การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนางานวิจัย  201

คำสำคัญ : วิจัย  
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนางานวิจัย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนางานวิจัย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่า ประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลัก คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอกเพื่อให้คอมพิวเตอร์ ทำงานอย่างดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่อกัน เรียกว่า Hardwareและอุปกรณ์ Hardware นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า Software
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูล หรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่ง อาจเป็นตัวเลข (Numeric Data)ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)

ขั้นตอนในการวิจัย
โดยทั่วไปการวิจัยไม่ว่าการวิจัยเชิงประมาณหรือการวิจัยเชิงคุณภาพ จะมีขั้นตอนหลักๆ เหมือนกัน เริ่มจาก (1) การกำหนดปัญหาการวิจัย (2) การทบทวนวรรณกรรม (3) การตั้งสมมติฐาน (4) การออกแบบการวิจัย (5) การเก็บรวบรวมข้อมูล (6) การวิเคราะห์ข้อมูล (7) การจัดทำและนำเสนอรายงานการวิจัย แต่จะมีจุดต่างในรายละเอียดซึ่งมีวิธีการมองปรากฏการณ์เป็นตัวกำหนดนั่นเอง

เทคนิคการสีบค้นสารสนเทศทางการวิจัย
เครื่องมือช่วยในการสืบค้นการที่จะเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศซึ่งเป็นบริการที่ห้องสมุดจัดไว้ให้ผู้ใช้บริการโดยวิธีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ เรียกว่า การเข้าถึงรายการทรัพยากรห้องสมุดแบบออนไลน์ (Online public Access Catalog:OPAC)

โดยเครื่องมือการสืบค้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. รายการบรรณานุกรมในรูปเอกสาร เช่น บัตรรายกร รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ดรรชนีวารสาร หนังสือบรรณานุกรม เป็นต้น
2. รายการข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น OPAC WebOPAC ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นต้น
3. การสืบค้นสารสนเทศโดยใช้ โปรแกรมค้นหา (Search engine) บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
1. การกำหนดประเด็นให้แคบลง เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อาจจะใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์" เพื่อค้นเนื้อหากว้างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก่อนว่ามีเรื่องใดข้าง จากนั้นจึงกำหนดหัวข้อให้แคบลง เช่น "คอมพิวเตอร์ กับการศึกษาในระดับประถมศึกษา" เป็นต้น
2. การใช้คำใกล้เคียง เช่น ต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คำที่ใกล้เคียงที่สามารถค้นได้คือ เทคโนโลยี
3. การใช้คำสำคัญ เป็นคำหรือข้อความที่สื่อไปถึงเว็บไซต์นั้น เช่น การท่องเที่ยว อาจจะช่วยให้นึกถึงเว็บไซต์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
4. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงคำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรใส่ เครื่องหมายคำพูด ("") ลงไป เช่น "window 7"
5. การกำหนดขอบเขตคำค้น โดยใช้บูลีน (Boolean Operators) เช่น AND, OR, NOT, NEAR, BEFORE เป็นต้น หรือการค้นวลี (Phrase Searching) การตัดคำ หรือการใช้คำเหมือน ดังต่อไปนี้
   5.1 AND หรือ เครื่องหมาย + ใช้เมื่อต้องการให้ค้นเอกสารที่มีคำทั้งสองคำปรากฏ เช่น ค้นหาคำว่า Research AND Thailand ข้อมูลที่ได้จะมีเฉพาะคำว่า Research และ Thailand อยู่ในเอกสาร
   5.2 OR ใช้เมื่อต้องการค้นหน้าเอกสารที่มีคำใดคำหนึ่งปรากฏ เช่น Research OR Thailand ข้อมูลที่ได้ จะมีคำใดคำหนึ่งหรือทั้งสองคำปรากฎอยู่ในเอกสาร
   5.3 NOT หรือ เครื่องหมาย - ใช้เมื่อต้องการตัดคำที่ไม่ต้องการให้ค้นออก (คำหลัง NOT หรือเครื่องหมาย -) เช่น Research NOT Thailand ข้อมูลที่ได้จะมีคำว่า Research แต่จะไม่มีคำว่า Thailand อยู่ในเอกสาร
   5.4 NEAR ใช้เมื่อต้องการให้คำที่กำหนดอยู่ห่างจากกันไม่เกิน 10 คำ ในประโยคเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน (อยู่ด้านหน้าหรือหลังก็ได้ เช่น Research NEAR Thailand ข้อมูลที่ได้จะมีคำว่า Research และ Thailandที่ห่างกันไม่เกิน 10 คำ เช่น Research on the Cost of Transportation in Thailand
   5.5 BEFORE ใช้เมื่อต้องการกำหนดให้คำแรกปรากฎอยู่ข้างหน้าคำหลังในระยะห่างไม่เกิน 8 คำเช่น Research BEFORE Thailand
   5.6 AFTER ใช้เมื่อต้องการกำหนดให้คำแรกปรากฎอยู่ข้างหลังคำหลังในระยะห่างไม่เกิน 8 คำ เช่นResearch AFTER Thailand
   5.7 parentheses ใช้เมื่อต้องการกำหนดให้ทำตามคำสั่งภายในวงเล็บก่อนคำสั่งภายนอก เช่น (Research OR Quantitative) and Thailand
6. การตัดคำ (Word stemming / Truncation) เป็นการใช้เครื่องหมาย asterisk (*) ตามท้ายคำ 3 คำขึ้นไป เพื่อค้นหาคำที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรที่กำหนด เช่น Research* ซึ่งใช้ค้นหาคำว่า Research, Researcher,Researched, Researches, Researchers, Researching เป็นต้น
7. คำพ้องความหมาย (Synonym) เป็นการใช้คำเหมือนที่มีความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเพื่อช่วยให้ค้นเรื่องที่ครอบคลุม เช่น Ocean, Sea, Marine เป็นต้น
8. เขตข้อมูลเพื่อการคัน (Field Searching) เป็นการกำหนดเขตข้อมูลเพื่อการคัน เช่น ชนิดของข้อมูล หรือที่อยู่ ของข้อมูล เป็นต้น เช่น text: "green tea", url: NASA เป็นต้น
9. การพิมพ์ตัวอักษรที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กถือว่าต่างกัน (Case sensitive) เป็นการใช้ตัวอักษรที่เป็น ตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็กในความหมายที่แตกต่างกัน ใช้ตัวพิพม์ใหญ่ขึ้นต้นชื่อเฉพาะ เช่น George W. Bushเป็นต้น
10. ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) เป็นการสืบค้นจากคำถามที่เป็นภาษาธรรมชาติ เช่น ใช้คำถาม ภาษาอังกฤษง่ายๆ ที่ต้องการให้ Search Engine หาคำตอบให้ เช่น What is Research? เป็นต้น

การใช้งาน Google Scholar
การเริ่มต้นใช้งานเหมือนกับการใช้งาน Google ปกติ คือ นักวิจัยจะต้องป้อนคำที่ต้องการค้นหาลงในช่องว่าง เช่น ผู้วิจัยต้องการที่จะสืบคั้นข้อมูลเกี่ยวกับ "Behavioral in Thailand" ผู้วิจัยก็จะป้อนคำ วลี หรือ ประโยค ดังกล่าว เพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูล หากผู้วิจัยทราบว่างานวิจัยนี้อยู่ในมหาวิทยาลัยใด ก็สามารถระบุชื่อของมหาวิทยาลัยได้ในการสืบค้น เช่น งานวิจัยเรื่อง " Behavioral" ซึ่งงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้เข้ารับการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยมหิดล ก็สามารถใส่คำคันว่า "Behavioral Mahidol" (ภาพ)

รูปภาพประกอบ 1

 

 

ผลลัพธ์ที่ได้ดังภาพ จะเป็นรายการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และในคอลัมน์สุดท้ายทางด้านขวา จะแสดงถึงที่มาของแหล่งข้อมูล หรือแหล่งข้อมูลนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ที่ใด มีลักษณะของการจัดเก็บอย่างไร เช่น [PDF] from:mahidol.ac.th ช่วยให้ผู้สืบคั้นทราบว่า สิ่งที่ค้นพบนั้นเป็นไฟล์แบบ PDF ซึ่งสามารถสั่งพิมพ์ได้ในอนาคต และข้อมูลนี้เป็นของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งผู้สืบค้นอาจดาวน์โหลดผ่านทางเว็บไซต์ หรือจะไปดูเล่มงานวิจัยฉบับจริงได้ ที่มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา https://thaimooc.org/course/THAIMOOC%3A%3Acourse--v1%3ASWU-SWU010-2018
 


เขียนโดย : นางสาวเจนจิรา  ภาประเวช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : janejira.p@mhesi.go.th

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่นำมาแลกเปลี่ยนให้ได้อ่านได้ศึกษานะคะ จะได้ไปใช้ในการสืบค้นข้อมูล เป็นเทคนิคในการสืบค้น ที่ดี และไม่เคยรู้รายละเอียดขนาดนี้มาก่อนเลยค่ะ  พี่จะต้องนำบูลีน Boolean Operators ที่น้องเจนลงไว้ มาหัดใช้บ้างแล้วค่ะ 

เขียนโดย น.ส.เกศรัตน์  วิศวไพศาล