เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
1968
ชื่อ
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชธรรมชาติ ชม 411 ครั้ง
เจ้าของ
รศ.ดร.พชร เพ็ชรประดับ
เมล์
ppedpradab@gmail.com
รายละเอียด

การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชธรรมชาตเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์

1 การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้

     1.1 การเตรียมตัวอย่าง

             ใช้ส่วนของใบพืชตากแห้งด้วยลมที่อุณหภูมิห้องจนแห้งสนิท จากนั้นนำไปบดในชุดบด ชั่งมา 1 กิโลกรัมต่อการสกัด 1 ครั้ง

     1.2 ใช้วิธีสกัดด้วยไอน้ำ (Stream distillation) ตามวิธีของ Chairgulprasert et al., 2005 โดยใช้ชุดสกัดความจุประมาณ 5 ลิตรและสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์

     1.3 การศึกษาองค์ประกอบทางเคมี 

     1.4 วิธีการทดสอบ

                       1. ปิเปตสารละลายตัวอย่าง 500 µl ใส่ในหลอดทดลองขนาดเล็ก (หรืออาจใช้ eppendrof tube ก็ได้)

                       2. เติมสารละลายของ DPPHใน absolute ethanol500 µl(final concentrationsคือ 100, 50, 25, 12.5 และ 6.25 µg /ml)

                       3. นำไปผสมเข้ากันดีด้วย vortex 20 นาที

                       4. นำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 520 nm โดยใช้สารละลายตัวอย่าง 500 µlผสมกับ absolute ethanol500 µl

                       5. วัดค่าการดูดกลืนแสงของสารละลายมาตรฐานและ controlที่ 520 nmโดยที่

                            5.1 ControlEthanolประกอบด้วย ethanol500 µlและ DPPH500 µlและใช้ absolute ethanol1000 µlเป็น blank

                           5.2  control waterประกอบด้วย น้ำกลั่น 500 µlและ DPPH500 µlและใช้ น้ำกลั่น 500 µlผสมกับ absolute ethanol500 µl เป็น blank

                       6  การคำนวณหา % inhibition

                        % inhibition =   OD control – OD sample × 100

                                                   OD control

               การคำนวณหาค่าเฉลี่ยของ % inhibitionในแต่ละความเข้มข้นมา protกราฟ (% inhibitionvs concentrction) แล้วนำไปทำ linear regression เพื่อหาความเข้มข้นของสารตัวอย่างที่สามารถยับยั้งการเกิด oxidation ได้ 50% (EC50)

คำสำคัญ
สกัด  น้ำมันหอมระเหย  
บันทึกโดย
นายสุวิทย์  อนันต์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th