เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
1521
ชื่อ
สุดยอดจุลินทรีย์แห่งโลกเกษตร ชม 2,733 ครั้ง
เจ้าของ
สวทช.
เมล์
-
รายละเอียด
จุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้าน ได้แก่ จุลินทรีย์หลากหลายชนิดที่อยู่ในดินตามธรรมชาติ โดยเฉพาะดินดีที่ไม่เคยผ่านการใช้สารเคมีหรือดินดีจากป่าไม้ที่มีอยู่ภายในท้องถิ่น
จุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านี้มีประสิทธิภาพดีกว่าจุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำหมักอีเอ็ม หรือ พ.ด. สูตรต่างๆ เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก หลากหลายชนิด สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ และประการสำคัญคือ จุลินทรีย์ท้องถิ่นนั้น เกษตรกรไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหนเพราะมีอยู่แล้วภายในท้องถิ่น อีกทั้งสามารถผลิตใช้ได้เองไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งสามารถพัฒนาคิดค้นสูตรที่เหมาะสมกับระบบการผลิตของตนเองได้อีกด้วย ซึ่งเราจะพบในบริเวณ
1. พื้นที่ป่ารกร้างข้างๆ บ้านที่ไม่มีคนเข้าไปทำอะไรมาเป็นเวลานาน
2. โคนกอไผ่ที่มีใบไผ่ทับถมกันเป็นปริมาณมาก ให้ขุดลึกลงไปด้านล่างเราก็จะเจอของดี
3. โคนจอมปลวกหรือจาวปลวก เป็นจุลินทรีย์ที่มีผลในการย่อยสลายดีมาก
4. พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ที่ใกล้บ้านคุณที่สุด

กรรมวิธีการเก็บรวบรวมเชื้อจุลินทรีย์
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้
1. กะบะไม้สี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 30 ซม. ยาว 30 ซม.และสูง 10 ซม.
2. ข้าวเจ้าหุงสุก
3. ทัพพีตักข้าว
4. กระดาษบรุ๊ฟ (กระดาษที่อากาศผ่านเข้าออกได้)
5. เชือกฟาง
6. ตาข่ายหรือสุ่มไก่
7. พลาสติก
8. น้ำตาลทรายแดง
9. ขวดโหลแก้วหรือพลาสติ
ขั้นตอนและวิธีการทำ
1. หุงข้าวเจ้าจำนวน 1 ลิตร ให้สุกเหมือนใช้รับประทาน
2. นำข้าวเทลงในกะบะสี่เหลี่ยมให้หมด (ห้ามข้าวสัมผัสกับมือเด็ดขาด)
3. ใช้ทัพพีเกลี่ยข้าวให้ทั่วกะบะ
4. ปิดกะบะด้วยกระดาษบรุ๊ฟ และใช้เชือกฟางมัดให้แน่น
5. หาที่ ๆ เหมาะสม ที่เห็นว่ามีเชื้อราขาวใต้ต้นไผ่ เพื่อวางกะบะ
6. ใช้ไม้ไผ่เล็ก ๆ รองพื้น แล้วนำกะบะที่เตรียมไว้วางลงไป
7. ใช้ใบไผ่คลุมทับกะบะเพื่อควบคุมความชื้น
8. ใช้ตาข่าย หรือสุ่มไก่กันไว้เพื่อป้องกันสัตว์เข้าทำลาย
9. คลุมพลาสติกบนตาข่าย หรือสุ่มไก่ เพื่อป้องกันน้ำและสัตว์เข้าทำลายทิ้งไว้นาน 4-5 วัน ถ้าเป็นฤดูหนาวจะใช้เวลา 6-7 วัน
10. เมื่อครบกำหนด 4-5 วันแล้ว เปิดดูและพบราขาวขึ้นมากกว่า 70 % สามารถนำไปใช้ได้
11. ใช้มือขยำราขาวให้เละเหมือนโคลน (ทำในกะบะใช้มือสัมผัสได้)
12. นำน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัมเทลงในกะบะและใช้มือขยำคลุกเคล้าผสมกันให้ทั่วทั้งกะบะ
13. นำไปใส่ในขวดโหลทิ้งไว้ 4-5 วัน เก็บไว้ในที่ร่ม แล้วนำไปใช้
ข้อบ่งใช้
1. ผสมกับจุลินทรีย์ตัวอื่น ๆ รดพื้นคอกสัตว์ เพื่อช่วยย่อยสลายของวัสดุในหลุม และป้องกันกลิ่นเหม็นจากมูลสุกร เคยใช้กับสุกรให้กินตัวละ 1ช้อนแกง ลดกลิ่นเหม็นของมูลได้มากกว่า50 เปอร์เซ็นต์
2. ผสมกับจุลินทรีย์ตัวอื่น ๆ ใส่น้ำให้สัตว์ดื่มกิน
3. ทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ ดีกว่าหัวเชื้อพด.หรือหัวเชื้อจุลินทรย์
4.ผสมน้ำแช่อาหารเม็ดให้กบและปลาดุกกินลดอาการเป็นโรค
ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ
คำสำคัญ
จุลินทรีย์  
บันทึกโดย
นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th