เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
1776
ชื่อ
ระบบอัจฉริยะติดตามสภาพบ่อเพาะเลี้ยงทั้งทางกายภาพ เคมีและชีวภาพด้วยเทคโนโลยี IoT ชม 1,345 ครั้ง
เจ้าของ
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์
เมล์
business@nectec.or.th
รายละเอียด
ระบบควบคุมเครื่องตีน้ำอัตโนมัติ (Automatic aerator control system)

• เป็นระบบแบบแยกส่วนซึ่งประกอบด้วย กล่องควบคุมหลักประจำบ่อ และกล่องควบคุมเครื่องตีน้ำ ทำงานร่วมกันผ่านการสื่อสารแบบไร้สาย
• กล่องควบคุมหลัก ทำหน้าที่เชื่อมต่อเซนเซอร์ที่ใช้ตรวจวัดค่าในบ่อ และกำหนดการทำงานให้กล่องควบคุมเครื่องตีน้ำ พร้อมทั้งบันทึก ส่งค่าการทำงานเข้าสู่อินเตอร์เน็ต และแจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งผิดปกติ
• กล่องควบคุมเครื่องตีน้ำ ทำหน้าที่เปิด-ปิดเครื่องตีน้ำ และตรวจสอบการทำงานของเครื่องตีน้ำ
• ในแต่ละบ่อจะมีกล่องควบคุมกลัก 1 กล่อง ซึ่งสามารถควบคุมเครื่องตีน้ำได้สูงสุด 32 เครื่อง และมีกล่องควบคุมเครื่องตีน้ำตามจำนวนที่ต้องใช้ในการควบคุมเครื่องตีน้ำ โดยแต่ละกล่องควบคุมเครื่องตีน้ำได้สูงสุด 4 ตัว

จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี (Innovation Statement / Benefit)
• ตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายตลอด 24 ชั่วโมง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจากการลดต่ำของระดับออกซิเจนจนน้อยกว่าค่าที่เหมาะสม
• ควบคุมเครื่องตีน้ำตามค่าออกซิเจนละลาย โดยจะเพิ่มการทำงานของเครื่องตีน้ำเมื่อออกซิเจนลดต่ำ และลดการทำงานของเครื่องตีน้ำเมื่อออกซิเจนสูงเพียงพอ ช่วยประหยัดพลังงานที่ให้กับเครื่องตีน้ำ
• ตรวจวัดการทำงานของมอเตอร์ตลอดวัน ทำให้สามารถสลับการทำงานของมอเตอร์ได้อัตโนมัติ เมื่อมอเตอร์หยุดการทำงานจากกระแสไฟเกิน
• สามารถกำหนดรูปแบบและเวลาการเปิดเครื่องตีน้ำได้ เช่น การรวมตะกอนของเสียในบ่อโดยอัตโนมัติ การควบคุมการหมุนเวียนของน้ำในบ่อ เป็นต้น
• สามารถบันทึกข้อมูลการทำงานและค่าการตรวจวัด ทำให้การวิเคราะห์และปรับปรุงการเลี้ยงในรอบ (Crop) ถัดๆ ไปได้สะดวกยิ่งขึ้น
• มีระบบแจ้งเตือนทันทีที่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติผ่านข้อความสั้น (sms) ทางโทรศัพท์ และไฟฉุกเฉินหน้าบ่อ เช่น ค่าออกซิเจนละลายต่ำ เครื่องตีน้ำตัดการทำงานจากกระแสเกิน

สถานภาพ (Stage of art)
• ติดตั้งใช้งานภาคสนามแล้ว

วิจัยพัฒนาโดย
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
หน่วยวิจัยระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง
Tel: 0 2564 6900 ext. 2861
Email: seksun.sartsatit@nectec.or.th

เครื่องอ่านปริมาณสารเคมีในน้ำแบบอัจฉริยะ (Smart Chemical Reader in Water)
--- เคมีชลเนตร (ChemEYE) ---

เคมีชลเนตร หรือเคมอาย เป็นเครื่องอ่านสีตามความเข้มข้นของสารเคมีในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ซึ่งจะอ่านค่าสีของน้ำที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของชุดทดสอบกับสารเคมีในน้ำจากบ่อเพาะเลี้ยง ซึ่งเครื่องนี้จะช่วยแก้ปัญหาความผิดพลาดจากการอ่านค่าสีของสารเคมีในน้ำด้วยตาเปล่า ที่ส่งผลให้เกิดการแปรผลความเข้มข้นที่ผิดพลาดจากการเทียบเคียงสีกับแผ่นอ้างอิง โดยระบบของเครื่องอ่านปริมาณสารเคมีในน้ำแบบอัจฉริยะนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนรับภาพสีจากปฏิกิริยา ส่วนโปรแกรมวิเคราะห์และประมวลผลเป็นความเข้มข้น และส่วนสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายผ่านระบบ Wi-Fi ซึ่งจะช่วยให้การบันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลทำได้ง่าย ส่งผ่านข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องแก้ปัญหาได้ทันท่วงที และสามารถเก็บสถิติคุณภาพน้ำได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ

คุณสมบัติ
• สามารถวัดและแสดงผลบนหน้าจอเครื่องได้ทันที
• สามารถดูบันทึกข้อมูลย้อนหลังได้
• สามารถส่งบันทึกข้อมูลการวัด ผ่าน Bluetooth หรือ Wi-Fi ได้
• มีน้ำหนักเบา และพกพาได้สะดวก
กลุ่มลูกค้า
• เกษตรกรกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
• ผู้ผลิตหรือจำหน่ายชุดทดสอบคุณภาพน้ำ
• หน่วยงานบริการและตรวจสอบคุณภาพน้ำ
• กลุ่มการศึกษาและการวิจัย

จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี (Innovation Statement / Benefit)
• สามารถตรวจสอบคุณภาพของสารเคมีในน้ำได้แม่นยำ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สายตา
• เป็นอุปกรณ์ที่ออกมาโดยเฉพาะ เพื่อควบคุมแสงสว่างและป้องกันการรบกวนจากแสงภายนอก ขณะทำการอ่านค่าสี
• สามารถตรวจสอบสารเคมีได้หลากหลายชนิด อาทิเช่น ไนไตรท์ กรด-ด่าง แอมโมเนียม คลอรีน และความกระด้าง เป็นต้น
สถานภาพ (Stage of art)
• ยื่นคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 1201002494 “อุปกรณ์และวิธีสำหรับตรวจวัดระดับความเข้มสีของวัตถุแบบสองมิติ”
• อนุสิทธิบัตร เลขที่ 1400 “เครื่องอ่านค่าสีสำหรับวัดความเข้มข้นของ และวิธีการอ่านค่าสีเพื่อหาความเข้มข้นของสารเคมี”

ระบบติดตามการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแบบต่อเนื่อง (Continuous Bacterial Growth curve Monitoring system)
--- Minimal Lab ---

ระบบติดตามการเจริญเติบโตของแบคทีเรียจากค่าความขุ่นที่เปลี่ยนแปลงไปของของสารตัวอย่าง สามารถทำการบ่มเพาะแบคทีเรีย วัดค่าวัดค่าการดูดกลืนแสง ค่าการส่องผ่าน และส่งค่าการทดลองแบบออนไลน์ได้

จุดเด่นของเทคโนโลยี
- วัดค่าการดูดกลืนแสง (Absorbance) และ ค่าการส่องผ่าน Transmittance (%T) ที่ความยาวคลื่นแสง 600 นาโนเมตร ของสารละลายตัวอย่างในหลอดทดลองตัวอย่างได้สูงสุดพร้อมกัน 24 หลอด
- ตั้งค่าการบันทึกผลการทดลอง (Interval Time) ได้ต่ำสุดเริ่มต้นที่ 5 นาที
- บันทึกข้อมูลการทดลองได้ไม่น้อยกว่า 500 ชั่งโมง ด้วยการบันทึกข้อมูลการทดลองทุกๆ 5 นาที
- สามารถส่งข้อมูลการทดลองทางระบบออนไลน์ได้
- แสดงค่าผลการทดลองเป็นแบบค่าตัวเลขและกราฟ

คุณสมบัติ
- เขย่าหลอดทดลองพลาสติกขนาด 50 มิลลิลิตร แบบหมุน (Orbital Shaker) พร้อมกันได้สูงสุด 24 หลอด
- ปรับความเร็วรอบในการเขย่าหลอดทดลองได้ระหว่าง 30 ถึง 200 รอบต่อนาที
- ปรับตั้งและควบคุมอุณหภูมิภายในห้องควบคุมอุณหภูมิได้ตั้งแต่อุณหภูมิห้องถึง 60 องศาเซลเซียส
- มีจอตั้งค่าการทดลองและแสดงค่าผลการทดลองของสารละลายตัวอย่างทั้ง 24 หลอด
- ช่องจับยึดหลอดทดลองจับยึดหลอดทดลองเอียงทำมุม 45 องศา
- โครงสร้างภายนอกของตัวเครื่องทำจากสแตนเลส
- มีช่องโปร่งแสงด้านบนของฝาเครื่องเพื่อตรวจสอบการทำงานของหลอดทดลองภายในตัวเครื่องได้
- น้ำหนักเครื่องประมาณ 30 กิโลกรัม
- ใช้แรงดันไฟฟ้า 220/240 โวลต์ 50/60 เฮิร์ตซ์

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
- ห้องปฏิบัติการวิจัยหรือหน่วยงานที่ต้องการติดตามปริมาณแบคทีเรียในตัวอย่างจากคน การเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูก และสิ่งแวดล้อม ที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อการทดสอบ
- ห้องปฏิบัติการวิจัยหรือหน่วยงานที่ต้องศึกษาติดตามการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในสภาวะต่างๆ
- ห้องปฏิบัติการวิจัยหรือหน่วยงานที่ทำการทดสอบความเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้ยาต้านแบคทีเรีย

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
- ยื่นคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ คำขอเลขที่ 1601005863
- ยื่นคำขอสิทธิบัตรออกแบบ คำขอเลขที่ 1602002469

วิจัยพัฒนาโดย
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์
หน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์
Tel: 0 2564 6900 ext. 2107
Email: sirajit.vuttivong@nectec.or.th

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี(ฺBTT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
Tel: 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2382-83 E-mail: business@nectec.or.th

ที่มา https://www2.mtec.or.th/nacclient/boothinfo.php?id=bs.70
ขยายภาพ
คำสำคัญ
ปลา  กุ้ง  บ่อ  อัจฉริยะ  
บันทึกโดย
นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

44187
ผู้ถาม : สราญรัตน์ วงศ์สุริยา ที่อยู่ ขอนแก่น
วันที่ถาม : 05/08/2562
คำถาม : อยากได้เครื่องผลิตน้ำตาลอ้อย|870|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th