วิทยาศาสตร์จังหวัด หรือนวัตกรรมจังหวัด หน่วยงาน อว. ในจังหวัด จำเป็นไหม ?  24

คำสำคัญ : วิทยาศาสตร์จังหวัด  นวัตกรรมจังหวัด  ศวภ.  

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ในปี ๒๕๕๕ โดย รมว.วท. ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี ได้นำเสนอ ค.ร.ม. จัดตั้งศูนย์ วท. ภาค ๕ แห่ง ได้แก่ ศวภ.เชียงใหม่ ศวภ. ขอนแก่น ศวภ. สงขลา ศวภ.ชลบุรี และ ศวภ.ภาคกลาง ได้ดำเนินงานประสานนำนโยบายจาก สป.วท. ไปผสานกับความต้องการของพื้นที่จังหวัดทำงานพัฒนาโครงการนำ วทน. ไปพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ชี้นำโดยคณะทำงานพัฒนาจังหวัด ที่มีรองผู้ว่าราชการด้านยุทธศาสตร์เป็นประธาน สามารถนำผลงานของหน่วยงานสังกัด วท. ลงใช้จริงจำนวนมากในพื้นที่จังหวัด จนมีเจ้าหน้าที่ประจำ ศวภ. จำนวน ๕ - ๑๐ คน ปัจจุบันทำงานภายใต้กลุ่ม ปค. กปว. ยกเว้น ศวภ.ภาคตะวันออก

ผมได้รับมอบหมายทำหน้าที่ ผอ.ศวภ.สงขลา ดูแลพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ๒ ปี และทำงานในภาคตะวันออก ๙ จังหวัด ในฐานะ ผอ.ศวภ.ชลบุรี ๔ ปี จนถึงปี ๒๕๖๒ เมื่อมีโครงสร้างกระทรวง อว. สิ่งที่ภาคภูมิใจคือ ได้รู้จักผลงานดี ๆ ของ วท. และทีมวิจัย ร่วมกันทำงานกับจังหวัดจนหลายคนเป็นผู้ว่าราชการ รองผู้ว่าราชการไปหลายคน และพบว่ากลุ่มอาชีพด้านเกษตร ด้านโอทอบ ด้านสิ่งแวดล้อมในหลายจังหวัดรู้จัก อว. และได้ใช้ผลงานไปพัฒนาอาชีพมีรายได้ดีขึ้นมาก

ปัญหาการจัดการขยะของประเทศ ทำให้ผมได้นำนวัตกรรมการจัดการขยะแบบชีวภาพและกายภาพ SUT-MBT ไปเผยแพร่ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านพลังงานของ มทส. โดยทีมของ ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ปัจจุบันเป็น รอง ผอ.สวทช. ทั้งในพื้นที่ภาคใต้ เรามีต้นแบบที่ อบต.เกาะยาวน้อย จ.พังงา และผมได้ผลักดันร่วมกับหน่วยงานจังหวัดของบกลุ่มจังหวัด ๒ แห่ง สร้างที่ ทต.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี ขนาด ๒๕ ตัน/วัน และ อบจ.ฉะเชิงทรา ๕๐ ตัน งบประมาณ ๑๒๐ ล้านบาท ใช้งานจริงมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ ทต.หรือ อปท.ภายใต้ กรมส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นสามารถนำแบบและงบประมาณมาของบได้ตามนโยบายรัฐบาลส่งเสริมใช้นวัตกรรมไทย ตั้งแต่ขนาด ๕ ถึง ๓๐๐ ตัน/วัน

จากประสบการณ์และข้อคิดเห็นของข้าราชการและกลุ่มสภาอุตสาหกรรม หอการค้า ประชาชนที่เคยร่วมงาน เห็นว่า อว. ควรผลักดันให้มี "วิทยาศาสตร์จังหวัด หรือ นวัตกรรมจังหวัด" เพื่อ (๑) สามารถเป็นตัวแทน สป.อว. ในภาคราชการทำงานกับหน่วยงานจังหวัด (๒) ทำงานใกล้ชิดผู้ใช้ในจังหวัดสามารถเสนอโครงการที่ตรงความต้องการที่แท้จริง (๓) ช่วยประสานหน่วยวิจัยและพัฒนาส่วนกลางนำผลงานสู่พื้นที่จังหวัดแบบไร้รอยต่อ (๔) ขยายข้าราชการไปทำงานในพื้นที่จังหวัด เป็นการกระจายคนไปทำงานในภูมิภาคเหมือนหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลี 

ในปี ๒๕๔๕ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ถูกปรับโครงสร้างเป็น (๑) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี ทสจ.จังหวัด และ สิ่งแวดล้อมจังหวัด  (๒) กระทรวงพลังงาน เป็น พลังงานจังหวัด ในขณะที่ อว. สมควรที่จะมีหน่วยงานระดับจังหวัด เช่นกัน

ทุกคนที่อ่าน คิดเห็นอย่างไร ครับ ? เรามีผลงานตั้งต้นไปแล้วเกือบ ๑๐ ปี พร้อมพันธมิตรคือมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจุบันคือ ชาว อว. เลือดสีเดียวกัน ยิ่งเป็นจุดแข็งของ อว. ในระดับพื้นที่จังหวัด  http://clinictech.ops.go.th/online/cmo/filemanager/743/RSC4/RSC1.docx.pdf


เขียนโดย : ดร. สรรณพ  นาควานิช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : sannop@mhesi.go.th