ข้อเสนอแบบแสดงวิสัยทัศน์ ข้อควรรู้ก่อนเข้าขึ้นสู่ตำแหน่ง  36

คำสำคัญ : แบบวิสัยทัศน์กปว.  ทีมงาน  พัฒนางานพัฒนาคน  

แบบแสดงวิสัยทัศน์

ในตำแหน่งผู้อำนวยการในบัญชี ๑.๒ ขับเคลื่อนภารกิจ (กลุ่มตำแหน่งอำนวยการทั่วไป)

 

 

๑. วิสัยทัศน์

กปว. เพื่อทุกคนในจังหวัด พร้อมให้บริการงานวิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม

 

๒. แนวทางการบริหารงาน

๒.๑ ทบทวนงานและผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาบริการเพื่อทุกคน (Front services)

๒.๒ จัดทำแนวทางการพัฒนาคนและหมุนเวียนงานเพื่อรองรับประสบการณ์ที่หลากหลาย(Back office management)

๒.๓ ทบทวนและพัฒนาตัวชี้วัดให้ตอบโจทย์ผู้รับบริการตามค่านิยมของ สป.อว. SMART (Innovation and tools)

๓. ข้อเสนอแนวคิด/แนวทางการพัฒนาปรับปรุงงาน

๓.๑ การมอบหมายงานที่เหมาะสม (Put the man on the right job)

      การเลือกคนและมอบหมายงานที่เหมาะสมเป็นความสำเร็จที่สำคัญยิ่งในการดำเนินงาน เช่นกรณีประธานาธิบดี Barack Obama เลือกนาย Joe Biden ซึ่งเคยเป็นกรรมาธิการต่างประเทศมา ๙ สมัยเป็นรองประธานาธิบดี ทำให้สร้างจุดแข็งให้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงขอเสนอแนวทาง ดังนี้

      (๑) ให้ทุกกลุ่มงานจัดทำรายละเอียดโครงการและผู้รับผิดชอบงานในปี ๒๕๖๗ นำเสนอ ทบทวนและปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้ควรมีหัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการและเจ้าหน้าที่โครงการอย่างน้อย ๓ คน/โครงการ ให้จัดประชุมกลุ่มไม่น้อยกว่า ๒ ครั้งในการพิจารณาปรับการมอบหมายงาน โดยให้มอบหมายงานตามความรู้ความสามารถ ทักษะและความพึงพอใจเป็นสำคัญ (HappyWork)

      (๒) ประชุมกองเพื่อนำเสนอโครงการที่มอบหมายใหม่ พร้อมหารือผู้ที่ประสงค์จะย้ายกลุ่มหรือไปร่วมทำงานกับกลุ่มงานอื่น ให้ประชุมกองไม่น้อยกว่า ๒ ครั้ง ทั้งนี้ ผลการตัดสินใจมอบหมายงานเกิดจากผลการพิจารณาของผู้อำนวยการกองและผู้อำนวยการกลุ่ม

      (๓) กองเสนอผู้บริหารเห็นชอบและมีคำสั่งมอบหมายงาน ทั้งนี้ หัวหน้าโครงการควรหมุนเวียนงานที่รับผิดชอบไม่เกิน ๔ ปี

      (๔) ทุกโครงการต้องมีผลงาน KM: Best Practice และใช้เป็นเครื่องมือประกอบการทำงานและพัฒนาคน (โครงการพี่สอนน้อง) หมุนเวียนงานและเลื่อนตำแหน่ง

      (๕) ทบทวนและปรับปรุงการมอบหมายงานทุกปี ภายในเดือนกรกฎาคม

๓.๒ การพัฒนาคนและหมุนเวียนงาน

      เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนมีประสบการณ์ที่หลากหลายตามที่ ก.พ. กำหนดการเลื่อนตำแหน่ง เช่น ต่างสายงาน ต่างลักษณะงาน ต่างหน่วยงาน และต่างพื้นที่  

      (๑) ให้ข้าราชการทุกคนจัดทำผลงาน KM: Best Practiceตามลักษณะงาน/โครงการที่ได้รับมอบหมาย ภายใต้หลักการของ Voice of Customer และ Design Thinking

      (๒) ให้ทุกคนพัฒนาตัวเองตามหลักสูตรที่จำเป็นอย่างน้อย ๒ หลักสูตร/คน/ปี เพื่อเพิ่มความสามารถตามค่านิยม SMART: S; Service mindยินดีบริการ, M; Masteryเก่งงาน, A; Agility โปร่งใส คล่องตัว, R; Result focus ผลงานดีตอบโจทย์ความต้องการ, and T; Team effortทำงานเป็นทีมได้ ทั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดประเมินผลงานเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านการพัฒนาพฤติกรรม

       (๓) ประชุมกองทุกเดือนเพื่อสื่อสารผลงานและสร้างความเข้าใจตามภารกิจ พร้อมนำเสนอผลงาน KM: Best Practiceหมุนเวียนกันไป

       (๔) จัดประชุมทบทวนแผนงาน/โครงการ/การหมุนเวียนงาน ของกองอย่างน้อย ๒ ครั้ง/ปี ครั้งที่ ๑ ภายในไตรมาสที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ภายในไตรมาสที่ ๓ พร้อมนำเสนอการหมุนเวียนงานภายในเดือนกรกฎาคม โดยมีเป้าหมายให้ทุกคนอยากทำงานและเพิ่มความร่วมมือทำงานเป็นทีม (Happy Office)

       (๕) จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (Happy Life) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและได้ร่วมบำเพ็ญกิจกรรมสาธารณประโยชน์ โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ในแต่ละกลุ่มงาน หรือร่วมกันหลายกลุ่มงาน เช่น โครงการบริจาคปันกัน โครงการรักษ์ต้นไม้ อว. โครงการเดินวิ่งลดโรคลดพุง โครงการเที่ยววัด โครงการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสหรือเพื่อสาธารณประโยชน์  เป็นต้น ทั้งนี้ กำหนดให้เป็นตัวชี้วัดประกอบการประเมินผลงานเลื่อนขั้นเงินเดือน

       (๖) จัดการให้พื้นที่ทำงานพร้อมให้บริการอยู่เสมอ ตามหลัก ๕ ส. (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย) เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม ลดการควบคุมสั่งการ

       (๗) ส่งเสริมการทำงานตามระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดรายจ่าย

       (๘) นำเสนอผู้บริหารและมีคำสั่งแต่งตั้ง ผอ.กลุ่ม ผู้รักษาการแทน ผอ.กลุ่ม และผู้รักษาการแทน ผอ.กอง โดยขึ้นบัญชีรักษาราชการแทน กรณีผู้บังคับบัญชาไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ถือเป็นกระบวนการเตรียมคนเข้าสู่ตำแหน่ง กรณีมีอัตราว่าง/คาดว่าจะว่าง โดยมอบหมายให้รักษาการแทน ผอ.กอง ก่อนเกษียณราชการไม่น้อยกว่า ๑-๒ ไตรมาส (ผอ.กอง เป็นพี่เลี้ยงก่อนเวลาเกษียณราชการ)

๓.๓ การพัฒนาตัวชี้วัดให้ตอบโจทย์ผู้รับบริการ

      ตัวชี้วัดเป็นสารสนเทศที่สำคัญเพื่อนำมาใช้พัฒนาและปรับปรุงโครงการ ตัวชี้วัดต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ตัวชี้วัดที่ดีต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นการประเมิน ต้องตีความและเข้าใจง่าย ตัวชี้วัดอาจวัดผลสำเร็จของผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ ความคุ้มค่าของเงิน เพื่อให้สอดรับกับการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีคณะประเมินและจัดทำตัวชี้วัดเป็นทีมงานสนับสนุนการบริหารงานของผู้อำนวยการกองและใช้สารสนเทศตัวชี้วัดชุดนี้ประกอบการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบมีส่วนร่วม ดังนั้น จึงให้ทบทวน ปรับปรุงตัวชี้วัดใหม่ ดังนี้

              (๑) ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาสมรรถนะ เน้นกิจกรรมหลักที่รับผิดชอบและกิจกรรมร่วมสนับสนุนกลุ่มงานอื่น ๆ

             (๒) ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาพฤติกรรม เน้นผลงานการเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยกลุ่มงานอื่น ๆ ภายในกอง หรือของกองอื่น ๆ หน่วยงาน อว. อื่น ๆ หรือนอกสังกัด อว.

             (๓) จัดประชุมวิพากษ์ทบทวน ปรับปรุงและพัฒนาแบบประเมินผลและตัวชี้วัดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านตัวชี้วัดและการประเมินผล

             (๔) นำผลการประเมินตัวชี้วัดมาพัฒนางานบริการทั้งลูกค้าภายในและภายนอกหน่วยงานทุกปี

             (๕) จัดกิจกรรมแข่งขันการส่งมอบบริการ หรือการประกวดนวัตกรรมที่นำมาพัฒนาบริการ

             (๖) ยกย่องและมอบประกาศนียบัตรให้แก่บุคลากรที่ตั้งใจทำงานด้านต่าง ๆ ประจำปี

             (๗) เผยแพร่ผลงาน KM: Best Practiceของทุกกลุ่มงาน ผ่านระบบดิจิทัล


เขียนโดย : ดร. สรรณพ  นาควานิช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sannop@mhesi.go.th