อว. กลไกร่วม ขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ และ ภาพรวมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (ม.ค. – พ.ย. 2566)   83

คำสำคัญ : ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ  Economic  Corridor  

อว. กลไกร่วม ขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

และ ภาพรวมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (ม.ค. – พ.ย. 2566)

ข้อมูลจาก สศช. เดือนธันวาคม 2566

กรอบแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

เขตพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 แห่ง (4 ภูมิภาค)

การขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

ซึ่ง อว. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ด้าน “การวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี”

ภายใต้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนใน 4 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย

และ ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในกรณีมีการพัฒนาบุคลากรหรือวิจัยและพัฒนา เกิดขึ้นในธุรกิจ

ภาพรวมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (ม.ค. – พ.ย. 2566)(ข้อมูล สศช.เดือน ธค. 66)

รายงานมูลค่าการลงทุนรวมทั่วประเทศ “ประมาณ 144,817 ล้านบาท”

ประกอบด้วย

1. การขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค รวม 235 ราย มูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 103,632 ล้านบาท

2. การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค รวม 15,678 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 41,184 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับข้อมูลเดือน ม.ค.-ก.ย. 2566ที่มีมูลค่าการลงทุน 104,828 ล้านบาท พบว่ามีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นจำนวนถึง 39,989 ล้านบาท

 

ประกอบด้วย 4 กลุ่มธุรกิจที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน ได้แก่

NEC: เชื้อเพลิงชีวมวลอัด / กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ เป็นต้น (ยกเว้นขยะ)/กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากขยะ หรือเชื้อเพลิง จากขยะ (Refuse Derived Fuel)

NeEC: กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ (ยกเว้นขยะ) / กิจการผลิตแป้งดิบ (Native Starch or Native Flour)

CWEC: กิจการผลิต Printed Circuit Board ชนิด High Density Interconnect, Multilayer Printed Circuit Board หรือชิ้นส่วน ที่เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ / กิจการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วน และ/หรือการ ซ่อมแซมแม่พิมพ์/ กิจการผลิตน้ ามันหรือไขมันจากพืชหรือสัตว์

SEC: กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากขยะ หรือเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel) กิจการผลิตปูนซีเมนต์ / กิจการผลิตน้ำมันหรือไขมันจากพืชหรือสัตว์ / กิจการแปรรูปยางขั้นต้น

ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ ล้วนต้องอาศัยองค์ความรู้ด้าน ววน. เข้าร่วมขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการวิจัย พัฒนา และ ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทุกภูมิภาค

 

การดำเนินงานในระยะต่อไป

อว. ถือเป็นกลไกสำคัญและเป็นหน่วยงานหลักเพื่อขับเคลื่อน “สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี” ในพื้นที่เป้าหมายเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภูมิภาค โดยต่อยอดงานวิจัยให้ใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์เพิ่มศักยภาพสถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัย และอุทยานวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ ให้มีบทบาทนำและเชื่อมโยงภาคีการพัฒนา ในการวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี/นวัตกรรมแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงเกษตรกร

 

อ้างอิงข้อมูล สศช. เดือนธันวาคม 2566

Download file Power Point ที่นี่


เขียนโดย : น.ส.รชนิศ  ศรีวิชัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : rachanis.s@mhesi.go.th

เรื่องน่าสนใจมากครับ อยากทราบว่า ปค./อว.ส่วนหน้า (aka./and/or ศูนย์ อว. ท้องถิ่น?) บูรณาการการทำงานร่วมกับ RSPs ในพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและนอกกระทรวงในประเด็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษอย่างไรบ้างครับ

เขียนโดย ดร.เอกชัย  เขื่อนมณี

การจัดทำแผนงานโครงการของ ปค. จำกัดว่าต้องเป็นหน่วยงานในพื้นที่เท่านั้นหรือไม่ค่ะ

เขียนโดย น.ส.เดือนเพ็ญ  อาจไธสง

ขอบคุณที่ให้ความสนใจค่ะ ติดตามได้ในบล๊อคถัดไปนะคะ ซึ่งจะขอเล่าเรื่องของแผนแม่บทการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC-Creative Lanna) ด้วยแนวคิด BCG Economy ซึ่งจะเห็นได้ว่าเกิดจากการบูรณาการของหน่วยงานทุกภาคส่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนแผนแม่บทฉบับภาคเหนือขึ้น เพื่อให้สอดคล้องตามบริบทการพัฒนาในพื้นที่ค่ะ มี อว. (โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เป็น ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทฉบับนี้ค่ะ ส่วนการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานใน อว. ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่เป็นส่วนที่จะต้องร่วมกันขับเคลื่อนกันต่อไปค่ะ...

เขียนโดย น.ส.รชนิศ  ศรีวิชัย