เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Friday, May 16, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
1564
ชื่อ
การตรวจคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและการเจือปนด้วยโฟโตนิกส์ ชม 991 ครั้ง
เจ้าของ
เนคเทค/สวทช
เมล์
-
รายละเอียด

กรมการข้าวและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกันพัฒนาเครื่องตรวจคุณภาพข้าวทั้งข้าวเปลือกและข้าวโดยใช้เทคโนโลยีโฟโตนิกส์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานความรู้ทางด้านแสง อิเล็กทรอนิกส์และซอฟท์แวร์ด้วยกัน

ผลจากความร่วมมือดังกล่าวพัฒนาออกมาเป็นเครื่องตรวจทั้งหมด 3 ชุดคือ
1. เครื่องตรวจเมล็ดข้าวแดง เมล็ดข้าวเหนียว หรือเมล็ดข้าวเจ้าที่ปนมากับเมล็ดพันธุ์
2. เครื่องตรวจคุณภาพเมล็ดข้าว
3. เครื่องมือวัดคัพภะของเมล็ดข้าว
ซึ่งเพิ่งมีการส่งมอบจากเนคเทคให้แก่กรมการข้าว

ด้าน นายจักรกฤษณ์ กำทองดี ผู้ช่วยนักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ เนคเทค สมาชิกทีมผู้พัฒนาเครื่องตรวจคุณภาพเมล็ดข้าว อธิบายถึงเครื่องที่พัฒนาขึ้นว่า แทนที่จะใช้ตาคนวัดเมล็ดข้าวทีละเมล็ด ก็เปลี่ยนใช้ซีซีดีในเครื่องแสกนเนอร์แทนตาคน โดยเมื่อจัดเรียงเมล็ดข้าวในถาดจัดเรียง แล้วนำเข้าเครื่องตรวจ สแกนเนอร์จะบันทึกภาพเพื่อเข้าสู่การประมวลผลด้วยภาพที่ได้เขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์วัดขนาด สีและตรวจดูลักษณะท้องไข่ของเมล็ดข้าว โดยกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาเพียง 1 นาที

ส่วนเครื่องวัดขนาดคัพภะซึ่ง โกษม ไชยถาวร นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ เนคเทค ร่วมพัฒนาด้วยนั้น มีช่องสำหรับใส่ถาดเมล็ดข้าวสารที่เลื่อนตรวจได้ทีละเมล็ด และตรงส่วนรับภาพของเครื่องตรวจ โดยการส่วนของคัพภะหรือจมูกข้าวและพื้นที่ส่วนใหย่ของเมล็ดข้าวจะให้ค่าสีและแสงที่แตกต่างกัน โปรแกรมจึงคำนวณพื้นที่ทั้งสองส่วนออกมาเป็นเปอร์เซนต์ได้

สุดท้ายเป็นเครื่องตรวจการปนของเมล็ดข้าวแดง เมล็ดข้าวเหนียวและเมล็ดข้าวเจ้าในในเมล็ดพันธุ์ โดย ประสิทธิ์ ป้องสูน นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ เนคเทค อธิบายว่า ปกติข้าวจะมีการกลายพันธุ์เป็นข้าวแดงซึ่งเมื่อแกะเปลือกออกจะเห็นเมล็ดเป็นสีแดง และระหว่างการปลูกหรือขนส่งอาจมีการปะปนระหว่างข้าวเหนียวและข้าวจ้าว จึงต้องการตรวจสอบการปน โดยลักษณะเมล็ดข้าวที่ยังไม่สีนั้นแยกด้วยตาเปล่าได้ลำบากและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ จึงได้พัฒนาเครื่องตรวจดังกล่าว ซึ่งใช้การสแกนภาพด้วยสแกนเนอร์ โดยลักษณะพันธุ์ที่แตกต่างกันจะให้สีและความเข้มแสงที่แตกต่างกัน และเขียนอัลกอริทึมให้โปรแกรมช่วยในการคัดแยก

ขยายภาพ
คำสำคัญ
ข้าว  เมล็ด  แสง  
บันทึกโดย
นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th