เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
1594
ชื่อ
ฟิล์มกำจัดก๊าซเอทิลีนเพื่อชะลอการสุกและการเสื่อมสภาพของผลิตผลสด ชม 1,160 ครั้ง
เจ้าของ
เอ็มเทค-สวทช.
เมล์
chalalai@tmc.nstda.or.th
รายละเอียด

คำขอรับสิทธิบัตรเรื่อง “ฟิล์มพลาสติกที่มีค่าการซึมผ่านก๊าซเอทิลีนสูงเพื่อชะลอการสุกและการเสื่อม สภาพของผลิตผลสด” เลขที่คำขอ 0801001835


ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การเก็บรักษาผักและผลไม้ให้คงความสดไว้ได้นาน ต้องอาศัยการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม การกำจัดก๊าซเอทิลีนในบรรยากาศเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยชะลอการสุกและการเน่าเสียก่อนเวลา เนื่องจากก๊าซดังกล่าวเป็นฮอร์โมนเร่งการเติบโตของพืช ที่ส่งผลให้ผลิตผลสดเสื่อมสภาพอย่างต่อเนื่องและรุนแรง ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ที่มีความสามารถในการกำจัดก๊าซเอทิลีนจะช่วยยืดอายุผลิตผลสดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตผลที่ไวต่อก๊าซเอทิลีน โครงการนี้จึงได้พัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกำจัดก๊าซ เอทิลีน โดยอาศัยการเพิ่มประสิทธิภาพการเลือกซึมผ่าน (selective permeation) ของก๊าซเอทิลีน ด้วยการผสมสารดูดซับที่มีโครงสร้างจำเพาะลงในฟิล์มพลาสติกที่มีโครงสร้างที่เสริมประสิทธิภาพให้สารดูดซับ

การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี
ฟิล์มกำจัดก๊าซเอทิลีนต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนั้นมีค่าอัตราการผ่านของก๊าซเอทิลีนสูง ถึง 63,000-74,000 cm3/m2.day.atm ซึ่งสูงกว่าฟิล์มประเภทเดียวกันที่มีจำหน่ายในต่างประเทศถึง2-10 เท่า และพบว่าสามารถลดการสะสมของก๊าซเอทิลีนในบรรจุภัณฑ์ได้มากกว่า 2 เท่า ส่งผลให้สามารถชะลอการสุกและยืดอายุการเก็บรักษาได้ 2-3 เท่า ฟิล์มดังกล่าวจะช่วยลดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลสด ได้แก่ พืชสมุนไพร ผัก และผลไม้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


กลุ่มลูกค้า ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
ผู้ประกอบการที่ใช้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ในการเก็บรักษาผลิตผลการเกษตร
ผู้ผลิตฟิล์มบรรจุภัณฑ์

สรุปเทคโนโลยี
ฟิล์มกำจัดก๊าซเอทิลีน เพื่อชะลอการสุกและการเสื่อมสภาพของผลิตผลสด สำหรับผลิตผลที่ไวต่อก๊าซเอทิลีน สามารถยืดอายุได้ 2-3 เท่า

จุดเด่นของเทคโนโลยี
ลดการสะสมของก๊าซเอทิลีนในบรรจุภัณฑ์ได้มากกว่า 2 เท่า
ชะลอการสุกและยืดอายุการเก็บรักษาได้ 2-3 เท่า
สามารถใช้งานกับผลิตผลสดได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตผลที่ไวต่อก๊าซเอทิลีน เช่น กล้วย มะม่วง และพืช

สนใจสอบถามข้อมูล
ชลาลัย ซัตตัน
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โทร 0-2564-7000 ต่อ 1617
email : chalalai@tmc.nstda.or.th

ขยายภาพ
คำสำคัญ
ฟิล์ม  
บันทึกโดย
นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th