กปว. สป.อว. และหน่วยงาน อว. ร่วมจัดกิจกรรมในงานเกษตรสุรนารี 67  38

คำสำคัญ : 

อว. โดย กปว. สป.อว. และหน่วยงาน อว. ร่วมจัดกิจกรรมในงานเกษตรสุรนารี 67 ตั้งแต่วันที่ 12 – 15 มกราคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา รายละเอียดดังนี้

1.นิทรรศการ "วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการเกษตรสู่การทำเกษตรมูลค่าสูง" โดยร่วมกับ
หน่วยงานในสังกัด อว. 5 แห่งได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA/สทอภ.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
หน่วยปฏิบัติการ อว. ส่วนหน้า 3 จังหวัด ได้แก่จังหวัดนครราชสีมา (มทส./มรภ.นครราชสีมา/มทร.อีสาน) จังหวัดบุรีรัมย์ (มรภ.บุรีรัมย์) และจังหวัดสุรินทร์ (มทร.อีสาน สุรินทร์)
2.การเสวนาวิชาการหัวข้อ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการเกษตรสู่การทำเกษตรมูลค่าสูง” ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น. โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน โดยมีประเด็นการเสวนา รวมถึงหน่วยงาน อว. และหน่วยงานในพื้นที่ร่วมการเสวนา ดังนี้
- สภาพปัจจุบันและความต้องการใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดย นายสุรพล ชมภู หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สนง.เกษตรจังหวัดนครราชสีมา
- การจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามแนวพระราชดำริ โดย นายพิชาญ ทิพวงษ์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนป่าภูถ้ำ
- การยกระดับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตอย่างยั่งยืน โดย นางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผอ.ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี/สวทช.
- การผลิตข้าวมีเทนต่ำ เพื่อลดสภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.พุทธิพงษ์ หงษ์ทอง มทร.อีสาน
- เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรจากงานวิจัยและพัฒนาของ วว. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร โดย ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์/วว.
- ดาวเทียมธีออส-2 และนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ แพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันของ GISTDA ช่วยเกษตรกรได้อย่างไร โดย นายธนากร สงวนตระกูล นักภูมิสารสนเทศ ชำนาญการพิเศษ/สทอภ.
โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าว ก่อให้เกิดการเจารจาธุรกิจ (Business Matching)หรือการต่อยอดนำผลงานด้าน ววน.ไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
1. ประธานสมาพันธ์ SME ไทยจังหวัดนครราชสีมา ได้ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์แปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยเบรกแตก ซึ่งเป็น ผปก.ภายใต้ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มรภ.นครราชสีมา และผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ที่ได้รับมาตรฐาน และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากข้าวของ มทร.อีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จึงได้เชิญให้ไปร่วมออกบูธในงาน Business Matching Super Deal International SME Forum ครั้งที่ 2 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ที่เขาใหญ่ เพื่อเจรจากับนักธุรกิจในการนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศทั้ง อเมริกา สวีเดน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เวียดนาม มาเลเซีย ดูไบ โอมาน และกลุ่มประเทศ GCC (ตะวันออกกลาง)
2. ผู้บริหารตลาดโรงทอจอหอ ได้เจรจาเพื่อนำผลิตภัณฑ์น่ำตั๊บโคราช ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศภายใต้กิจกรรม ฉายรังสีปลอดภัย อาหารพื้นถิ่นปลอดโรค/สทน. ไปจำหน่ายที่ตลาดโรงทอจอหอ
3.ผปก. ที่ร่วมออกบูธกับ สสว.นคราชสีมา ได้เจรจากับ ผปก.สมใจ ของฝากโคราช (ที่มาร่วมออกบูธกับ สทน.) เพื่อนำผลิตภัณฑ์หมี่โคราชไปจำหน่ายที่ประเทศอังกฤษ
4. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยเบรกแตก ซึ่งเป็น ผปก.ภายใต้ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มรภ.นครราชสีมา ได้ขอรับคำปรึกษาโดยกลุ่มมีเศษวัสดุจากการแปรรูป เช่น เปลือกกล้วย เปลือกมะม่วง เปลือกขนุน เปลือกมันม่วงและมันส้ม เหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถกำจัดได้ทันทำให้เกิดการเน่าเสียส่งกลิ่นรบกวนในพื้นที่ชุมชน โดย วว. มีเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์หรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนำวัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ไฟเบอร์ และฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืช ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังสามารถผลิตเป็นไบโอแก๊ส ซึ่ง อว. มีเครือข่ายที่สามารถดำเนินการกระจายตามภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ
5. ผปก.ผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดแช่แข็ง จ.นครราชสีมา ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศภายใต้กิจกรรม ฉายรังสีปลอดภัย อาหารพื้นถิ่นปลอดโรค/สทน. ได้ขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับต้นทุนค่าอาหารการเลี้ยงจิ้งหรีดที่สูง โดย มทส. มีองค์ความรู้ที่สามารถตอบโจทย์หรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการพัฒนาอาหารเลี้ยงจิ้งหรีดจากวัสดุในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุน
6. ผปก. Eco print จ.นครราชสีมา ได้ให้ความสนใจเทคโนโลยีแป้งพิมพ์สีธรรมชาติของ สวทช. และยังขอรับคำปรึกษาในด้านความคงทนของสีหรือการย้อมให้สีติดทนนานยิ่งขึ้น รวมถึงต้องการสีย้อมธรรมชาติที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นถิ่น เช่น สีจากดินด่านเกวียน ฯลฯ โดยได้ประสาน มรภ.นครราชสีมา เพื่อรับโจทย์ความต้องการในเบื้องต้นแล้ว
 
รูปภาพกิจกรรม

เขียนโดย : นายชุมพล  เยาวภา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : chumpon@mhesi.go.th

กิจกรรมดี ๆ น่าจะต่อยอดโครงการได้ ถ้า อ. สนใจส่งข้อเสนอโครงการผ่านคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย ให้ส่ง PB เข้าระบบ CMO ตามระยะเวลาที่กำหนดนะคะ

เขียนโดย น.ส.เดือนเพ็ญ  อาจไธสง