่ครับ|2307|W
คำตอบ : ทางเราประสานไปยังหน่วยงานเจ้าของงานวิจัยให้แล้วครับ
การดำเนินงานจากเครือข่าย
53550
ผู้ถาม : นายภูริต ภูริวัฒนรักษ์ ที่อยู่ 7/476 ม.13 หมู่บ้านรัตนาธิเบศร์ ซอย 12/3 ถนนรัตนาธิเบศร์ ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
วันที่ถาม : 12/11/2564
คำถาม : ผมสนใจเครื่องตำป่นกุ้งแห้งครับ ขอทราบราคาเครื่องด้วยครับ หรือหากไม่ได้ทำขายผมขอซื้อแบบพิมพ์เขียวมาทำเองได้หรือไม่ครับ|2307|W
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
53542
ผู้ถาม : ภูริต ภูริวัฒนรักษ์ ที่อยู่ 7/476 ม.13 หมู่บ้านรัตนาธิเบศร์ ซ.12/3 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง
วันที่ถาม : 07/11/2564
คำถาม : ขอทราบราคาเครื่อง|2307|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
53541
ผู้ถาม : ภูริต ภูริวัฒนรักษ์ ที่อยู่ 7/476 ม.13 หมู่บ้านรัตนาธิเบศร์ ซ.12/3 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง
วันที่ถาม : 07/11/2564
คำถาม : ขอทราบราคาเครื่อง|2307|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย
50286
ผู้ถาม : กฤติกา อรรถกวีวรรณ ที่อยู่ ติดต่อที่เบอร์ที่ให้ไว้ในระบบได้ค่ะ
วันที่ถาม : 11/05/2564
คำถาม : อยากทราบว่า มีผลิตเพื่อขายมั้ยคะ|2307|M
คำตอบ : ได้ดำเนินการส่งเรื่องให้กับอาจารย์เจ้าของผลงาน คือ อาจารย์กานต์ วิรุณพันธ์ เพื่อดำเนินการต่อไป
การดำเนินงานจากเครือข่าย




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th