เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
1606
ชื่อ
การผลิตแป้งข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ (Resistant Starch) ชม 1,991 ครั้ง
เจ้าของ
ผศ.ดร. สุนันทา ทองทา และ สวทช.
เมล์
soontaree@nstda.or.th
รายละเอียด

การพัฒนากระบวนการผลิตแป้งข้าวที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ (Resistant Starch)

แป้งทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ หรือ สตาร์ชที่ให้พลังงานต่ำ (Resistant starch, RS) คือ แป้งและผลิตภัณฑ์ของแป้งที่ไม่สามารถถูกย่อยด้วยเอนไซม์และถูกดูดซึมในลำไส้เล็กของมนุษย์ Resistant starch จึงมีคุณสมบัติเทียบเท่าเส้นใยอาหาร สามารถผ่านเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่และถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไขมันสายสั้นๆ ที่เอื้อต่อการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ผนังลำไส้ใหญ่ ผลจากการย่อยที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณพลังงานในระดับต่ำกว่าปกติหรือทำหน้าที่คล้ายกับใยอาหาร ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคอายุรกรรมต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น

โดยหลักการแล้วการผลิตแป้งให้มี RS ในปริมาณสูงควรผลิตจากแป้งที่มีปริมาณอะมิโลสสูง ปัจจุบันมีเพียงข้าวโพดเท่านั้นที่เป็นแหล่งที่มีอะมิโลสสูงถึงร้อยละ 50-70 ข้าวเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจและมีศักยภาพที่สามารถผลิตเป็นแป้งที่เป็นแหล่งของ RS ได้ แม้ว่าในกลุ่มข้าว อะมิโลสสูงนั้น ส่วนใหญ่มีอะมิโลสไม่เกินร้อยละ 38 แต่ด้วยความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้สามารถใช้แป้งข้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งที่มี RS สูงได้

การพัฒนากระบวนผลิตแป้งข้าวที่ทนต่อการย่อยได้สูง เพื่อเพิ่มมูลค่าแป้งข้าว ด้วยการเป็นส่วนผสมอาหารเพื่อสุขภาพ (functional ingredient) โดยใช้วัตถุดิบแป้งข้าวโปรตีนต่ำในกลุ่มพันธุ์ข้าว ที่มีอะมิโลสสูงและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนการผลิต ทำการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ (Lab Scale) และระดับขยายขนาด (Pilot Scale) ร่วมกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแป้งข้าว ผลการวิจัยได้กระบวนการและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิต เริ่มจากการให้ความร้อน การตัดด้วยเอนไซม์ กรอง บ่ม และแยกแป้งด้วยวิธีทำแห้ง ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์แป้งข้าวที่มีปริมาณแป้งทนย่อยเกิดขึ้นร้อยละ 32.46 มีปริมาณใยอาหารทั้งหมดร้อยละ 32.35 มีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ต่างๆ (เช่น คุณสมบัติเชิงหน้าที่ด้านการผลิตกรดไขมันสายสั้น) ใกล้เคียงกับแป้งที่มีจำหน่ายทางการค้า


คำสำคัญ
ข้าว  
บันทึกโดย
นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

44392
ผู้ถาม : คุณสัญญา แก้วสิริ ที่อยู่ -
วันที่ถาม : 14/08/2562
คำถาม : ต้องการสอบถามรายละเอียด เรื่อง ถุงหมักแก๊สชีวภาพ
คำตอบ : เบื้องต้นแจ้งคุณสัญญา แก้วสิริ ให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดความต้องการที่ อ.สุชน 053-943-615 ม.เชียงใหม่, 043-283-700 มทร.อีสาน ขอนแก่น, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 02-577-9000, 02-577-9300
การดำเนินงานจากเครือข่าย
44164
ผู้ถาม : นายสมยศ เต็มวิริยะนุกูล ที่อยู่ 520 หมู่ 2 ตำบล หนองสาหร่าย อำเภอ ดอนเจดีย์
วันที่ถาม : 26/07/2562
คำถาม : สอบถามเรื่องค่าใข้จ่ายในการแปรรูปรังไหมให้เป็นผง และขั้นตอนกรรมวิธีในการแปรรูปครับ|125|M
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th